ย้ำรัฐทำตามแผน NAP

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการจัดเวทีเสวนาออนไลน์เรื่องการติดตามสถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน 2 ปี โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 65 คน ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายหลังจากที่ประเทศไทยประกาศรับหลักการการชี้แนะด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และได้ประกาศแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน หรือ NAP ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา

ศ.สุรยา เดวา ประธานคณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Working Group on Business and Human Rights) กล่าวว่า แผนปฏิบัติการว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน หรือ National Action Plan หรือ NAP นั้นเป็นการทำงานร่วมของคณะ Working Group ของสหประชาชาติ โดยรัฐบาลจำเป็นต้องมีความกระตือรือร้นการเตรียมความพร้อมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยากได้ยินว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยและการผลักดันแผน NAP เป็นไปอย่างไรบ้าง กระบวนการเตรียมความพร้อมของ NAP จำเป็นต้องมีการปรึกษาหารือและมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน เน้นกระบวนมากกว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ทั้งด้านสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ศ.สุรยากล่าวว่า ส่วนผลลัพธ์นั้นต้องมีข้อมูลทั้งในประเทศและนอกประเทศ ด้านบทบาทของภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิ์ ก็มีความสำคัญในการติดตามกระบวนการเตรียมการ และต้องมีผู้มีส่วนได้เสียที่มาจากหลายภาคส่วนร่วมกัน เราได้มีการแต่งตั้งคณะติดตามที่มีความอิสระ ทั้งนี้คณะทำงานฯ เชื่อว่าแผน NAP ไม่สมบูรณ์แบบแน่ๆ หลังจาก 2 ปี แต่รัฐบาลควรจะทบทวนแผนและเป็นโอกาสที่ดีในอนาคตว่าจะต้องทำอย่างไร และต้องใช้เวลาและมีขั้นตอนสำคัญ โดยจะต้องมีการปรึกษาหารือและมีส่วนร่วมจากทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ชุมชน และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อเปลี่ยนจากนโยบายบนกระดาษไปเป็นการปฏิบัติ

หลังจากนั้นมีตัวแทนจากชุมชนต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์ สถานการณ์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนสถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในรอบปี 2564 และเสนอแนะต่อทิศทางในอนาคต

นายภาคภูมิ แสวงคำ นายกสมาคมพราว (Proud Association) กล่าวว่า ความท้าทายด้านแรงงานข้ามชาติและการเคลื่อนย้ายช่วงการระบาดของโควิด ทำให้แรงงานข้ามชาติถูกจำกัดสิทธิ์มากกว่าปกติ ห้ามเดินทางและต้องมีชั่วโมงการทำงานทดแทนแรงงานที่ติดโควิดมากขึ้น การเข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐต่างๆ ทั้งการรักษาและการเข้าถึงการฉีดวัคซีน การคัดกรอง ซึ่งเป็นภาษาไทย

แม้ตอนนี้รัฐบาลผ่อนคลายให้กับแรงงานที่อยู่นอกระบบมากขึ้นแล้ว แต่ประเด็นปัญหาบางอย่างก็เป็นเรื่องความซับซ้อนมาก แม้รัฐบาลไทยจะผ่อนผันกฎหมายควบคุมการเข้าเมือง แต่ในความเป็นจริงคือยังมีการจับกุมและเรียกเก็บเงินเพื่อแลกกับการปล่อยตัว 

นางอินทา มะนุการ เลขาสมาพันธ์คนจันท์ต้านเหมืองทอง ตัวแทนจากประเด็นที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สถานการณ์โควิดส่งผลสะเทือนทั้งเรื่องเศรษฐกิจและสุขภาพมาก แต่กรณีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็กลายเป็นข้ออ้างในการควบคุมการเคลื่อนไหวของชุมชนในการคัดค้านโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งโครงการของเอกชนและรัฐ ซึ่งมีการใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ ทำให้ชาวบ้านบางพื้นที่ถือเป็นอุปสรรคสูงมาก

