'บสย.'สร้างสถิติใหม่ค้ำประกันสินเชื่อทะลุ 2 แสนล.

สุดปัง! “บสย.” โชว์ผลงานอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อทะลุ 2 แสนล้านบาท ทุบประวัติศาสตร์รอบ 30 ปี เข็นสินเชื่อในระบบวิ่ง 2.15 แสนล้านบาท กระตุ้นจ้างงาน 2 ล้านราย พร้อมเดินหน้าค้ำประกันอุ้มเอสเอ็มอีปรับปรุง-ฟื้นฟูกิจการรับนโยบายเปิดประเทศ

20 ต.ค. 2564 – นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยถึงผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ ระหว่าง วันที่ 1 ม.ค.- 15 ต.ค. 2564ว่า ได้อนุมัติค้ำประกันสินเชื่อทุกโครงการ รวมวงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท และอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) จำนวน 187,446 ฉบับ สร้างสถิติค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ก่อตั้ง บสย. รอบ 30 ปี ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบ 215,237 ล้านบาท คิดเป็น 1.07 เท่า สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ 4.13 เท่าของวงเงินค้ำประกัน คิดเป็นมูลค่า 833,333 ล้านบาท ก่อเกิดการจ้างงาน จำนวน 2,050,661 ราย แบ่งเป็น การรักษาการจ้างงาน จำนวน 1,667,657 ราย และการจ้างงานใหม่ จำนวน 383,004 ราย โดยมีภาระค้ำประกันสินเชื่อ (Outstanding) ณ ไตรมาส 3/2564 จำนวน 604,076 ล้านบาท คิดเป็น 13% ของยอดคงค้างสินเชื่อเอสเอ็มอีในระบบ คิดเป็น 10% ของ มูลค่าจีดีพีเอสเอ็มอี

ทั้งนี้ โครงการค้ำประกันสินเชื่อที่ บสย. อนุมัติวงเงินค้ำ ได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ภายใต้ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู เฟส 1-2 วงเงิน 103,500 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 52% และ LG จำนวน 33,803 ฉบับ2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. เอสเอ็มอีสร้างชาติ (PGS 9) วงเงิน 71,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 35% และ LG จำนวน 16,878 ฉบับ 3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อไมโคร 4 วงเงิน 15,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7% และ LG จำนวน 130,699 ฉบับ และ4.โครงการค้ำประกันสินเชื่ออื่น ๆ วงเงิน 11,100 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6% และ LG จำนวน 6,066 ฉบับ

สำหรับแผนการดำเนินงานไตรมาสสุดท้าย บสย. พร้อมอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อเติมทุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำไปใช้ในการปรับปรุงและฟื้นกิจการตามแผนเปิดประเทศ โดยมั่นใจว่า โครงการค้ำประกันสินเชื่อฟื้นฟู ระยะ 2 วงเงิน 100,000 ล้านบาท จะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ซึ่งได้ปรับปรุงเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อให้ดียิ่งขึ้น เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ กลุ่มไมโคร และเอสเอ็มอี กลุ่มเปราะบาง ช่วยลดภาระต้นทุนค่าธรรมเนียม และเพิ่มโอกาสได้วงเงินสินเชื่อเพิ่ม ได้แก่ 1. ปรับลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันทันที ตั้งแต่ปีแรก สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร และ กลุ่มเอสเอ็มอีเปราะบาง จ่ายเริ่มต้นเพียง 1% ต่อปีต่อเนื่อง 4 ปีแรก รวม 13% ตลอดระยะเวลา 10 ปี 2. เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร และกลุ่มเอสเอ็มอีเปราะบาง ได้รับวงเงินสินเชื่อ เพิ่มขึ้นสูงสุด 50 ล้านบาทต่อราย จากเดิม 15 ล้านบาทต่อราย 3. เพิ่มความมั่นใจให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อโดย บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเต็ม 100% ใน กลุ่มไมโคร จากเดิม 90% และ กลุ่มเอสเอ็มอีเปราะบาง จากเดิม 80%

