แชมป์นำเข้าอาวุธประจำปี 2022 ไม่ใช่ 'ยูเครน'

AFP

การนำเข้าอาวุธในยุโรปเมื่อปี 2022 มีสถิติเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่ยูเครน ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ท่ามกลางสงคราม กลับไม่ใช่ประเทศนำเข้าอาวุธติดอันดับหนึ่งของโลก

‘Sipri’ สถาบันวิจัยสันติภาพในสต็อกโฮล์ม เปิดเผยรายงานฐานข้อมูลค่าใช้จ่ายทางทหารประจำปี 2022 เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่ามีการนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์ของประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหน้าราว 93 เปอร์เซ็นต์ และได้จัดอันดับประเทศที่มีการนำเข้าอาวุธทั่วโลก ปรากฏว่าเมื่อปี 2022 กาตาร์ และอินเดียมีการนำเข้าอาวุธมากที่สุดตามลำดับ ส่วนยูเครนรั้งอันดับสาม ส่วนในประเทศยุโรปอื่นๆ เช่น โปแลนด์ นอร์เวย์ ก็มีการใช้จ่ายทางทหารและการนำเข้าอาวุธเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ตามรายงานของ Sipri การนำเข้าอาวุธในยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาวุธนำเข้าส่วนใหญ่ถูกส่งมอบให้แก่ยูเครน ประกอบด้วยปืนใหญ่ของสหรัฐฯ 230 ชิ้น รถหุ้มเกราะ 280 คันจากโปแลนด์ ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง 7,000 ชุดจากอังกฤษ รวมถึงสินค้าอาวุธที่ผลิตใหม่ เช่น ระบบป้องกันภัยทางอากาศ 9 ชุด

แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะคำนวณมูลค่ารวมของอาวุธที่มีการซื้อขาย เนื่องจากสัญญาซื้อขายอาวุธมักไม่โปร่งใส แต่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า การค้าอาวุธทั่วโลกในปี 2022 อยู่ที่ประมาณ 100 พันล้านดอลลาร์ งบใช้จ่ายทางทหารของยุโรปที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมาเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มที่เกิดขึ้นมาหลายปี เนื่องจากประเทศในยุโรปเริ่มติดอาวุธใหม่กันอีกครั้งหลังจากรัสเซียผนวกดินแดนไครเมียเมื่อปี 2014 จากข้อมูลของ Sipri พบว่าการนำเข้าอาวุธของยุโรปเพิ่มขึ้น 47 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดขายอาวุธทั่วโลกกลับมีสัดส่วนลดลง 5 เปอร์เซ็นต์

อาวุธส่วนใหญ่ที่ถูกส่งไปยังตะวันออกกลลาง คิดเป็น 32 เปอร์เซ็นต์ของการนำเข้าทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว เอเชีย/โอเชียเนียมาเป็นอันดับสองที่ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยยุโรป 27 เปอร์เซ็นต์ ตามรายงานของ Sipri กล่าวถึงจีนว่าใช้งบทางทหารมากไม่แพ้กัน แต่ปัจจุบันจีนก็สามารถผลิตอาวุธเองได้ด้วย

ส่วนผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2022 คือ สหรัฐอเมริกา ด้วยสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกอาวุธทั้งหมด รองลงมาคือ รัสเซีย ที่ 16 เปอร์เซ็นต์, ฝรั่งเศส 11 เปอร์เซ็นต์, จีน 5 เปอร์เซ็นต์ และเยอรมนี 4 เปอร์เซ็นต์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘นันทิวัฒน์’ สะกิดรัฐบาล เตรียมรับมือภาวะสงคราม หลังกลิ่นไอสู้รบยูเครนรุนแรง

กลิ่นไอการสู้รบในยูเครนเพิ่มความรุนแรง เมื่อมีข่าวลือว่าชาติพันธมิตรนาโตบางชาติ ได้ส่งทหารเข้าไปร่วมรบในยูเครน ปฏิกิริยาจากฝ่ายรัสเซียประกาศชัดเจน

การแย่งชิงอำนาจระหว่าง 'เซเลนสกี' กับผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ข่าวลือกำลังปั่นป่วน - โวโลดิมีร์ ซาเลนสกี-ประธานาธิบดียูเครน ต้องการขับ วาเลรี ซาลุซนี-ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพยูเครนให้

ฮังการีขัดขวางเงินช่วยเหลือยูเครนมูลค่า 5 หมื่นล้านยูโร

วิกตอร์ ออร์บาน ยังคงดื้อรั้นต่อไป – นายกรัฐมนตรีฮังการีประกาศยับยั้งความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับยูเครนครั้งใหม่ ทำให้สหภาพยุโรปต้อ