Metaverse, Cryptocurrency และ NFT ที่จะเป็น Internet 3.0

Internet 1.0 (1981 ถึง 2000) ช่วยย่อโลกการสื่อสารให้ดีขึ้น 1,000 เท่า จากเดิมที่ส่งจดหมายโดยบุรุษไปรษณีย์ กลายเป็นอีเมล (เร็วขึ้น 1,000 เท่า) จากเดิมที่คุยโทรศัพท์ข้ามโลกนาทีละหลายสิบบาท เหลือเกือบศูนย์บาท (ถูกลง 1,000 เท่า)  จากเดิมที่ได้ยินแค่เสียงหรือเห็นแค่ข้อความสั้น (SMS) กลายเป็นเห็นภาพวิดีโอสด HD ได้ (ปริมาณข้อมูลเพิ่ม 1,000 เท่า) จากเดิมที่ต้องเดินทางไปห้องสมุด (ท้องถิ่น) ไกลเป็นกิโล หรือห้องสมุดดี ๆ (ไกลเป็นร้อยกิโล) ก็สามารถหาข้อมูลผ่านเว็บได้แค่ปลายนิ้ว (สะดวกขึ้น 1,000 เท่า) …. คนที่เติบโตและเจริญก้าวหน้า (เรียบร้อย) ในยุค 1.0 นี้คือ Gen-X

Internet 2.0 (2001 ถึง 2020) ช่วยเร่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก Internet 1.0 อีกเป็น (หลาย) 1,000 เท่าเหมือนกัน เช่นตลาดคลาวด์จากปี 2000 ที่ยังไม่มีคำว่าคลาวด์ จนมาปี 2020 มูลค่าตลาดอยู่ที่ 219 พันล้านดอลลาร์ [10]  หรือตลาด e-Commerce จากปี 1995 ที่ Amazon เพิ่งก่อตั้งแล้วขายแค่หนังสือออนไลน์ จนมาถึงปี 2020 บริษัทมีมูลค่า 1.64 ล้านล้านดอลลาร์ [12] ส่วน Alibaba ก่อตั้งปี 1999 ด้วยเงินทุน 25 ล้านดอลลาร์ จนปี 2020 มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 648 พันล้านดอลลาร์ อีกรายคือ โซเชียลมีเดีย Facebook จากเริ่มต้นก่อตั้งเมื่อปี 2004 จนมาถึงปี 2020 บริษัทมีมูลค่า 778 พันล้านดอลลาร์ …. คนที่กำลังเติบโตและเจริญก้าวหน้าในยุค 2.0 นี้คือ Gen-Y

Internet 3.0 (2021 ถึง 2040)  ซึ่งในที่นี้ผมนิยามว่าก็คือ Metaverse ที่กำลังเริ่มเกิดขึ้น และจะเป็นระบบเศรษฐกิจคลื่นลูกใหม่ไปในช่วงอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งถ้าโตแค่พันเท่าของ Internet ยุค 2.0 ก็จินตนาการไม่ออกแล้ว !! ….. คนจะเติบโตและเจริญก้าวหน้าในยุค 3.0 นี้คือ Gen-Z

คำว่า Metaverse เพิ่งจะเป็นข่าวดังเมื่อไม่นานมานี้ (กค. 2021) เพราะ Mark Zuckerberg (CEO ของ Facebook) ออกมาประกาศ Facebook จะเปลี่ยนตัวเองจาก Social Network Company ไปเป็น Metaverse Company

Facebook ไม่ใช่ว่าพึ่งจะมาคิดเรื่องนี้ชั่วข้ามคืนแล้วประกาศ แต่เขาเตรียมการมานานหลายปี  โดยเมื่อมองย้อนกลับไปในปี 2014 จะพบว่า Facebook ซื้อบริษัทผลิต VR Headset ชื่อ Oculus ด้วยราคา 2 พันล้านดอลลาร์

ที่นี้ ทำไมเราต้องสนใจ Metaverse นักหนา มันแค่โลกเสมือนจริง ใส่แว่น VR แล้วเห็นโลกสามมิติได้ มันแค่เกมเด็กเล่นกัน แค่นั้นเองไม่ใช่หรือ ?

