อิรักขับทูตสวีเดนออกนอกประเทศ หลังกรณีเผาคัมภีร์อัลกุรอานในกรุงสตอกโฮล์ม

อิรักขับเอกอัครราชทูตสวีเดนออกนอกประเทศจากกรณีเผาคัมภีร์อัลกุรอานในกรุงสตอกโฮล์ม เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากสถานทูตสวีเดนในกรุงแบกแดดถูกกลุ่มผู้ประท้วงบุกเผา

ตำรวจปราบจลาจลอิรักพยายามสลายการชุมนุมประท้วงนอกสถานทูตสวีเดนในกรุงแบกแดด เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม หลังจากนั้นกลุ่มผู้ประท้วงสามารถบุกเข้าไปจุดไฟเผาสถานทูตจนเสียหาย (Photo by Ahmad AL-RUBAYE / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฏาคม 2566 กล่าวว่า จากกรณีชาวอิรักที่อาศัยอยู่ในสวีเดนชื่อซาลวาน โมมิกา ได้เหยียบย่ำคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมและจุดไฟเผาคัมภีร์ดังกล่าวที่บริเวณด้านหน้ามัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงสตอกโฮล์มของสวีเดนเมื่อต้นเดือน จนเป็นชนวนความเดือดดาลให้กับชาวมุสลิมทั่วโลก

กลุ่มผู้ประท้วงชาวอิรักได้บุกทะลวงและจุดไฟเผาภายในบริเวณสถานทูตสวีเดนในกรุงแบกแดด และปะทะกับตำรวจปราบจลาจล จนเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมฉุกเฉิน

รัฐบาลอิรักประณามการโจมตีสถานทูตอย่างรุนแรง แต่ยังออกคำเตือนไปยังสวีเดนว่า อย่าปล่อยให้มีการดูหมิ่นศาสนาอิสลามเกิดขึ้นอีก รวมไปถึงการเผาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม

ก่อนหน้านี้ สวีเดนและประเทศอื่นๆ ในยุโรปเคยมีกรณีการประท้วงที่กลุ่มขวาจัดและนักเคลื่อนไหวอ้างสิทธิเสรีภาพในการพูด กระทำการสร้างความเสียหายหรือทำลายสัญลักษณ์ทางศาสนาหรือหนังสือ จนกลายเป็นชนวนการประท้วงและเพิ่มความตึงเครียดทางการทูตระดับชาติ

ขณะที่การบุกเผาสถานทูตดำเนินไปในวันพฤหัสบดี นายกรัฐมนตรี โมฮัมเหม็ด เชีย อัล-ซูดานี ของอิรัก ได้ออกคำสั่งให้เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำกรุงแบกแดดออกจากดินแดนอิรักโดยทันที

โดยแถลงการณ์ระบุว่า การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าของรัฐบาลสวีเดนที่อนุญาตให้มีการละเมิดและดูหมิ่นศาสนาอิสลาม, การเผาอัลกุรอานอันศักดิ์สิทธิ์ และการเผาธงชาติอิรัก

รัฐบาลแบกแดดเคยแจ้งรัฐบาลสตอกโฮล์มว่า "หากเกิดเหตุการณ์ซ้ำๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเผาอัลกุรอานบนแผ่นดินสวีเดน อิรักจำเป็นต้องตัดความสัมพันธ์ทางการทูต" ตามถ้อยแถลงจากสำนักงานของซูดานี

ทั้งนี้ ตำรวจสวีเดนอ้างบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่ระบุให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการพูด, การชุมนุม และการประท้วงตามกฎหมาย ดังนั้นการกระทำดูหมิ่นศาสนาจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

หลังเหตุบุกเผาสถานทูตในกรุงแบกแดด กระทรวงต่างประเทศของสวีเดนเปิดเผยว่า พนักงานทุกคนของสถานทูตฯปลอดภัยดี ระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบ

โทเบียส บิลล์สตรอม รัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดนกล่าวในภายหลังว่าจะมีการเรียกตัวอุปทูตอิรักเพื่อประท้วงกรณีดังกล่าว

"สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง และรัฐบาลขอประณามการโจมตีเหล่านี้อย่างรุนแรง" เขากล่าวในถ้อยแถลง พร้อมเสริมว่า "ทางการอิรักมีภาระหน้าที่ที่ชัดเจนในการปกป้องคณะผู้แทนทางการทูตและบุคลากรภายใต้อนุสัญญาเวียนนา"

ด้านนายกรัฐมนตรีอิรักเองก็ได้ประณามการเผาสถานทูตสวีเดนในกรุงแบกแดด โดยมองว่าเป็นช่องโหว่ด้านความปลอดภัยร้ายแรงที่ต้องดำเนินการแก้ไขในทันที

ถ้อยแถลงของรัฐบาลอิรักระบุว่า "หน่วยงานด้านความมั่นคงต้องรับผิดชอบเหตุการณ์นี้" ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่าได้จับกุมผู้ก่อความวุ่นวายแล้ว 20 คน

รัฐบาลยังกล่าวอีกว่า อิรักยืนยันคำมั่นสัญญาที่จะรับประกันความปลอดภัยและการปกป้องคณะผู้แทนทางการทูตทั้งหมด โดยสาบานว่าจะเผชิญหน้ากับการโจมตีใด ๆ ที่มีเป้าหมายที่กลุ่มบุคคลเหล่านั้น.