การลุกขึ้นใช้สิทธิของบุคคลก็ยังถูกคุกคามและดำเนินคดี ปัญหาการเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน การคัดลอกสำเนาเอกสารต้องมีค่าใช้จ่ายสูงหลักหมื่น เช่น กรณีผันน้ำยวม-น้ำโขง กลายเป็นภาระของผู้ได้รับผลกระทบต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด กระบวนการทำอีไอเอหรือเอสไอเอยังไม่เป็นอิสระ การพยายามแยกโครงการใหญ่ให้เป็นโครงการย่อย เจ้าหน้าที่รัฐและบริษัทยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคส่วนประชาชน

นายมุหัมหมัด ล่าเมาะ เลขาฯ กลุ่มรักษ์ถิ่นเกิด ตำบลคู อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กล่าวว่า แม้จะมีการประกาศแผน NAP มา 2 ปีแล้ว แต่นักปกป้องสิทธิ์ก็ยังได้รับผลกระทบมากทั้งการข่มขู่ รวมถึงการฟ้องปิดปากและฟ้องร้องดำเนินคดี การพยายามใช้กลไกไกล่เกลี่ย แต่ก็พยายามจะให้นักสิทธิมนุษยชนยอมรับในสิ่งที่ผิดหลักการการปกป้อง

ปัจจุบันสื่อมวลชนถูกดำเนินคดีฟ้องปิดปากเพิ่มขึ้น จุดเริ่มปัญหาทั้งหมดคือกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ไม่จริงจัง มาตรฐานการทำอีไอเอไม่เหมือนกัน จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่ถูกต้อง และเมื่อกระบวนการยุติธรรมเข้าสู่ชั้นศาลแล้ว ต้องมีการตรวจสอบและลงพื้นที่ให้เห็นปัญหารอบด้านจริง ไม่ควรดูดเอกสารอย่างเดียว

ขณะที่ น.ส.กรกนก วัฒนภูมิ สมาชิกเครือข่ายติดตามการลงทุนและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน (ETO-Watchs Coalition) กล่าวว่า พบปัญหาการเข้าถึงข้อมูลโครงการผู้พัฒนาโครงการต่างๆ ทั้งบริษัทและธนาคาร และกลไกการเยียวยาหากการลงทุนนั้นสร้างผลกระทบต่อชุมชนจะเป็นอย่างไร ยกตัวอย่าง กรณีการชาวบ้านที่พม่าฟ้องร้องบริษัทไทยที่ลงทุนในเหมืองของพม่า และชาวบ้านชนะคดีความ แต่ตามหาตัวบริษัทที่จะรับผิดชอบเยียวยาไม่ได้ แต่บริษัทนั้นกลับมาฟ้องปิดปากคดีนักข่าวในประเทศไทย และความรับผิดชอบของบริษัทไทย กรณีอีไอเอข้ามพรมแดน ยังเป็นข้อกังวลต่อมาตรฐานการตรวจสอบ.

สำนักข่าวชายขอบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า.. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะที่เข้าสู่วิกฤตการณ์โลกร้อน.. ด้วยภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติปกติ (Climate Change) อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษยชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้ถือโอกาสคิดทำโครงการนำพระคืนสู่ป่า.. เพื่อศึกษาวงจรธรรมชาติของชีวิตที่เนื่องกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีความสมดุล (Nature Cycle in Balance)

ลัทธิผีบุญ .. ภัยร้ายต่อพระศาสนา!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบันที่ยังเจริญเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ คือ การยึดถือคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระสัทธรรมดั้งเดิม...

คุณค่าแท้–คุณค่าเทียม ที่ชาวพุทธควรคำนึง..!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. คำว่า “วิกฤตศรัทธา” เริ่มมีการพูดถึงกันมากในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น ที่นำไปสู่ความสั่นคลอนในความเชื่อมั่น ที่เคยอบรมสั่งสมมานานในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ บุคคลนั้นๆ.. ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตสัตว์ทั้งหลายที่พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ

บูชาพระโอวาทปาติโมกข์ .. ณ เวฬุวันมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. กลับมาจาก งานมาฆบูชาโลก ที่เวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมกับติดเชื้อเป็นของแถม ด้วยมีไวรัสแพร่ระบาดในหมู่คณะที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสติดตามไปร่วมร้อยชีวิต