‘บสย.’ ขึงเป้าค้ำประกัน 1.15 แสนล. ลุยหารือคลังอ้อนเดินเครื่อง PGS 11

“บสย.” กางผลงานปี 2566 อนุมัติค้ำประกัน พุ่ง 1.14 แสนล้านบาท อุ้มเอสเอ็มอีรายใหม่เข้าถึงสินเชื่อเฉียดแสนราย สร้างสินเชื่อในระบบ 1.24 แสนล้านบาท พร้อมขึงเป้าผลงานปี 2567 ปักธงค้ำประกัน 1.15 แสนล้านบาท แจงหารือคลังจ่อลุย PGS11

14 ก.พ. 2567 – นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ บสย. ปี 2566 อนุมัติค้ำประกัน รวม 114,025 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. โครงการภาครัฐ (PGS 10 และโครงการอื่นๆ ) 51,249 ล้านบาท ค้ำเฉลี่ยต่อราย 5.9 แสนบาท 2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก หรือ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2 43,376 ล้านบาท ค้ำเฉลี่ยต่อราย 5.3 ล้านบาท 3. โครงการ บสย. ดำเนินการเอง วงเงิน 19,400 ล้านบาท ค้ำเฉลี่ยต่อราย 2.55 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหม่ได้สินเชื่อ จำนวน 99,298 ราย 80% เป็นผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SMEs ) รักษาการจ้างงาน รวม 855,087 ตำแหน่ง สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 470,388 ล้านบาท สร้างสินเชื่อในระบบ 124,815 ล้านบาท คิดเป็น 1.10 เท่า ของยอดค้ำประกัน

ด้านโครงการแก้หนี้สะสมตั้งแต่ปี 2560- 2566 ช่วยลูกหนี้เข้าโครงการประนอมหนี้ จำนวน 19,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้ปรับโครงสร้างสะสม 6,942 ล้านบาท โดยในปี 2565-2566 ที่ออกมาตรการ “บสย. พร้อมช่วย” มาตรการ 3 สี ม่วง เหลือง เขียว “ผ่อนน้อย เบาแรง” ดอกเบี้ย 0% บสย. สามารถช่วยลูกหนี้ได้รับการประนอมหนี้จำนวน 13,378 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 4,723 ล้านบาท โดยในปี 2567 บสย. ยังคงเดินหน้ามาตรการช่วยลูกหนี้อย่างเข้มข้น

สำหรับแผนยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงาน บสย. ในปี 2567 ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อ 115,600 ล้านบาท โดยคาดว่าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ากลุ่มไมโครเอสเอ็มอี ราว 70-80% เป็นการดำเนินการใน 2 โครงการหลักคือ 1.โครงการค้ำประกัน ที่ บสย. พัฒนาขึ้น อาทิ BI7 และ RBP วงเงิน 75,600 ล้านบาท และ โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก หรือ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปีแรกไม่เกิน 5% วงเงิน 40,000 ล้านบาท และ 2.ขับเคลื่อนองค์กรก้าวสู่การเป็น Credit Mediator และ SMEs Digital Gateway กองหน้า กองกลาง และ กองหลัง

อย่างไรก็ดี ในส่วนความคืบหน้าโครงการ PGS10 นั้น ขณะนี้มีคำขอค้ำประกันเต็มวงเงินที่ 53,000 ล้านบาทแล้ว โดย บสย. อยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และกระทรวงการคลัง เพื่อเดินหน้าโครงการ PGS11 ซึ่งวงเงินดำเนินการที่คาดหวังไว้ อยู่ที่ 100,000 ล้านบาท โดยคาดว่าวงเงินดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ ราว 200,000 ราย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เริ่มแล้ววันนี้! บสย. ผนึก ออมสิน ช่วย SMEs รายย่อยแก้หนี้นอกระบบ

เริ่มแล้ววันนี้ ! บสย. ผนึก ธนาคารออมสิน พร้อมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล แก้หนี้นอกระบบ ช่วยผู้ค้ารายย่อยอาชีพอิสระกลุ่มหนี้นอกระบบ วงเงินค้ำสูงสุด 200,000 บาทต่อราย ระยะเวลาค้ำสูงสุด10 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียม 2 ปีแรก

'บสย.' เตรียมผุดมาตรการแฮร์คัต ลดต้นเงินกู้ให้ลูกหนี้เอสเอ็มอี

“บสย.” เตรียมผุดมาตรการแฮร์คัต ลดต้นเงินกู้ให้ลูกหนี้เอสเอ็มอีกลุ่มสีฟ้า 15% หวังผ่อนน้อย เบาแรง ปิดหนี้ได้เร็ว คาดเปิดลงทะเบียนได้ช่วง ม.ค.-เม.ย. 2567 พร้อมเดินหน้าถกคลังขอ 1 แสนล้านบาท ตั้งโครงการ PGS11 กางผลงาน 11 เดือนปี 2566 ลุยอนุมัติวงเงินค้ำประกันแล้ว 1.07 แสนล้านบาท

บสย. ผนึก SET เข็นโครงการอุ้มเอสเอ็มอี-สตาร์ทอัพ

“บสย.” ผนึก SET เข็นโครงการ SME Platform พัฒนาและสนับสนุนสตาร์ทอัพ-เอสเอ็มอี กาง 3 มิติช่วยเหลือ พร้อมประเมินมีเอสเอ็มอีที่มีโอกาสขยายกิจการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) ประมาณ 30% หรือราว 240,000 ราย

'บสย.' กางผลงาน 7 เดือนค้ำประกันพุ่ง 7.74 หมื่นล.

“บสย.” กางผลงาน 7 เดือน ลุยค้ำประกันสินเชื่อ 7.74 หมื่นล้านบาท อุ้มผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนแล้ว 5.77 หมื่นราย เข็นสินเชื่อในระบบพุ่ง 8.6 หมื่นล้านบาท พร้อมปักธงหนุนเอสเอ็มอีปรับธุรกิจสู่ ESG

'บสย.' โชว์ 5 เดือนค้ำประกัน 5.5 หมื่นล. รักษาการจ้างงานกว่า 4 แสนตำแหน่ง

“บสย.” กางผลงาน 5 เดือนปี 2566 โชว์ยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อแล้ว 5.58 หมื่นล้านบาท อุ้มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 4.26 หมื่นราย สร้างสินเชื่อในระบบ 6.2 หมื่นล้านบาท รักษาการจ้างงานกว่า 4 แสนตำแหน่ง ดันให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 2.3 แสนล้านบาท