ผลการศึกษาของเดนมาร์ก ที่สายพันธุ์ย่อย BA.2 ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน กำลังแพร่ระบาดมากกว่าสายพันธุ์อื่น ชี้ว่าสายพันธุ์ย่อยที่เรียกกันว่า "โอมิครอนล่องหน" นี้สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ย่อยดั้งเดิมถึง 33% โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

รอยเตอร์และเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนถูกตรวจพบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และขณะนี้กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลกแทนที่สายพันธุ์เดลตา โดยสายพันธุ์ย่อย BA.1 คิดเป็นมากกว่า 98% ของการติดเชื้อโอมิครอนทั่วโลก แต่ในเดนมาร์ก สายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่พบเมื่อต้นปีนี้และถูกเรียกว่า "โอมิครอนล่องหน" กลายเป็นสายพันธุ์ย่อยหลักที่พบมากที่สุดในประเทศนี้นับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม
BA.2 พบในสหรัฐ, อังกฤษ, สวีเดน และนอร์เวย์ ด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่มีสัดส่วนมากเท่าของเดนมาร์ก
ผลการศึกษาจากเดนมาร์ก โดยนักวิจัยจากสถาบันเซรุ่มสเทเทนส์ (เอสเอสไอ), มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน, การสถิติเดนมาร์ก และมหาวิทยาลัยเทคนิคเดนมาร์ก ทำการเก็บข้อมูลของผู้คนมากกว่า 18,000 คนจากมากกว่า 8,500 ครัวเรือน ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม ถึง 18 มกราคม เพื่อเปรียบเทียบการติดเชื้อของโอมิครอนสองสายพันธุ์ย่อยนี้ และพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อ BA.2 มีโอกาสแพร่เชื้อต่อผู้อื่นมากกว่า 33%
นักวิจัยคณะนี้กล่าวว่า พวกเขาได้ข้อสรุปว่าโอมิครอน BA.2 สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายกว่า BA.1 และยังมีคุณสมบัติในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่ลดประสิทธิภาพในการป้องกันของวัคซีนต่อการติดเชื้อมากกว่าด้วย
เอสเอสไอกล่าวในผลการศึกษาว่า ผู้ที่ติดเชื้อ BA.2 มีโอกาสแพร่เชื้อสู่คนอื่นในบ้าน 39% ภายใน 1 สัปดาห์ ขณะที่ BA.1 มีโอกาสแพร่เชื้อ 29%
ดร.คามิลลา โฮลเทน โมลเลอร์ จากเอสเอสไอ กล่าวว่า BA.2 มีโอกาสแพร่เชื้อติดผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมากกว่า BA.1 กลับกัน ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ฉีดโดสกระตุ้น มีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยนี้น้อยลง
วันอังคาร เดนมาร์กกลายเป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรป (อียู) ที่ยกเลิกข้อจำกัดด้านไวรัสทั้งหมด ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะยังคงสูงเป็นสถิติอยู่ก็ตาม โดยทางการเดนมาร์กอ้างว่าอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศมีสูงและสายพันธุ์โอมิครอนมีความรุนแรงน้อยกว่า.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชลบุรีป่วยโควิดรายใหม่ 8,270 ราย เสียชีวิต 13 ราย
สสจ.ชลบุรี รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 จังหวัดชลบุรี ประจำสัปดาห์ที่ 22 ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2566
‘นิพิฏฐ์’ ข้องใจ สธ.แถลงโควิดพุ่ง ขอให้ฉีดเข็มกระตุ้น แต่ไม่แจ้งสถานที่ฉีด
นิพิฎฐ์ ข้องใจ สธ.บอกโควิดพุ่ง! เสียชีวิตเพิ่ม ขอให้ไปฉีดเข็มกระตุ้น แต่ไม่บอกว่า มีที่ไหน
'หมอมนูญ' ชี้โอมิครอนลูกผสม XBB แม้ไม่รุนแรงแต่ก็มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้!
'หมอมนูญ' เผยมีคนไข้สูงอายุติดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนลูกผสม XBB ต้องนอกพักในโรงพยาบาลนานถึง 20 วัน แม้ไม่รุนแรงเท่าเดลตา แต่ทำให้มีเสมหะอุดตันในหลอดลมในคนสูงอายุที่นอนติดเตียงก็อาจเสียชีวิตได้
ชลบุรีโควิดรายสัปดาห์ ยอดติดเชื้อรายใหม่ทะลุหมื่น ดับ 17 ราย
สถานการณ์โรคโควิด 19 จังหวัดชลบุรี ประจำสัปดาห์ที่ 21 ระหว่างวันที่ 21-27 พฤษภาคม 2566 ในสัปดาห์นี้พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 จำนวนทั้งสิ้น 10,365 ราย
นายกห่วง 'โควิด' ระบาดหนักสั่งทุกหน่วยงานเฝ้าระวังเพิ่มเติมในช่วงนี้
นายกฯ สั่งการเฝ้าระวังโควิด–19 เพิ่มเติมในช่วงนี้ กำหนดมาตรการเฝ้าระวังในโรงเรียน แนะฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นประจำปี โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ป้องกันป่วยหนักหรือเสียชีวิต
'ศิริราช' แจ้งเตียงผู้ป่วยวิกฤติโควิดเต็มทุกห้อง!
เฟซบุ๊กเพจ “Siriraj Piyamaharajkarun Hospital” ของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 26 พ.ค.66 แจ้งให้ทราบว่า “ขณะนี้เตียงผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) และเตียงผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับดูแลผู้ป่วย