บทสรุปที่เห็นและเป็นอยู่ของการศึกษา-การพัฒนาคนที่ผ่านมานั้น จำเป็นต้องรื้อสร้าง-ปรับระบบการศึกษา-การสร้างคนให้ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงในคลื่นความรู้-การศึกษาสู่ฐานสมรรถนะใหม่ เพื่อหยุดความสูญเปล่าทางการศึกษาให้หมดไป! นี่คือฐานคิดในการสร้างบ้านแปงเมืองยุคใหม่!
สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การงาน และวิถีการดำรงชีวิตในโลกใบใหม่ที่เคลื่อนเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ส่งผลกระทบต่อสังคม-เศรษฐกิจ-ความก้าวหน้าใหม่ ที่เชื่อมการดำรงชีวิต-การงานเข้าสู่นวัตกรรม-เทคโนโลยีใหม่อย่างกลมกลืน ปรับโลกสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้การศึกษา-การพัฒนาคน-พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับฐานคิด-ทิศทางสร้างการเรียนรู้ใหม่!
ประสบการณ์บทเรียนจากสังคมตะวันตกและประชาคมโลกที่เผชิญกับความเปลี่ยนแปลง-ปรับตัวของสังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งสมรรถนะของผู้คนและการศึกษาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ถูกบันทึกเสนอไว้ในงาน “ทางรอดในโลกใบใหม่แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4” ที่คลาว์ด ชวาบส์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร World Economic Forum ที่เขียนร่วมกับ นิโคลัส เดวิด สะท้อนประสบการณ์ให้รู้ถึงความจำเป็นที่ต้องปรับฐานคิด-ปรับการศึกษา-ปรับการพัฒนาคนขึ้นใหม่ โดยที่บ้านเมืองเราก็กำลังปรับฐานยกระดับประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 และเปิดพื้นที่ “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” มุ่งดึงการลงทุนจากกลุ่มที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า-อุตสาหกรรม 4.0 มาขับเคลื่อนบ้านเมืองเชื่อมกับโลกใบใหม่อย่างมุ่งมั่น ซึ่งการปรับฐานการศึกษา-การสร้างคน-สร้างทรัพยากรมนุษย์ 4.0 เป็นภารกิจสำคัญคู่ไปกับการปรับโครงสร้างพื้นฐาน การดึงการลงทุน การยกระดับท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญ!
การพัฒนาบุคลากร-การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ (อีอีซี) เริ่มด้วยการทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม 4.0 และเป้าหมายที่วางไว้ในการลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยรวม ที่มีทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเก่าที่ต้องยกระดับ และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมระบบราง และอุตสาหกรรมอากาศยาน หุ่นยนต์ ดิจิทัล เป็นต้น ปัจจุบันเรามี 3 อุตสาหกรรมหลักที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่ารวมราวร้อยละ 50 ของจีดีพีประเทศ! ซึ่งวันนี้ต้องเร่งขยับปรับฐานพัฒนาให้ทันโลก 4.0 ซึ่งต้องการบุคลากรฐานสมรรถนะใหม่เพื่อยกระดับประเทศ ที่จำเป็นต้องจัดปรับการศึกษา-การฝึกอบรมคนให้ทันการรองรับการลงทุนและความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ปฏิบัติการครั้งนี้เริ่มจากการศึกษาสำรวจความต้องการบุคลากรใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วยเหตุว่าข้อมูลจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ หลายสถาบัน/หน่วยงานที่มีอยู่-ที่เคยศึกษาสำรวจกันนั้น มีตัวเลขต่างกันมาก จนไม่มีชุดข้อมูลไหนจะนำไปใช้เป็นเป้าหมายในการทำงานได้ ทั้งยังเป็นการสำรวจในกลุ่มงานแบบ Labor intensive ที่เป็นโหมดการผลิตยุคเก่า-เป็นโลกการผลิตและบริการยุค 2.0 ที่ไม่ใช่ 4.0!
ในการศึกษาสำรวจครั้งนี้ได้วางกรอบวิธีการศึกษาสำรวจแบบเฉพาะเจาะจง (Expert Consultation - Focus group) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในสนามงานจริง เพื่อสำรวจระดับงานและปริมาณความต้องการบุคลากรในงานแต่ละระดับ ที่เชื่อมอยู่ในห่วงโซ่การผลิตทั้งวงจรในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมกับนำไปคำนวณในแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์การผลิต โดยยึดจากฐานเป้าหมายการลงทุนที่กำหนดไว้ เพื่อหาจำนวนสรุปความต้องการบุคลากรในแต่ละอุตสาหกรรม-แต่ละระดับงาน ว่ามีความต้องการจำนวนเท่าไหร่-ที่เป็นไปตามเป้าหมายลงทุน? เพื่อนำไปวางเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรในการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก!
