ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นชี้ 'รัสเซีย-จีน' ยังคงขายอาวุธให้รัฐบาลทหารเมียนมา

ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิที่ได้รับมอบหมายจากยูเอ็นให้จัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิในเมียนมาเผยว่า หลายชาติยังคงขายอาวุธให้รัฐบาลทหารเมียนมาใช้ปราบปรามพลเรือนนับตั้งแต่รัฐประหารเมื่อปีกลาย รวมถึงจีนและรัสเซีย ที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง

แฟ้มภาพ ทหารเมียนมาขับรถหุ้มเกราะไปตามถนนในเมืองมิตจีนา รัฐกะฉิ่น เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 (Photo by AFP)

รายงานเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ของสำนักข่าวเอเอฟพีกล่าวว่า ทอม แอนดรูส์ ผู้จัดทำรายงานพิเศษด้านสถานการณ์สิทธิในเมียนมาขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เผยแพร่รายงานที่รอคอยกันมานาน ซึ่งเปิดเผยรายละเอียดที่มาของอาวุธที่รัฐบาลทหารเมียนมาได้รับมา โดยประเทศหลักๆ ที่ขายอาวุธให้เมียนมารวมถึงจีนและรัสเซีย สองประเทศสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งยูเอ็นซึ่งมีอำนาจยับยั้งการตัดสินใจขององค์กรนี้

"แม้จะมีหลักฐานว่า อาชญากรรมโหดร้ายของคณะรัฐบาลทหารเป็นการกระทำโดยไม่ต้องรับโทษนับแต่เกิดรัฐประหารเมื่อปีที่แล้ว รัสเซียและจีน ซึ่งเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ยังคงจัดหาเครื่องบินขับไล่และยานหุ้มเกราะจำนวนมากให้แก่รัฐบาลทหารพม่า และในกรณีของรัสเซีย ยังสัญญาจะส่งอาวุธเพิ่มเติมด้วย" ผู้เชี่ยวชาญอิสระ ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น แต่ไม่ได้กล่าวในนามของยูเอ็น กล่าวในแถลงการณ์จากนครเจนีวา

นอกจากนี้ เขาเปิดเผยอีกว่า ในช่วงเวลาเดียวกัน ทางการเซอร์เบียได้อนุมัติการส่งออกจรวดและปืนใหญ่มาให้กองทัพเมียนมาด้วย

ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิรายนี้เรียกร้องให้คณะมนตรีฯ ประชุมวาระเร่งด่วน เพื่ออภิปรายและลงมติข้อมติ ที่อย่างน้อยก็เป็นการห้ามส่งอาวุธที่รับรู้กันว่าทหารเมียนมานำมาใช้โจมตีและฆ่าพลเรือน "มีความจำเป็นที่ประเทศสมาชิกและคณะมนตรีความมั่นคงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อหยุดการขายอาวุธให้แก่รัฐบาลทหาร ชีวิตมนุษย์และความน่าเชื่อถือของคณะมนตรีความมั่นคงอยู่บนเส้นด้าย" เขากล่าว พร้อมเรียกร้องว่า อย่างน้อยที่สุด คณะมนตรีฯ ควรพิจารณาข้อมติห้ามการส่งอาวุธที่ทหารเมียนมานำมาใช้ฆ่าคนบริสุทธิ์

ข้อมูลจากกลุ่มสังเกตการณ์เอกชนในเมียนมากล่าวว่า การปราบปรามของกองทัพเมียนมา ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ทำให้พลเรือนเสียชีวิตแล้วมากกว่า 1,500 คน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

จำได้ไหม? 'จางเจ๋ออวี่' เด็กน้อยกตัญญูจาก Master Class สู่ศิลปินคุณภาพ

เด็กน้อยกตัญญู จางเจ๋ออวี่ (张泽禹) จากรายการ Master Class ที่วัย 10 ขวบในตอนนั้น จนถึงวันนี้เขาได้เติบโตเป็นศิลปินฝึกหัดที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ความสามารถล้นเหลือ และกำลังเดินทางตามความฝันของตัวเองอย่างแข็งขันเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา