'จุฬา สุขมานพ' ขับเคลื่อน...อนาคตเริ่มแต่วันนี้

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ก่อรูปขึ้นช่วงเวลาที่ประเทศไทยเพิ่งหลุดจากหุบเหวความขัดแย้งที่ฝังอยู่ในสังคมไทยนานกว่าทศวรรษ! EEC ได้ประกาศยกเป็น “พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561” เริ่มดำเนินงานใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก-ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ในช่วงเวลาที่เพิ่งผ่านวิกฤตการณ์หมาดๆ จึงต้องสร้างการเปลี่ยนผ่าน-ปรับศักยภาพให้ทันโลกที่ความก้าวหน้ายุคใหม่ในคลื่นเทคโนโลยีและนวัตกรรมศตวรรษที่ 21-อุตสาหกรรม 4.0!

สภาพพื้นฐานสังคมช่วงปี 2562 ที่เริ่มบุกเบิกงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC นั้น สังคมเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย มีดัชนีชี้วัดบ่งบอกถึงความอ่อนล้าอย่างมาก อาทิ ดัชนีชี้ความสามารถในการแข่งขันกับดัชนีที่ชี้ประสิทธิภาพด้านดิจิทัล ประเทศไทยอยู่อันดับ 40 ของโลกทั้ง 2 ดัชนี ส่วนดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่อันดับที่ 67 ดัชนีด้านนวัตกรรมอยู่อันดับ 43 ดัชนีชี้ประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์อยู่อันดับ 32 เป็นต้น เรียกว่าโดยรวมต้องเร่งปรับฐานจัดการสร้างคุณภาพใหม่ให้มีศักยภาพ-สมรรถนะที่แข็งแกร่ง-มีความยั่งยืน-มีพลังที่จะรับมือความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในโลกยุค 4.0 ให้ได้!

การเปิดพื้นที่ปฏิบัติการยกระดับประเทศของ EEC หรือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะต้องปรับพื้นฐานกันใหม่ในเกือบทุกมิติ ดึงการลงทุนที่มีเทคโนโลยีใหม่มายกระดับขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต เร่งปรับสร้างการศึกษา-การพัฒนาคนมิติใหม่ มุ่งพัฒนาท้องถิ่นสู่โลกยุค 4.0 ฯลฯ การขับเคลื่อนประเทศของ EEC จึงมีคุณค่าความหมายยิ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมแกร่ง-ปรับสมรรถนะ-ศักยภาพของประเทศ ซึ่งก็ได้เดินหน้าไปพอควรนับจากที่ประกาศ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นต้นมา

วันนี้คลื่นใหม่ ดร.จุฬา สุขมานพ มานั่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก-สกพอ. หรือ EEC คนใหม่ ที่มุ่งขับเคลื่อน EEC ไปต่ออย่างมุ่งมั่น ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มองทะลุถึงบทบาทของ EEC ที่มีต่อผู้คน ท้องถิ่น ประเทศ ภูมิภาค และการปรับตัวแข่งขันกับโลกยุคใหม่ รวมทั้งการเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นความหวังของคนไทย-เป็นเป้าหมายของนักลงทุน-เป็นคลื่นความเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันโลกใบใหม่ให้กับผู้คนทั้งในประเทศและภูมิภาค

EEC เป็นโครงการที่มีขนาดของการพัฒนาใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ การพัฒนาคน ที่ต้องการการสะสมสร้างเทคโนโลยี-นวัตกรรมยุคใหม่ และเป็นฐานการพัฒนาคน-การศึกษา-และพื้นที่ยุคใหม่ ที่มีหมุดหมายยกระดับความก้าวหน้าให้ประเทศอย่างมีนัยสำคัญ การบริหารองค์กร EEC จึงต้องจัดปรับฐานองค์กรและบุคลากรให้เข้มข้น-เข้มแข็ง มีพลังและศักยภาพสร้างเสริมความแข็งแกร่งของ supply chain ให้ทุกอุตสาหกรรมเป้าหมาย ช่วยยกระดับผู้คน ท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และดูแลสิ่งแวดล้อมให้เกิดผลการพัฒนาโดยรวมที่ก้าวหน้ายั่งยืน