Metaverse ไม่ใช่แค่เกมสามมิติ หรือ สวมแว่นแล้วเห็นกราฟิกสวย ๆ ครับ  แต่มันจะเป็นระบบเศรษฐกิจ (ในโลกดิจิทัล) ซ้อนเศรษฐกิจ (ในโลกกายภาพจริง) เลยทีเดียว  และผมคาดการณ์ว่าน่าจะใหญ่กว่าเศรษฐกิจในโลกกายภาพจริงหลาย ๆ เท่าทีเดียว เพราะดันมามีสิ่งที่เรียกว่า NFT และ Cryptocurrency เกิดมาเป็นฐานให้ยึดเหนี่ยวรอไว้แล้ว  และเงินสกุลดิจิทัลที่ไหลหมุนเวียนในนั้นน่าจะมีรอบที่เร็วกว่าในโลกกายภาพจริงสักร้อยเท่าได้ (กะเอาหยาบ ๆ) เพราะการสร้างสรรค์สิ่งต่างที่เป็นดิจิทัล มันไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น ไม่ต้องเลี้ยงจระเข้จนโต ก่อนจะเอาหนังมามันมาทำกระเป๋า

งานศิลปะ ความเป็นเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตน สินทรัพย์และลิขสิทธิ์ดิจิทัล จะเป็นเรื่องสำคัญมากใน Metaverse 

เมื่อเราเข้าสู่ Metaverse เราจำเป็นต้องมีร่างอวตาร (Avatar) แสดงตัวตนในโลก Metaverse ซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ตามใจเรา และจะมีกี่ร่างก็ได้ ซึ่งถ้ามันเป็นแค่เกมเล่นชั่วครั้งชั่วคราวก็คงไม่มีใครแคร์อะไร แต่ถ้าเป็นโลก Metaverse มันจะอยู่คงทนตลอดไป จนชนิดที่เรียกว่าอีกหน่อย เราจะนัดเจอกันในนั้น  จะทำงานในนั้น จะเรียนหนังสือในนั้น จะหาแฟนในนั้น หรือทำอะไรที่แปลกพิสดารก็ทำในนั้นได้ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ แข่งรถ หรือแม้แต่ทำเรื่องจริงจังมาก ๆ เช่น ก่อตั้งบริษัทและทำธุรกิจในนั้น !!   

ผมอาจจะไปประชุมและมีบ้านใน Metaverse แน่นอนว่าอยากมีบ้านสวย ๆ เพราะมันเป็นถาวร แขกไปใครมา ต่อไปจะมาเจอกันที่บ้านผมนี้ ผมย่อมอยากให้มันสวยงาม และมีความเป็นเอกลักษณ์ คงจะไม่ใช่แค่กล่องสี่เหลี่ยมเจาะรูหน้าต่าง ประตู  แต่เป็นบ้านเสมือนที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ครบจริง เช่น ห้องประชุม ห้องทำงาน โต๊ะทำงาน สวนหลังบ้าน สนามหญ้า ห้องนั่งเล่น หรือแม้แต่ทีวี !!!  โดยที่แน่นอนว่าความสวยงาม สมจริง และเป็นเอกลักษณ์ (ผมมีคนเดียว) ต้องแลกมาด้วยการซื้อหรือจ้างคนทำให้  เหมือนที่เราจ้างคนออกแบบและสร้างบ้านให้เราในโลกจริง … (อย่างไรก็ตาม ขอละไว้ในฐานที่เข้าใจเล็กน้อยก่อนว่าเราคงไม่กินข้าวใน Metaverse เพราะคงอิ่มท้องไม่ได้ ยังมีบางช่วงเวลาที่มนุษย์ต้องออกมาเพื่อทำกิจกรรมสำคัญเช่น กิน นอนหลับ ขับถ่าย)

แล้วจะใช้อะไรซื้อบ้านเสมือนนั้นล่ะ ? ใช้เงินบาท เงินดอลลาร์ เงินหยวน หรือ ทองคำ ? และที่สำคัญ ซื้อแล้ว อะไรจะเป็นตัวรับประกันว่าบ้านเสมือนนั้นเป็นของผมคนเดียวจริง ๆ ในโลก Metaverse ?

คำตอบคือ บ้านหลังนั้นต้องถูกสร้างให้อยู่ในรูปแบบหรือถูกกำกับด้วย NFT (Non-Fungible Token) ครับ แล้วนำมาขายและใช้งานใน Metaverse และถ้าผมเบื่อบ้านหลังนี้ ผมสามารถขายต่อหรือโอนสิทธิ์และรับเงินได้ด้วย โดยอิงราคาด้วย Cryptocurrency

นี่แค่พูดถึงบ้านนะครับ ยังมีเสื้อผ้า รูปร่างหน้าตา (ร่างอวตาร) เครื่องแต่งกาย รถแข่ง ภาพศิลปะ หรือแม้แต่อาวุธ !!