นอกจากนี้ โครงการค้ำประกันสินเชื่อฟื้นฟู เฟส 2 มีการปรับเพิ่มวงเงินค้ำประกันผู้ประกอบการ ทั้งที่เป็นลูกค้าเดิมที่มีวงเงินกู้อยู่แล้ว และลูกค้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีวงเงิน ดังนี้ 1.ผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อย กรณีเป็นลูกค้าสถาบันการเงินที่มีวงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้วงเงินไม่เกิน 30% ของสินเชื่อเดิมหรือสูงถึง 1.5 ล้านบาท สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน จะได้วงเงินสูงถึง 1.5 ล้านบาท

2.ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าสถาบันการเงินที่มีวงเงินสินเชื่อเดิม ระหว่าง 5-50 ล้านบาท จะได้วงเงินไม่เกิน 30% ของสินเชื่อเดิม หรือระหว่าง 1.5-15 ล้านบาท กรณีถ้าไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน จะได้วงเงิน 1.5-15 ล้านบาท 3.กลุ่มคอร์ปอเรท (Corporate) กรณีเป็นลูกค้าสถาบันการเงินที่มีวงเงินสินเชื่อเดิม ระหว่าง 50 – 500 ล้านบาท จะได้วงเงินไม่เกิน 30% ของสินเชื่อเดิม หรือระหว่าง 15 -150 ล้านบาท กรณีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน จะได้วงเงิน 15-50 ล้านบาท

ทั้งนี้ วงเงินผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร และกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาจจะได้รับวงเงินสูงถึง 50 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ประกอบการและการพิจารณาของสถาบันการเงินและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอสเอ็มอี หนุน “พิพัฒน์” ขึ้นค่าแรงตามระบบเศรษฐกิจและชวนผู้ประกอบการ upskill แรงงาน เพิ่มรายได้ทั่วประเทศ

วันที่ 30 ตุลาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นายแสงชัย ธีรกุลวานิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อแนะนำสมาพันธ์ฯ

'บสย.' กางผลงาน 7 เดือนค้ำประกันพุ่ง 7.74 หมื่นล.

“บสย.” กางผลงาน 7 เดือน ลุยค้ำประกันสินเชื่อ 7.74 หมื่นล้านบาท อุ้มผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนแล้ว 5.77 หมื่นราย เข็นสินเชื่อในระบบพุ่ง 8.6 หมื่นล้านบาท พร้อมปักธงหนุนเอสเอ็มอีปรับธุรกิจสู่ ESG

บสย. ผลงานโดดเด่น ค้ำประกัน 6 เดือน ทะลุ 67,987 ล้าน

บสย. สร้างผลงานโดดเด่น เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ 6 เดือน ม.ค.-มิ.ย. 2566 อนุมัติวงเงิน 67,987 ล้านบาท เติมสภาพคล่อง SMEs ได้สินเชื่อ 51,427 ราย สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 280,786 ล้านบาท สร้างสินเชื่อสู่ระบบ 76,049 ล้านบาท รักษาการจ้างงานรวม 493,552 ตำแหน่ง เผยแผนครึ่งปีหลังเดินเครื่อง 3 เร่ง “เร่งค้ำ เร่งพัฒนา เร่งยกระดับ” ขับเคลื่อน Digital Technology เชื่อมดิจิทัลแพลตฟอร์ม สู่เป้าหมาย SMEs Gateway

'บสย.' โชว์ 5 เดือนค้ำประกัน 5.5 หมื่นล. รักษาการจ้างงานกว่า 4 แสนตำแหน่ง

“บสย.” กางผลงาน 5 เดือนปี 2566 โชว์ยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อแล้ว 5.58 หมื่นล้านบาท อุ้มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 4.26 หมื่นราย สร้างสินเชื่อในระบบ 6.2 หมื่นล้านบาท รักษาการจ้างงานกว่า 4 แสนตำแหน่ง ดันให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 2.3 แสนล้านบาท

สสว. เผยเอสเอ็มอีกังวลต้นทุนพุ่งฉุดดัชนีเชื่อมั่นงวดชะลอตัว

สสว. เผยเอสเอ็มอีกังวลต้นทุนพุ่ง ฉุดดัชนีเชื่อมั่นงวด พ.ค. ชะลอตัว อยู่ระดับ 53.0 สะท้อนคำสั่งซื้อชะลอตัวหลังจาเทศกาลกสงกรานต์