ผลจากการศึกษาความต้องการของบุคลากรใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย จากการศึกษาสำรวจตามกรอบที่วางไว้ได้จำนวนความต้องการบุคลากรรวม 475,668 คน ใน 10 อุตสาหกรรม แบ่งเป็นกลุ่มทักษะระดับอาชีวะร้อยละ 54 ที่เหลือเป็นกลุ่มสมรรถนะงานที่สูงกว่าอาชีวะ โดยมีอุตสาหกรรมที่ต้องการบุคลากรสูงสุดได้แก่อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,222 คน อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ 109,910 คน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 58,228 คน และอุตสาหกรรมยานยนต์ 53,738 คน เป็น 4 อุตสาหกรรมที่ต้องการคนมากที่สุด ผลการสำรวจได้นำเสนอรัฐบาล (โดย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น-เป็นผู้กำกับดูแล) และรัฐบาลได้ประกาศใช้ตัวเลขที่ศึกษาสำรวจนี้เป็นตัวเลขเป้าหมายของประเทศ
จำนวนความต้องการทั้งหมดถูกนำใช้เป็นฐานการปฏิบัติในการสร้างคน-ปรับการศึกษา ผ่านการจัดตั้งเครือข่ายสร้างความเข้าใจกับสถาบันการศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเคลื่อนงานสร้างคน-ปรับการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยหลังสถานการณ์โควิดมีการทบทวนจำนวนความต้องการบุคลากรใน 10 เป้าหมายอีกครั้ง โดยได้จำนวนความต้องการบุคลากรหลังจัดปรับรวมทั้งสิ้น 564,176 คน!
การกำหนดเป้าหมาย-ทิศทางก่อนปฏิบัติการปรับการศึกษา-สร้างคนฐานสมรรถนะใหม่ เป็นหมุดหมายที่ช่วยให้การทำงานไม่สะเปะสะปะ-ไม่ต้องมีบทเรียนล้มเหลวซ้ำซาก เช่น การศึกษา-การพัฒนาคนที่เกิดขึ้นตลอดมา! และช่วยกระตุ้นสถาบันการศึกษา-กลุ่มที่มีศักยภาพในงานการพัฒนาคนได้ตระหนักถึงอนาคต ที่ทำให้ตระหนักสร้างความเคลื่อนไหวที่มีทิศทางตรงตามความต้องการจริงไปในขณะเดียวกัน!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อภิสิทธิ์-อดีตนายกรัฐมนตรี มอง 'จุดเสี่ยง' รัฐบาลเพื่อไทย ระเบิดการเมือง วางไว้เองหลายลูก
แม้ขณะนี้จะไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่สำหรับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์" การแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นทางด้านการเมือง
ความเสื่อม.. ที่ควรเห็น.. ก่อนตาย!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีคำกล่าวเป็นสุภาษิต ว่า ความเสื่อมของมนุษย์ ล้วนมีสาเหตุมาจากมนุษย์.. ความเสื่อมของสิ่งใดๆ .. ก็มีสาเหตุมาจากสิ่งนั้นๆ..
รัฐบาลแพทองธาร อยู่ไม่ครบปี บิ๊กป้อม ยังสู้-พปชร.เดินหน้าต่อ
เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เศษ ปี 2567 ก็จะผ่านพ้นไปแล้วเพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2568 ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 เป็นอย่างไร และปีหน้า 2568 จะมีทิศทางเช่นไร เรื่องนี้มีมุมมองแนววิเคราะห์จาก
ประมาทไม่ได้เลย คือ จิตของเรา!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีพระภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า..
คานถล่ม ผู้บริสุทธิ์จบชีวิต 6 ราย กับ สำนึกของนักการเมืองไทย!
เช้าตรู่วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เกิดโศกนาฏกรรมคานเหล็กยักษ์ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทางยกระดับถนนพระราม 2 ถล่ม คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวน 6 ราย
ศึกเลือกตั้ง อบจ. 1 ก.พ. 68 Generation War พท.-ปชน. บารมีบ้านใหญ่ ขลังหรือเสื่อม?
การเมืองท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง "นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด" (นายก อบจ.) ซึ่งที่ผ่านมามีการเลือกตั้งกันไปหลายจังหวัด ได้รับความสนใจจากแวดวงการเมืองอย่างมาก