บพท.ประสานพลังวิชาการ 18 มหาวิทยาลัย พัฒนาสูตร'ล้างจน' ประเดิม 20จังหวัด

24 พ.ย.2564-นายกิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาในการแก้ไขปรับปรุง ดังนั้น บพท.จึงให้ความสนใจส่งเสริมให้มีนำวิชาความรู้จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าไปช่วยเหลืออย่างเป็นระบบโดยร่วมงานกับมหาวิทยาลัย 18 แห่ง ดำเนินโครงการนำร่องใน 20 จังหวัด ตามแผนงานวิจัยและนว้ตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำโดยใช้ชุดข้อมูลแผนที่ความยากจนประเทศไทย (Thai Poverty Map-TP Map) ที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดทำร่วมกันและชุดข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของกรมการพัฒนาชุมชน เป็นฐานการทำงาน


ต่อจากนั้น บพท. ได้พัฒนากระบวนการค้นหาสอบทานคนจนที่ตกหล่นจากระบบเพื่อเป็นข้อมูลเชิงลึก (deep data)โดยระบบ PPPconnext ซึ่งเป็นระบบข้อมูลที่แสดงทั้งปัญหาและทุนศักยภาพในการดำรงชีพคนจน 5 ด้าน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนการเงิน ทุนกายภาพ ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบบนี้จะสามารถวิเคราะห์และจำแนกกลุ่มเป้าหมายคนจนเป็น 4 ระดับ คือ ระดับอยู่ลำบาก อยู่ยาก พออยู่ได้และอยู่ได้ ซึ่งเป็นเสมือนการตรวจเอ็กซเรย์เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงตามสาเหตุ

ทั้งนี้กระบวนการค้นหาดำเนินการโดยมหาวิทยาลัย 18 แห่ง ร่วมกับกลไกภาครัฐ ภาคประชาสังคม และขบวนองค์กรชุมชนข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ กลไกการมีส่วนร่วมส่งผลต่อการช่วยเหลือเร่งด่วน สำหรับคนจนที่เป็นคนป่วย คนชรา คนพิการเป็นระบบส่งต่อลำดับแรก ต่อจากนั้นจะมีระบบส่งต่อในปัญหาสำคัญอื่นๆ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัยจะเข้าสู่โครงการบ้านพอเพียงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ปัญหาการศึกษาส่งต่อสู่กองทุนเสมอภาคทางการศึกษาปัญหาสาธารณูปโภคส่งต่อหน่วยงานในพื้นที่ทีรับผิดชอบ ฯลฯรวมทั้งโครงการพัฒนานวัตกรรมแก้จนในหลากหลายรูปแบบที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหา เช่นการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร การพัฒนาผลตอบแทนบริการระบบนิเวศน์ (pay for eco system)

สำหรับคนจนอนุรักษ์ป่า การยกระดับระบบสวัสดิการชุมชนให้ขยายบริการครอบคลุมคนจนการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตร เป็นต้น ส่วนสำคัญอีกเรื่อง คือ การนำส่งระบบข้อมูลคนจนและโครงการแก้จนเข้าสู่ระบบแผนพัฒนาท้องถิ่น หรือแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนเกิดความต่อเนื่องโดยหน่วยงานรัฐในพื้นที่


นายแมน ปุโรธกานนท์ หัวหน้าแผนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ บพท. เปิดเผยว่า การเดินสำรวจเคาะประตูบ้านในพื้นที่นำร่องดังกล่าว สร้างโอกาสการเรียนรู้สภาพปัญหาอย่างชัดเจน และทำให้สามารถค้นพบคนจนที่ตกสำรวจเป็นจำนวน 336,239 คน ซึ่งเมื่อสมทบกับตัวเลขคนจนตามชุดข้อมูลจปฐ.และแผนที่ความยากจนประเทศไทย จะมีจำนวนคนจนรวมกันถึง 676,085 คน


“เราจำแนกกลุ่มคนจนในจังหวัดนำร่องออกเป็น 4 ระดับคือระดับสีแดง เป็นกลุ่มคนจนประเภทอยู่ลำบาก สีส้มเป็นกลุ่มคนจนประเภทอยู่ยาก สีเหลือง เป็นกลุ่มคนจนประเภทพออยู่ได้ และสีเขียว เป็นกลุ่มคนจนประเภทอยู่ได้ “นายแมนกล่าว


หัวหน้าแผนงานวิจัย ระบุอีกว่า คนจนใน 20 จังหวัดนำร่อง เป็นคนจนระดับสีส้ม มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39 รองลงมาเป็นคนจนระดับสีเหลืองมีอยู่ร้อยละ 29 และคนจนระดับสีแดง มีอยู่ร้อยละ 26 ขณะที่คนจนระดับสีเขียวมีอยู่ร้อยละ 6 เมื่อจัดแบ่งประเภทของปัญหาพบว่า คนจนส่วนใหญ่มีปัญหาขาดแคลนทุนกายภาพ คือขาดที่ทำกินมากที่สุด รองลงมาคือปัญหาขาดแคลนทุนมนุษย์ ได้แก่ พื้นฐานการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดและพื้นฐานด้านสุขภาพอนามัยและถัดลงไปคือปัญหาขาดแคลนทุนธรรมชาติ ได้แก่ การที่ต้องประสบภัยธรรมชาติซ้ำซาก ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง หรือพายุ


ส่วนปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ และปัญหาขาดแคลนโอกาสการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐอยู่ในลำดับรั้งท้าย“ในการช่วยเหลือจึงต้องออกแบบให้สอดคล้องกับระดับความเข้มข้นและเหตุปัจจัยของความจน เช่น กลุ่มสีแดง เป็นกลุ่มที่ต้องเร่งประสานเชื่อมต่อเข้ากับระบบสวัสดิการของรัฐให้เร็วที่สุด ขณะที่คนจนกลุ่มสีส้ม จะเน้นการพัฒนาทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพ ส่วนคนจนกลุ่มสีเหลือง จะเน้นการช่วยแสวงหาที่ ทำกิน และแหล่งทุน เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ขณะที่คนจนกลุ่มสีเขียว จะเน้นการสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านอาชีพ และทักษะการจัดการทางการเงินเพื่อความมั่นคงยั่งยืนในการดำรงชีวิต


สำหรับ 20 จังหวัดนำร่องที่ บพท.เข้าไปมีบทบาทแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้แผนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ประกอบด้วย กาฬสินธุ์อำนาจเจริญ สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร มุกดาหาร ชัยนาท แม่ฮ่องสอน ปัตตานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา เลย พัทลุง ยะลา นราธิวาส พิษณุโลก และลำปาง
ส่วน 18 มหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัย ที่ร่วมสานพลัง บพท.แก้ปัญหาคนจนสู้ภัยโควิด ได้แก่ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ วิทยาลัยชุมชนยโสธร วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สถาบันวิทยาลัยชุมชน(กรุงเทพ) วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตปัตตานี) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยทักษิณ (วิทยาเขตพัทลุง) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วน !! "ศุภมาส" สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมียมสมุทรสาคร

วันที่ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี

ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ

วันนี้ 19 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สั่งการด่วนระหว่างการประชุม ครม.

“อว. For EV” เดินหน้า 23 หน่วยงาน MOU “ศุภมาส” ประกาศขับเคลื่อนประเทศสู่ Go Green

เมื่อวันที่ 18 มี.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบาย อว. For EV ของ 23 หน่วยงานสังกัดกระทรวง อว. เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปเป็น EV HUB