ที่เล่ามานี้ ยังไม่เกิดจริง ๆ เพราะ Metaverse ยังเป็นช่วงเริ่มต้นมาก ๆ  เรามาดู NFT และการซื้อขายที่เกิดจริงแล้วดีกว่า

NFT อิงอยู่กับ blockchain ของสกุลเงินคริปโตโดยตรง ดังนั้น จึงมีความถาวรและมีคุณค่าเพราะอาศัย Blockchain ในการลงทะเบียนไว้ได้ถาวร ป้องกันการปลอมแปลงแอบอ้างสิทธิได้ เทียบกับการเล่นเกมออนไลน์ ซึ่งมีการสะสม item ในเกมมันแค่ชั่วคราว เพราะถ้า server ของเกมปิดไป (หรือบริษัทเกมเจ๊งไป) ทุกสิ่งอย่างที่สะสมมาก็หมดคุณค่า แต่ NFT มันจะอยู่ถาวร

เรื่องน่าตื่นเต้นเร็ว ๆ นี้ (11 มีค. 2564) คือ คุณ Mike Winkelmann (นามปากกาว่า Beeple) ทำสถิติขายงานศิลปะ (โดยการประมูลใน NFT Marketplace) ได้ที่ราคา $69.3 ล้านดอลลาร์ หลักฐานอยู่ที่ [6] ซึ่งลงทะเบียนด้วย Smart Contract เรียบร้อย

นอกจากนี้ยังมีคุณ Alana Edgington คุณแม่ลูกสาม วัย 35 ที่ก่อนหน้านี้มีหนี้สินบัตรเครดิตท่วมหัว และต้องดูแลลูกที่ป่วยออทิสติกและผิดปกติทางระบบประสาท มาทำงานขายภาพเขียนศิลปะของเธอในรูปแบบ NFT จนสามารถลืมตาอ้าปากได้ [16] … ตามดูไป Twitter ขายงานของเธอได้ที่ [5]

คุณอาจเริ่มมีคำถามว่า แล้วจะซื้องานศิลปะพวกนี้ในราคาแพงไปทำไม ?

คำตอบหนึ่งที่ช่วยอธิบายปรากฏการณ์นี้ก็เหมือนกับที่มีบริษัทประกันตีราคาภาพวาดโมนาลิซ่าไว้ที่ 870 ล้านดอลลาร์เลยครับ [25] อะไรที่สวย อยู่ได้คงทน และมีความเป็นเอกลักษณ์ มักถูกให้คุณค่าสูง

ปี 2022 จะเป็นปีที่น่าติดตามสำหรับ Cryptocurrency และอื่นๆ ที่อ้างอิงกับมัน เช่น Defi (Decentralized Finance) NFT (Non Fungible Token) รวมไปถึง Metaverse ซึ่งเป็นยอดสุดพีระมิดของทั้งหมด และจะเป็น World/Economic Changer ซึ่งผมขอเรียกว่า Internet ยุคที่ 3 (ช่วง 2021-2040) โลกและนโยบายสาธารณะน่าจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

ที่มารูป Monsak Socharoentum

คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ สําหรับวันพุธที่ 3 พฤศจิกายน

โดย ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

dwp ต่อยอดธุรกิจสถาปัตฯ รุกตลาดสู่โลกแห่งอนาคต

dwp I design worldwide partnership บริษัทที่ปรึกษา    ด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบระดับสากล ที่มีประสบการณ์มาหลายสิบปีในประเทศไทยและมีผลงานมากมาย ในระดับโลก พร้อมแล้วสำหรับการเปิดบริษัทใหม่ในเครือ dwp อย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “dwp|metatecture” 

“เอนก” เปิดงานสตาร์ทอัพและอินโนเวชั่น ไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2022

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงานสตาร์ทอัพและอินโนเวชั่น ไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2022

จักรวาลนฤมิตคือตัวเร่งความเหลื่อมล้ำทางสังคม

เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง FACEBOOK ประกาศว่าเราได้เปลี่ยนเข้าสู่มิติใหม่ในโลกดิจิทัลแล้วจึงต้อง ขอเปลี่ยนชื่อตัวเองจาก “FACEBOOK” เป็น “META” ซึ่งหมายความอย่างสั้นๆ ได้ว่า “เหนือกว่า”

“ปั๋น Riety” กับการเดินทางของศิลปะสู่โลก NFT ในโปรเจกต์สุดพิเศษ “Hotel De Mentía” ที่เป็นมากกว่างานศิลปะและเกม

เตรียมพบกับ “Hotel De Mentía” ผลงานของคุณปั๋น ดริสา หรือที่รู้จักกันในนาม Riety ยูทูบเบอร์ สายอาร์ตที่มีผู้ติดตามในออนไลน์รวมกว่า 1.8 ล้านคน

ห้างโรบินสัน จับมือ พันธมิตรแบรนด์นาฬิกา จิลเวลรี่ แกดเจ็ต กว่า 50 แบรนด์ชั้นนำ ปลุกตลาดวอทช์คึกคัก จัดมหกรรมสุดยิ่งใหญ่งานแรกของปี “ROBINSON THE ULTIMATE WATCH FAIR 2022”

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ในเครือเซ็นทรัล รีเทล เดินหน้าประเดิมปลุกตลาดนาฬิกาปี 2565 คึกคักต่อเนื่อง จับมือ พันธมิตรแบรนด์นาฬิกา จิลเวลรี่ แกดเจ็ต กว่า 50 แบรนด์ชั้นนำ