'Takanakuy' ประเพณีต่อยกันช่วงวันคริสต์มาสในเปรู

AFP

ทางตอนใต้ของเปรู ในจังหวัดชุมบีวิลกาส มีการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสด้วยประเพณีที่เต็มไปด้วยสีสัน คนท้องถิ่นพื้นเมืองจะไปรวมตัวกันในภูมิภาคแอนเดียนใกล้กับกุสโก ที่ระดับความสูงประมาณ 3,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

คนท้องถิ่นแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองหลากสีสัน เต้นรำไปกับดนตรีพื้นเมือง กิน ดื่ม และต่อสู้กัน ใช่แล้ว…คุณอ่านไม่ผิด ไฮไลท์ของพิธี ‘ตากานากุย’ คือการดวลหมัดกันของชาวเปรู การทะเลาะวิวาททางกายภาพมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปีที่ผ่านมา

‘ตากานากุย’ เป็นคำจากภาษาพื้นเมืองเกชัว แถบเทือกเขาแอนดีส แปลคร่าวๆ ว่า “แลกหมัดกัน” เมื่อเวลาผ่านไป การต่อสู้ได้พัฒนาไปสู่ระบบยุติธรรมทางเลือก เพราะปกติแล้วชุมชนในท้องถิ่นชนบทมักไม่สามารถเข้าถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขข้อพิพาท วิธีดังกล่าวจึงเป็นทางออกของพวกเขา

นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาถึงใช้หมัดจ่ายบิลทุกปีในระหว่างการจัดงานฉลองในชุมชนเล็กๆ ของชุมบีวิลกาส การต่อสู้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งเท่านั้น แต่ยังเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในชุมชนและรับประกันความสงบสุขมากขึ้นด้วย

ในขณะที่การแลกหมัดที่อื่นอาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางกฎหมายได้ แต่การแลกหมัดของที่นี่กลับเป็นเรื่องของการแข่งขันในบรรยากาศแบบครอบครัวหรือชุมชน และมีบางคนที่ลงสนามต่อสู้ด้วยเหตุผลด้านกีฬาล้วนๆ หรือบางครั้งเพราะพวกเขาเมาก็มี การเฉลิมฉลองของพวกเขาเริ่มต้นกันตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 25 ธันวาคม

คนท้องถิ่นแต่งกายชุดพื้นเมืองจำนวนหลายพันคนพากันไปรวมกัน และเดินพร้อมกันเป็นขบวนไปยังสนามต่อสู้ ผู้หญิงจะถักผม สวมกระโปรงผ้าและหมวก ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะสวมหน้ากากสกีสีรุ้งคลุมใบหน้า และสวมอุปกรณ์หนังป้องกันขาไว้เหนือน่อง บางคนก็มีซากสัตว์ที่ตายแล้วประดับบนศีรษะด้วย

ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการต่อสู้ได้ ไม่มีการจำกัดอายุหรือเพศ แม้ว่าการต่อสู้ในอดีตจะเกิดขึ้นเฉพาะในหมู่ผู้ชายเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้หญิงก็เข้าร่วมพิธีนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านในชุมชนที่เหลือจะยืนหรือนั่งล้อมรอบเวที คอยให้กำลังใจนักสู้ และแม้ว่าการแลกหมัดกันในเทศกาลตากานากุยจะดูดุเดือด แต่ก็ยังมีกฎเกณฑ์อยู่

ความจริงแล้วการต่อสู้นี้เหมือนกับการซ้อมศิลปะการต่อสู้ มากกว่าการแลกหมัดกันตามผับบาร์ ในพิธีตากานากุยอนุญาตให้ต่อยและเตะเท่านั้น การต่อสู้จะจบลงเมื่อนักสู้คนใดคนหนึ่งเลือดออก ล้มลงกับพื้น หรือไม่สามารถป้องกันตัวเองได้อีกต่อไป กรรมการผู้ตัดสินจะคอยจับตาดูการต่อยและบังคับใช้กฎ การต่อสู้มักจะใช้เวลาสั้นๆ ส่วนใหญ่จบลงหลังจากผ่านไปหนึ่งหรือสองนาที

ความคั่งแค้นควรถูกทิ้งไว้กับปีเก่า และควรต้อนรับปีใหม่ด้วยความปรองดอง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการต่อสู้ของชนพื้นเมืองเปรูทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือเด็ก มักจบลงด้วยการสวมกอดฉันมิตร.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แนวถนัด! ‘นายกฯ’ ธีมเนคไทเขียว ถุงเท้าแดงข้าง-เขียวข้าง เมอรี่คริสต์มาสสื่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหว เมื่อเวลา 09.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง เดินทางเข้าปฎิบัติงานตามปกติที่ทำเนียบรัฐบาล

จัดเต็มกับความสุขส่งท้ายปี ในงาน Music at the Museum 2023

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง รักษาการผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดงาน Music at the Museum 2023 ภายใต้แนวคิด “Your Rhythm Light Up! เปล่งแสงให้เจิดจ้า ในจังหวะที่ใช่”

นักเตะเลสเตอร์ ส่งมอบความสุขให้กับผู้ป่วยเด็กในเทศกาลคริสต์มาส

นักเตะเลสเตอร์ ซิตี้ นำโดย เจมี่ วาร์ดี้, วิลเฟร็ด เอ็นดิดี้ และ คอนเนอร์ โคดี้ พร้อมนักเตะทีมหญิง มิสซี่ กู๊ดวิน, ยานิน่า ไลท์ซิกและซีเจ บอตต์ รวมถึงผู้เล่นคนอื่นๆ อีกมากมาย เดินทางไปเยี่ยมผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาล เลสเตอร์ รอยัล อินเฟอร์มารี่ ในเมืองเลสเตอร์