
มักซิม โปตาโปวิช นักเคลื่อนไหวชาวยูเครนเล่าว่า นับตั้งแต่กองทัพรัสเซียรุกคืบเข้ามา สถานการณ์เกี่ยวกับ LGBT ในยูเครนได้เปลี่ยนไปอย่างกะทันหัน ก่อนหน้านี้เขาเคยช่วยจัดการชุมนุมในเคียฟ และเคยถูกต่อต้านหลายครั้ง ทั้งจากกลุ่มขวาจัดและเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ทุกวันนี้ดูเหมือนหลายฝ่ายเริ่มเปิดใจยอมรับบ้างแล้ว
“เราได้รับความสนใจมากขึ้น ต้องขอบคุณนักการทูตตะวันตกที่ทุ่มเทให้กับเราอย่างมากในด้านการเมือง” โปตาโปวิชกล่าว รัฐบาลยูเครนเองก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า การที่ประเทศจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปย่อมต้องคำนึงถึงสิทธิของ LGBT ด้วย “การมีอยู่ของเราทำให้เกิดการยอมรับขึ้นมาได้” เขาทำหน้าที่เป็นโฆษกขององค์กร LGBT Military ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นทหารอยู่ราว 300 นาย ในกลุ่มแชตแบบปิด พวกเขาแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและจัดการเรื่องความช่วยเหลือ
“ตอนนี้หลายคนพูดอย่างเปิดเผยเรื่องเพศ นั่นเพราะสงครามทำให้เกิดคำถามที่มีอยู่ก่อนแล้ว” โปตาโปวิชบอก องค์กรของเขาไม่ต่างจากองค์กรสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับการที่คนรักเพศเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้โดยผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม นานมาแล้วที่การอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในมุมมองของนักการเมืองอนุรักษ์นิยม และโดยเฉพาะการต่อต้านของคริสตจักร แต่แล้วสงครามที่เกิดขึ้นก็ทำให้กลุ่มเพศทางเลือกเริ่มมองเห็นความหวัง
“มันฟังดูขัดแย้งกัน แต่ด้วยสงครามของรัสเซียซึ่งมุ่งต่อต้านทุกสิ่งในโลกตะวันตกและต่อต้านเสรีภาพ ดูเหมือนจะทำให้หน้าต่างประวัติศาสตร์เปิดออก และสิทธิของเราเป็นเรื่องที่จับต้องได้มากขึ้น” อันเดร คราฟชุค นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนจากองค์กร LGBT Nash Svit Center ในเคียฟกล่าว “สถานะผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปสำหรับยูเครนทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อน ทุกอย่างกำลังพัฒนาเร็วขึ้นด้วย เพราะมีแรงจูงใจอย่างหนึ่งสำหรับนักการเมืองของเรา นั่นคือการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป”
เท่าที่พอสังเกตได้คือ นักการเมืองของยูเครนหยุดออกแถลงการณ์ต่อต้านเกย์อย่างเปิดเผย เพราะพวกเขาไม่ต้องการให้ตะวันตกมองว่ามีทัศนคติหรือแนวคิดแบบเดียวกันกับรัสเซีย ที่เป็นปรปักษ์กับกลุ่มรักร่วมเพศและคนข้ามเพศอย่างเห็นได้ชัด “ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศของเราต้องชนะสงครามครั้งนี้ให้ได้ เพื่อที่เราจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเสรี” คราฟชุคยังกล่าวเสริมด้วยว่า จำนวนอาชญากรรมจากความเกลียดชังและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม LGBT ในยูเครนลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกฎหมายบางฉบับที่ผ่านมติของรัฐสภายูเครน
จากการสำรวจความเห็นประชาชนของ Kyiv International Institute of Sociology ก็ได้ผลลัพธ์ที่บ่งชี้ว่าสังคมกำลังมีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลที่เปิดเผยในเดือนมิถุนายนระบุว่า ร้อยละ 67.3 ของชาวยูเครนผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า LGBT ควรมีสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่นๆ มากขึ้นเป็นสองเท่าของผลสำรวจเมื่อปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 33.4 อีกทั้งการสนับสนุนเรื่องสมรสเท่าเทียมก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 28 จากร้อยละ 4.8 เมื่อปี 2016.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม.อนุมัติใช้งบปี 66 ไปพลางก่อน วงเงิน 352 ล้าน ช่วยเหลือคนไทยในอิสราเอล
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติงบฯ ปี 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายฯ วงเงิน 352.16 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือและอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล
พ่อหนุ่มบุรีรัมย์ ถูกฮามาสจับเป็นตัวประกัน แปลกใจลูกชายไม่ถูกปล่อยตัว
พ่อหนุ่มแรงงานชาว อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ที่ถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกันติดต่อไม่ได้ไม่รู้ชะตากรรมนานเกือบ 2 เดือน เริ่มมีความหวังหลังรัฐบาลไปเจรจาจนมีแรงงานได้รับการปล่อยตัวแล้ว 14 คน แต่ก็แปลกใจ หน.งานที่ถูกจับไปพร้อมลูกชายได้ปล่อยตัวแล้วแต่ทำไมลูกถึงไม่ถูกปล่อย เผยหากลูกชายรอดชีวิตกลับมาบ้านปลอดภัยจะให้บวชสะเดาะเคราะห์
'ปานปรีย์' ขอบคุณหลายประเทศกลุ่มอาหรับประสานโดยตรงกับฮามาส ปล่อยตัวคนไทย
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่มีการปล่อยตัวประกันคนไทย 10 ราย ว่า กลุ่มฮามาสได้ปล่อยตัวประกันคนไทย จำนวน 10 คน
'ปานปรีย์' ไม่ยืนยันข่าวเตรียมปล่อยตัวประกัน 23 คนไทย กต. ยินดีหยุดยิงชั่วคราว
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศอ้างว่ากลุ่มฮามาสจะปล่อยตัวประกันชาวไทย 23 คน ว่า เป็นข่าวที่เราไม่สามารถยืนยันได้ โดยเป็นข่าวที่มาจากสื่อมวลชน ไม่ใช่ข่าวที่ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการ
กต. ไม่ยืนยัน 'ฮามาส' ปล่อยตัวประกัน 50 คน มีคนไทยด้วยหรือไม่
นางกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกลุ่มฮามาสจะปล่อยตัวประกัน 50 คน ว่า ทางกระทรวงรับทราบข่าวว่าจะมีการปล่อยตัวประกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก
คนไทยในอิสราเอล ถูกจับเป็นตัวประกันเพิ่ม 1 ราย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจาก สถานเอกอัคราชทูตไทย(สอท.) ณ กรุงเทลอาวีฟ ว่า กระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลได้แจ้งชื่อบุคคลสัญชาติไทยที่คาดว่าถูกควบคุมตัวจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 66 เพิ่มอีก 1 ราย