เมียนมา-ตอลิบันโวย ยูเอ็นยังไม่ยอมรับทูตแต่งตั้งใหม่

รัฐบาลทหารเมียนมาและรัฐบาลตอลิบันอัฟกานิสถานวิจารณ์การตัดสินใจของสหประชาชาติ ที่ยังไม่ยอมรับเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติที่เสนอชื่อไป โดยยังให้ทูตคนเก่าทำหน้าที่ต่อไป

แฟ้มภาพ ผู้ประท้วงชูสามนิ้วพร้อมถือภาพของจอ โม ตุน ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ ที่ชูสามนิ้วระหว่างประชุมสมัชชายูเอ็น ขณะชุมนุมประท้วงที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2564 (Getty Images)

เอเอฟพีรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 ว่าคณะกรรมการพิจารณาอักษรสาส์นตราตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา และมีมติเลื่อนการตัดสินใจรับรองเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติของเมียนมาและอัฟกานิสถาน เนื่องจากมีการอ้างสิทธิ์ของคู่ขัดแย้ง

การเลื่อนรับรองของคณะกรรมการทำให้เอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติคนเดิมของทั้งสองชาติยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ถึงแม้ว่าเมียนมาจะเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และอัฟกานิสถานจะอยู่ภายใต้การปกครองของตอลิบันมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม

ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมา กล่าวกับเอเอฟพีเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การตัดสินใจของคณะกรรมการยูเอ็นไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นจริงในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในเมียนมา เราจะยื่นเรื่องนี้กับยูเอ็นต่อไปตามขั้นตอนทางการทูต และสิทธิในการเป็นตัวแทนตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายท้องถิ่น

จอ โม ตุน เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลของนางอองซาน ซูจี หลังเกิดรัฐประหารในเมียนมาไม่นาน เขาก่อวีรกรรมเป็นข่าวครึกโครมเมื่อชูสามนิ้วในที่ประชุมสหประชาชาติ โดยท้าทายคำกล่าวคำยืนกรานของรัฐบาลทหารที่อ้างว่าเขาไม่ได้เป็นตัวแทนของเมียนมาอีกต่อไป

อัยการสหรัฐเคยเปิดเผยเมื่อเดือนสิงหาคมว่าได้ตั้งข้อหาพลเมืองเมียนมา 2 คน ฐานวางแผนทำร้ายทูตผู้นี้ รัฐบาลเมียนมาปฏิเสธความเกี่ยวข้อง และประกาศแต่งตั้งอ่อง ทูเรน อดีตนายทหาร เป็นทูตเมียนมาคนใหม่

กรณีของอัฟกานิสถาน เมื่อเดือนกันยายน ตอลิบันเสนอให้ยูเอ็นรับรองซูฮาอิล ชาฮีน อดีตโฆษกของตอลิบันที่นครโดฮา เป็นเอกอัครราชทูตอัฟกานิสถานประจำสหประชาชาติ แทนกูห์ลัม ไอแซคไซ อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีอัชราฟ กานี

ชาฮีนโพสต์ลงทวิตเตอร์ วิจารณ์ยูเอ็นว่าตัดสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของชาวอัฟกานิสถาน เขากล่าวกับเอเอฟพีด้วยว่า ตอลิบันได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอัฟกานิสถาน และสามารถปกป้องประเทศ, ประชาชน และพรมแดนทั้งหมด

ปัจจุบันไอแซคไซยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอัฟกานิสถานในสำนักงานใหญ่ของยูเอ็น และเมื่อเร็วๆ นี้เขายังได้เข้าประชุมคณะมนตรีความมั่นคงและให้ความเห็นวิจารณ์ตอลิบัน

นักการทูต 2 คนเผยกับเอเอฟพีว่า คณะกรรมการพิจารณาอักษรสาส์นตราตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลื่อนการตัดสินใจเรื่องนี้ รวมถึงตัวแทนจากจีน, รัสเซียและสหรัฐ ตามกำหนดแล้วคณะกรรมการจะต้องยื่นรายงานต่อที่ประชุมสมัชชายูเอ็นในสัปดาห์หน้า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

นายกฯเศรษฐา กังวลสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาช่วงวันหยุดติดตามงาน รวมถึงสถานการณ์สู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา พร้อมทวิตข้อความผ่าน x ว่า “ผมติดตาม