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฏาคม 2566 กล่าวว่า จากกรณีชาวอิรักที่อาศัยอยู่ในสวีเดนชื่อซาลวาน โมมิกา ได้เหยียบย่ำคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมและจุดไฟเผาคัมภีร์ดังกล่าวที่บริเวณด้านหน้ามัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงสตอกโฮล์มของสวีเดนเมื่อต้นเดือน จนเป็นชนวนความเดือดดาลให้กับชาวมุสลิมทั่วโลก

กลุ่มผู้ประท้วงชาวอิรักได้บุกทะลวงและจุดไฟเผาภายในบริเวณสถานทูตสวีเดนในกรุงแบกแดด และปะทะกับตำรวจปราบจลาจล จนเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมฉุกเฉิน

รัฐบาลอิรักประณามการโจมตีสถานทูตอย่างรุนแรง แต่ยังออกคำเตือนไปยังสวีเดนว่า อย่าปล่อยให้มีการดูหมิ่นศาสนาอิสลามเกิดขึ้นอีก รวมไปถึงการเผาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม

ก่อนหน้านี้ สวีเดนและประเทศอื่นๆ ในยุโรปเคยมีกรณีการประท้วงที่กลุ่มขวาจัดและนักเคลื่อนไหวอ้างสิทธิเสรีภาพในการพูด กระทำการสร้างความเสียหายหรือทำลายสัญลักษณ์ทางศาสนาหรือหนังสือ จนกลายเป็นชนวนการประท้วงและเพิ่มความตึงเครียดทางการทูตระดับชาติ

ขณะที่การบุกเผาสถานทูตดำเนินไปในวันพฤหัสบดี นายกรัฐมนตรี โมฮัมเหม็ด เชีย อัล-ซูดานี ของอิรัก ได้ออกคำสั่งให้เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำกรุงแบกแดดออกจากดินแดนอิรักโดยทันที

โดยแถลงการณ์ระบุว่า การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าของรัฐบาลสวีเดนที่อนุญาตให้มีการละเมิดและดูหมิ่นศาสนาอิสลาม, การเผาอัลกุรอานอันศักดิ์สิทธิ์ และการเผาธงชาติอิรัก

รัฐบาลแบกแดดเคยแจ้งรัฐบาลสตอกโฮล์มว่า "หากเกิดเหตุการณ์ซ้ำๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเผาอัลกุรอานบนแผ่นดินสวีเดน อิรักจำเป็นต้องตัดความสัมพันธ์ทางการทูต" ตามถ้อยแถลงจากสำนักงานของซูดานี

ทั้งนี้ ตำรวจสวีเดนอ้างบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่ระบุให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการพูด, การชุมนุม และการประท้วงตามกฎหมาย ดังนั้นการกระทำดูหมิ่นศาสนาจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

หลังเหตุบุกเผาสถานทูตในกรุงแบกแดด กระทรวงต่างประเทศของสวีเดนเปิดเผยว่า พนักงานทุกคนของสถานทูตฯปลอดภัยดี ระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบ

โทเบียส บิลล์สตรอม รัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดนกล่าวในภายหลังว่าจะมีการเรียกตัวอุปทูตอิรักเพื่อประท้วงกรณีดังกล่าว

"สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง และรัฐบาลขอประณามการโจมตีเหล่านี้อย่างรุนแรง" เขากล่าวในถ้อยแถลง พร้อมเสริมว่า "ทางการอิรักมีภาระหน้าที่ที่ชัดเจนในการปกป้องคณะผู้แทนทางการทูตและบุคลากรภายใต้อนุสัญญาเวียนนา"

ด้านนายกรัฐมนตรีอิรักเองก็ได้ประณามการเผาสถานทูตสวีเดนในกรุงแบกแดด โดยมองว่าเป็นช่องโหว่ด้านความปลอดภัยร้ายแรงที่ต้องดำเนินการแก้ไขในทันที

ถ้อยแถลงของรัฐบาลอิรักระบุว่า "หน่วยงานด้านความมั่นคงต้องรับผิดชอบเหตุการณ์นี้" ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่าได้จับกุมผู้ก่อความวุ่นวายแล้ว 20 คน

รัฐบาลยังกล่าวอีกว่า อิรักยืนยันคำมั่นสัญญาที่จะรับประกันความปลอดภัยและการปกป้องคณะผู้แทนทางการทูตทั้งหมด โดยสาบานว่าจะเผชิญหน้ากับการโจมตีใด ๆ ที่มีเป้าหมายที่กลุ่มบุคคลเหล่านั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยกเลิกเกมคัดยูโร 2024 'เบลเยียม-สวีเดน' กลางคัน หลังแฟนบอลถูกยิงดับ

เกมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป "ยูโร 2024" รอบคัดเลือก ระหว่าง เบลเยียม พบ สวีเดน มีอันต้องยุติลงหลังแข่งขันไปได้เพียงแค่ 45 นาที เนื่องจากมีเหตุการณ์แฟนบอลชาวสวีเดน 2 ราย ถูกยิงเสียชีวิตกลางกรุงบรัสเซลส์

สถานการณ์ส่อบานปลาย ภายหลังการเผาคัมภีร์อัลกุรอานในสวีเดน

ผู้ประท้วงหลายร้อยคนพยายามบุกเข้าไปในกรีนโซน ซึ่งเป็นเขตปกครองของรัฐที่มีความปลอดภัยสูงในเมืองหลวงแบกแดด ด้วยความโกรธ