สร้างเศรษฐกิจฐานราก ต้องเริ่มจาก”เกษตรกร”กินดี อยู่ดี

การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 น่าจะทำให้ไทยถอดบทเรียนกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี.... เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพิงตลาดส่งออกในสัดส่วนที่สูงเกินไปในทุกเครื่องจักรไม่ว่าจะเป็น การลงทุน ส่งออก ท่องเที่ยว และแม้แต่ภาคเกษตรก็ตาม จำเป็นต้องกลับมาทบทวนใหม่ทั้งสิ้นเพื่อลดพึ่งพิงการส่งออกให้มีความสมดุลกับตลาดภายในเพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยภายนอก

ดังนั้นความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจไทยจึงควรมาจากภายในก่อนและแน่นอนว่า   “ภาคเกษตรกรรม”  ที่มีระบบแรงงานสูงสุดของประเทศจำนวนราว 13 ล้านคนเป็นกำลังแรงซื้อที่สำคัญสำหรับการบริโภคภายในประเทศแล้วยังเป็นฐานการผลิตที่สามารถส่งออกวัตถุดิบภาคเกษตรโดยตรงและต่อยอดไปสู่เกษตรแปรรูปเพื่อการขับเคลื่อนการส่งออกของไทยให้เข้มแข็งได้อีกด้วย

แม้ว่าสังคมไทยจะตระหนักให้คุณค่าว่า เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ และไทยมีต้นแบบจากสังคมเกษตร แต่การพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากลับยังคงไม่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของ เกษตรกร ให้มีความกินดีอยู่ดี มิหนำซ้ำปัจจุบันยังมีหนี้ในระบบในอัตราที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับการพัฒนาประเทศที่จะก้าวไปสู่ยุค 4.0 หากเกษตรกรที่เป็นรากฐานของเศรษฐกิจยังไม่อาจประกอบอาชีพหลักที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เศรษฐกิจฐานรากก็ย่อมไม่อาจเติบโตได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

วันนี้ไทยกำลังถอยหลังเข้าสู่โหมดเลือกตั้งเราจึงต้องติดตามนโยบายเพื่อเกษตรกรให้มาก....เพราะเชื่อว่าจากนี้แต่ละพรรคน่าจะทยอยออกมา....แต่สำหรับผู้เขียนได้ติดตามกูรูหลายคนที่มีมุมมองการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยหนึ่งในนั้นที่ต้องคอยส่อง Facebook หรือข่าวสาร คือ “ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน”ที่จะเขียนมุมมองและข้อเสนอแนะดีๆ ออกมาต่อเนื่อง

โดยเฉพาะการดูแลเศรษฐกิจฐานรากซึ่งก่อนหน้าได้ย้ำให้เห็นถึงปัญหาตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)หรือหนี้เสียในระบบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ที่จ่อหัวว่า” ความไม่ยุติธรรมในภาคเกษตร”โดยระบุว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจาก 3.7% ในปี 2563 เป็น 6.63% ในปี 2564 ซึ่งถ้าย้อนไปดูคำชี้แจงของผู้บริหารเมื่อสิ้นปีบัญชี 2564 ก็ระบุว่าในปีบัญชี 2565 ได้ตั้งเป้าหมายที่จะบริหารจัดการให้หนี้เสียปรับลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 4.5% ของสินเชื่อรวม แต่เพียงแค่ครึ่งปีแรกของปี 2565 หนี้เสียต่อสินเชื่อรวมพุ่งไปอยู่ที่ระดับ 12.5% และผู้บริหารธนาคารยังคาดว่าสิ้นปีบัญชี 2565 (31 มีนาคม 2566) สัดส่วนหนี้เสียจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7% ไม่ใช่ 4.5% อย่างที่ตั้งเป้าไว้แต่เดิมแล้ว

เมื่อดูตัวเลขสินเชื่อสะสมของเกษตรกรเฉพาะที่ธ.ก.ส. สูงถึง 1.6 ล้านล้านบาทแล้ว  เราก็จะต้องเห็นนโยบายหาเสียง “พักหนี้เกษตรกร” ทุกรอบที่มีการเลือกตั้ง โดยท่านย้ำว่านี่ไม่ใช่วิธีแก้ไขแบบยั่งยืนโดยเสนอ  การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างเอกชนกับเกษตรกร เรียกว่า บริษัทผู้ผลิตร่วม ลงทุนร่วมกัน ฝ่ายหนึ่งลงเงินทุน อีกฝ่ายหนึ่งลงแรง รับความเสี่ยงร่วมกัน กำไรแบ่งกัน ขาดทุนก็รับผิดชอบร่วมกัน จะทำเกษตรอัจฉริยะ จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จะลดต้นทุน จึงจะขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม และแก้ปัญหาหนี้เกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน

