ทางการเมียนมาจับกุมชาวโรฮีนจาเกือบ 150 คนที่ต้องสงสัยว่าพยายามหลบหนีออกจากประเทศ

แฟ้มภาพ ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาเดินข้ามลำน้ำตื้นๆ เพื่ออพยพเข้าบังกลาเทศ (Photo by Munir UZ ZAMAN / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566 กล่าวว่า ชาวโรฮีนจาในเมียนมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมและถูกมองว่าเป็นผู้สอดแนมจากบังกลาเทศ ถูกจับกุมเมื่อวันศุกร์ ใกล้กับหมู่บ้านแวคามี ทางตอนใต้ของรัฐมอญ
กองทัพเมียนมาเริ่มปฏิบัติการปราบปรามชาวโรฮีนจาในปี 2560 และปัจจุบันผู้คนหลายพันคนต้องเสี่ยงชีวิตเดินทางจากค่ายในบังกลาเทศและเมียนมา เพื่อไปยังมาเลเซียและอินโดนีเซียที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม
"ในจำนวนชาวโรฮีนจาที่ถูกจับกุมล่าสุด แบ่งเป็นชาย 127 คนและหญิง 18 คน สถานะปัจจุบันอยู่ภายใต้การสอบสวนตามกฎหมายคนเข้าเมือง" อ่อง เมียต จ่อ เส่ง โฆษกสภาบริหารรัฐมอญ กล่าวกับเอเอฟพี
ชาวโรฮีนจาในเมียนมาถูกปฏิเสธการเป็นพลเมืองและต้องขออนุญาตทุกครั้งหากมีการเดินทาง ด้วยสภาพความเป็นอยู่อย่างกดขี่และแร้นแค้นรวมทั้งถูกปราบปรามอย่างหนัก จึงทำให้หลายคนเลือกหลบหนีออกจากสภาพที่เป็นอยู่ แม้ต้องพเนจรไร้หลักแหล่งก็ตาม
รัฐบาลทหารเมียนมากำลังเผชิญกับข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ศาลสูงสุดของสหประชาชาติ หลังการปราบปรามชาวโรฮีนจาในปี 2560 ซึ่งทำให้หลายแสนคนต้องอพยพหลบหนีไปยังบังกลาเทศ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรือที่บรรทุกชาวโรฮีนจาอพยพราว 50 คนเกิดล่มกลางทะเลนอกชายฝั่งเมียนมา แต่หน่วยกู้ภัยช่วยร่างไร้วิญญาณขึ้นมาได้เพียง 17 ราย ส่วนที่เหลือยังคงสูญหาย
บังกลาเทศและเมียนมาได้หารือเกี่ยวกับความพยายามในการเริ่มส่งผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจากลับประเทศ แม้ว่าทูตอาวุโสด้านสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่าเงื่อนไขทางสภาพความเป็นอยู่ยังไม่ปลอดภัยสำหรับการส่งกลับ
เมียนมาอยู่ในความสับสนวุ่นวายนับตั้งแต่รัฐบาลพลเรือนของออง ซาน ซูจีถูกโค่นล้มด้วยการทำรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งยุติช่วงเวลาสั้น ๆ ของระบอบประชาธิปไตยในประเทศ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วราวุธ' สรุปผล ร่วมประชุม กมธ.ว่าด้วยสถานภาพสตรี ที่ UN แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลายประเทศชื่นชม พม.-ขอนำตัวอย่างไปขยายผล
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงผลการนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีสมัยที่ 69 (Commission on the Status of Women) หรือการประชุม CSW 69 ซึ่งปี 2568 เป็นวาระครบรอบ 30 ปี ปฏิญญาปักกิ่ง ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (UN) นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' ตอก 'ยูเอ็น' จุ้นไม่เข้าเรื่อง เสนอให้ไทยยกเลิกม.112
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยูเอ็นอย่าเ .อก มีรายงานลอยๆไม่มีที่มาที่ไป
'ตุรเกีย' ออกโรงเรียกร้องให้ยูเอ็นคว่ำบาตรการส่งอาวุธให้อิสราเอล
กระทรวงการต่างประเทศของตุรเกียแถลงการณ์ว่า ได้ส่งจดหมายถึงสหประชาชาติที่ลงนามโดย 52 ประเทศและสององค์กร