EEC...อนาคตเริ่มตั้งแต่วันนี้ “ดร.จุฬา” เริ่มขับเคลื่อนงานจากการประเมินทบทวนความเคลื่อนไหวของงานทุกนโยบายและแผนงานที่ผ่านมา เปิดสร้างการสื่อสารใหม่-Content ใหม่ ปลุกทุกภาคส่วนงานให้ตื่นตัว พร้อมกับเร่งสนับสนุนสร้างโอกาสในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มาแรง มุ่งปรับสร้างงานให้มีเป้าหมายชัด-มีพลัง จัดลำดับความสำคัญและปรับบุคลากรขับเคลื่อนงานส่วนต่างๆ ให้เป็นไปตามทิศทางตามเป้าหมายและประสิทธิภาพ

การขยับขับเคลื่อนงานโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมต่อทางถนนตามแผนงาน EEC คืบไปกว่าร้อยละ 80 รถไฟความเร็วสูงส่งมอบพื้นที่เกินร้อยละ 90 กำลังเร่งปรับงานร่วมกับเอกชน-เพื่อปักหมุดก่อสร้าง ส่วนสนามบินคืบหน้าตามลำดับ-ขยับเดินหน้าก่อสร้างตามแผนงาน เช่น กับท่าเรือ 3 แห่งที่คืบหน้าไปมากกว่าครึ่ง งานที่กำลังเร่งพัฒนาคือพื้นฐานการสื่อสาร 5G ที่ต้องเชื่อมต่อใน EEC และยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรในการบริหารท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตและการลงทุนไปในขณะเดียวกัน

กลุ่มงานการลงทุน วางเป้าหมายที่ 2.2 ล้านล้านบาท ต่อยอดจากที่ผ่านมาที่มีการลงทุนราว 1.9 ล้านล้านบาท คู่กับการเร่งผลิตบุคลากรรับความต้องการในการลงทุน มีการจัดปรับกลุ่มงานให้ร่วมกันรับผิดชอบสนองตอบงานและประสานสร้างสิ่งแวดล้อมการลงทุนและสิทธิประโยชน์ให้ตอบโจทย์การแข่งขันในการลงทุน ซึ่งมีอุตสาหกรรมใหม่ลงทุนราวร้อยละ 40 และต่อยอดยกระดับอุตสาหกรรมเดิมกว่าร้อยละ 30 นอกนั้นเป็นอุตสาหกรรมอื่นๆ

กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร การศึกษาและพื้นที่ ได้ประสานปรับแผนเร่งขับเคลื่อนให้มีความเคลื่อนไหวรับกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการปรับตัวสู่โลกดิจิทัล ยกระดับบุคลากรประสานตรงกับอุตสาหกรรมต่างๆ เร่งสร้างฐานเศรษฐกิจพื้นที่ผ่านการท่องเที่ยวและพัฒนาเมืองในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานและพัฒนาคุณภาพชีวิตท้องถิ่นให้ได้ยกระดับปรับตัวทันโลกที่เปลี่ยนไป

นี่คือการขยับปรับงานสร้างหมุดหมายในแบบ EEC…. Future is Now การขับเคลื่อนสร้างอนาคตวันนี้ของ เลขาธิการคนใหม่ EEC หรือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก “ดร.จุฬา สุขมานพ” ที่มากด้วยพลังความมุ่งมั่นที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับบ้านเมืองวันนี้.      

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า.. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะที่เข้าสู่วิกฤตการณ์โลกร้อน.. ด้วยภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติปกติ (Climate Change) อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษยชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้ถือโอกาสคิดทำโครงการนำพระคืนสู่ป่า.. เพื่อศึกษาวงจรธรรมชาติของชีวิตที่เนื่องกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีความสมดุล (Nature Cycle in Balance)

ลัทธิผีบุญ .. ภัยร้ายต่อพระศาสนา!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบันที่ยังเจริญเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ คือ การยึดถือคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระสัทธรรมดั้งเดิม...

คุณค่าแท้–คุณค่าเทียม ที่ชาวพุทธควรคำนึง..!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. คำว่า “วิกฤตศรัทธา” เริ่มมีการพูดถึงกันมากในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น ที่นำไปสู่ความสั่นคลอนในความเชื่อมั่น ที่เคยอบรมสั่งสมมานานในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ บุคคลนั้นๆ.. ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตสัตว์ทั้งหลายที่พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ

บูชาพระโอวาทปาติโมกข์ .. ณ เวฬุวันมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. กลับมาจาก งานมาฆบูชาโลก ที่เวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมกับติดเชื้อเป็นของแถม ด้วยมีไวรัสแพร่ระบาดในหมู่คณะที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสติดตามไปร่วมร้อยชีวิต