ล่าสุดท่านยังตอกย้ำว่าเศรษฐกิจฐานรากคือความมั่นคงของชาติ โดยชี้ให้เห็นว่าผลกระทบโควิด-19 ทำให้รายได้สําคัญของประเทศลดลง ผู้ประกอบการรายย่อยขาดเงินทุน และประชาชนขาดกําลังซื้อ เศรษฐกิจฐานรากจึงสั่นคลอน  หนทางฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยจึงต้อง “สร้างและซ่อมเศรษฐกิจฐานราก” ที่ท้องถิ่นและชุมชน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเพิ่ม “มูลค่าและคุณค่า” ให้กับเศรษฐกิจฐานราก เช่น การแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่า อุตสาหกรรมอาหารและเศรษฐกิจบนฐานชีวภาพภายใต้ BCG โมเดล (Bio,Circular,Green Economy)  รวมทั้งการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่เน้นคุณภาพแทนปริมาณ

การสร้างและซ่อมเศรษฐกิจฐานราก ต้องดำเนินการด้วยการ “เติมทุน เติมทักษะ เติมรายได้” ต้องเติมทั้งสามอย่าง จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืน เติมทุนอย่างเดียว ไม่ว่าจะดำเนินการผ่านธนาคารของรัฐหรือกองทุนหมู่บ้าน แต่ไม่เติมทักษะใหม่ ก็ไม่สามารถเติมรายได้ให้ผู้ประกอบการในเศรษฐกิจฐานรากได้

ขณะเดียวกัน ต้องเพิ่มกำลังซื้อที่ระดับท้องถิ่นและชุมชน ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพ ซึ่งส่วนมากจะเป็นอาชีพอิสระ ที่รัฐสามารถเข้าไปดูและสวัสดิการของผู้ประกอบอาชีพอิสระกลุ่มต่างๆ รวมไปถึงสวัสดิการสำหรับกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้เขาเหล่านี้มีกำลังซื้อเพียงพอสำหรับสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน ดังนั้นสร้างบ้านต้องเริ่มที่ฐานราก เศรษฐกิจฐานราก คือ ความมั่นคงของเศรษฐกิจไทย…..นับเป็นมุมมองที่ดีและจะดียิ่งกว่าหากนำไปสู่ภาคการปฏิบัติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คุณค่าแท้–คุณค่าเทียม ที่ชาวพุทธควรคำนึง..!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. คำว่า “วิกฤตศรัทธา” เริ่มมีการพูดถึงกันมากในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น ที่นำไปสู่ความสั่นคลอนในความเชื่อมั่น ที่เคยอบรมสั่งสมมานานในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ บุคคลนั้นๆ.. ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตสัตว์ทั้งหลายที่พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ

บูชาพระโอวาทปาติโมกข์ .. ณ เวฬุวันมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. กลับมาจาก งานมาฆบูชาโลก ที่เวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมกับติดเชื้อเป็นของแถม ด้วยมีไวรัสแพร่ระบาดในหมู่คณะที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสติดตามไปร่วมร้อยชีวิต

บนเส้นทางมหาปรินิพพาน “มัชฌิมาปฏิปทา สู่ อัปปมาทธรรม”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนา.. บนเส้นทางมหาปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจฉิมสมัย มีปรากฏร่องรอยธรรมที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง

มาฆบูชาโลก ณ เวฬุวันมหาวิหาร ชมพูทวีป (พ.ศ.๒๕๖๗)

เจริญพรศรัทธาสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาระหว่าง ๒๒-๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ได้เดินทางไปประกอบศาสนกิจอันสำคัญยิ่งในชมพูทวีป บนแผ่นดินเกิดพระพุทธศาสนา เนื่องใน วันมาฆบูชาโลก ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็น “วันมาฆบูชาปูรณมี”

สองสามีภรรยาใช้ชีวิตวัยเกษียณ ล้มสวนยางหันปลูกมะละกอ สร้างเงินนับแสนต่อเดือน

สองสามีภรรยาใช้ชีวิตวัยเกษียณด้วยการล้มสวนยางพาราเนื้อที่ 1 ไร่ครึ่ง หันมาปลูกมะละกอพันธุ์เรดเลดี้ 200 ต้น เพียง 7-8 เดือนก็เก็บขายสร้างรายได้นับแสนบาทต่อเดือน พร้อมขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มเพื่อให้เพียงพอกับตลาด

“มายาสาไถย..” ..ในสังคมปัจจุบัน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีประโยชน์ ๓ ระดับ ได้แก่