เส้นทางของ Facebook จากโซเชียลเน็ตเวิร์กสู่ Meta ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี

AFP

ไอเดียดั้งเดิมของ มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก คืออะไร และเครือข่ายใดบ้างที่เก่าแก่กว่าเฟซบุ๊ก

ปี 2003 ซักเกอร์เบิร์กได้พัฒนาเว็บไซต์ facemash.com ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของเฟซบุ๊กในระหว่างที่เขากำลังศึกษาด้านจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ไปพร้อมๆ กัน บนเว็บไซต์ซักเกอร์เบิร์กให้ผู้ใช้โหวตรูปถ่ายของนักศึกษาหญิงว่ารูปไหนสวยกว่ากัน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้หญิงเหล่านั้น หลังจากการประท้วงต่อต้านเขาจำต้องรื้อแพลตฟอร์มนั้นเสีย

ซักเกอร์เบิร์กร่วมกับเพื่อนศึกษาของเขา เอดูอาร์โด ซาเวริน, ดัสติน มอสโกวิตซ์ และคริส ฮิวจ์ส สร้างแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กขึ้นมา กระทั่งปุ่มไลค์ยกนิ้วจากฮาร์วาร์ดสามารถพิชิตโลกได้ จึงมีการก่อตั้งบริษัทขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2004

แต่เฟซบุ๊กไม่ใช่ผู้บุกเบิกวงการโซเชียลมีเดีย เพราะตั้งแต่ปี 2002 และ 2003 แพลตฟอร์มอย่าง Friendster, LinkedIn และ Myspace เคยได้รับความนิยมมาก่อนแล้ว และถ้าย้อนเวลากลับไป ระหว่างปี 1995-1997 ก็เคยมี classmates.com และ Sixdegrees ที่ได้วางรากฐานสำหรับการเชื่อมโยงผู้คนทางดิจิทัลมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงปี 2011 เฟซบุ๊กมีสมาชิกอยู่ประมาณ 800 ล้านบัญชี เครื่องหมายพันล้านถูกทำลายเมื่อประมาณปี 2013 และตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 เป็นต้นมา เฟซบุ๊กได้ถูกนำมารวมกับแพลตฟอร์มอินสตาแกรมและ WhatsApp ภายใต้บริษัทแม่ Meta

ทุกวันนี้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กราวสองพันล้านบัญชี ประมาณครึ่งครึ่งมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอินเดีย โซเชียลมีเดียเปิดโอกาสให้ผู้คนในประเทศที่ถูกจำกัดเสรีภาพทางการแสดงออกได้สะท้อนความคับข้องใจ ‘อาหรับสปริง’ ซึ่งเป็นกระแสการประท้วงที่เกิดขึ้นในแอฟริกาและตะวันออกกลางในปี 2011 คงไม่เกิดขึ้นขนาดนี้ หากไม่มีเฟซบุ๊กและแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยเฉพาะในเฟซบุ๊กมีการเคลื่อนไหวของการปฏิวัติอย่างเข้มแข็ง

แต่การเติบโตอย่างมหาศาลของเฟซบุ๊กก็แสดงให้เห็นถึงปัญหา อย่างเช่นการใช้บัญชีปลอมและโปรไฟล์ที่ซ้ำกัน เมื่อครั้งโดนัลด์ ทรัมป์ได้รับเลือกในสหรัฐอเมริกาปี 2016 เฟซบุ๊กก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กล่าวกันว่ารายงานเท็จมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้มีปัญหาหลายอย่างของเฟซบุ๊กที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข รวมถึงการปกป้องข้อมูล และสิ่งที่เรียกว่า ‘Echo Chamber Effect’ ซึ่งซักเกอร์เบิร์กพยายามทำให้เฟซบุ๊กน่าสนใจมากขึ้นในตอนแรก แต่แล้วมันกลับไม่ได้ผล ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเฟซบุ๊ก และผู้ใช้เฟซบุ๊กมีอายุมากขึ้น และถูกบริการอื่นแซงหน้าไปแล้ว

อย่างเช่น YouTube ของกูเกิล และ TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นของจีน ได้แซงหน้าเฟซบุ๊กแล้ว แม้แต่อินสตาแกรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Meta ของซักเกอร์เบิร์ก ก็ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ “อนาคต” อีกต่อไป แต่บริษัท Meta ยักษ์ใหญ่ยังคงพยายามที่จะเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลก ล่าสุดได้ผลักดันแพลตฟอร์ม Threads ออกมา มีจุดหมายเพื่อนำการเข้าถึงของยักษ์ใหญ่ที่เคยสูงตระหง่าน กลับมาสู่จุดสูงสุดของโลกเทคโนโลยีอีกครั้ง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พายุโคอินุ เตรียมพัดเข้าชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนวันนี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่องพายุ "โคอินุ" คาดวันที่ 8-9 ต.ค. จะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน และจะอ่อนกำลังลง

'เลขาฯรมว.ต่างประเทศ' ยกกรณีมาเลย์ฟ้อง 'Meta' ลบเนื้อหากระทบเชื้อชาติ ศาสนา และสถาบัน

นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพ