การศึกษาไทยต้องเสริมพลัง เชื่อมประสานให้เกิดศักยภาพใหม่

เมื่อย้อนกลับไปดูโลกใบเก่าและมองไปข้างหน้าถึงเรื่องทักษะ-ความรู้ของโลกศตวรรษที่ 21 จะพบว่าการพัฒนาบุคลากรและการศึกษานั้นเป็นหัวใจสำคัญต่อการปรับสร้างความก้าวหน้าใหม่! เป็นต้นทุนสำคัญที่นำสู่การสร้างสังคม-คุณภาพชีวิต-และเศรษฐกิจใหม่! หากการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาขาดทักษะความรู้ในการปรับตัวที่จะตอบโจทย์สำคัญนี้ ก็ไม่อาจนำพาประเทศรอดได้ อำนาจการสั่งการแบบรัฐราชการและความสัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์ รวมทั้งความหลงตัวเองของสถาบันการศึกษา-อาจารย์ ฯลฯ ล้วนไม่อาจช่วยอะไรได้เลย!

การปิดตัวเองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา-การพัฒนาบุคลากร ที่อบบ่มอยู่ในโลกเฉพาะของตัวเอง-วิทยาการความรู้ของตัวเองและสถาบัน ที่พอกพูนความหลงเงาอำนาจและอัตตานั้นเป็นความน่าสงสารเหลวไหลไร้สาระอย่างเหลือเชื่อสำหรับโลกยุคใหม่ เพราะภูมิทัศน์ (landscape) ของโลกวันนี้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว!!!

สังคมพบความจริงว่า “ภูมิทัศน์ใหม่” ในการพัฒนาบุคลากรและการจัดการศึกษาได้เปลี่ยนไปจากแต่ก่อนเกือบจะสิ้นเชิง! เรียกว่าทั้งกระบวนทัศน์-กระบวนระบบในการศึกษา-การพัฒนาคนนั้น เปลี่ยนไปลึกถึงรากเหง้าตั้งแต่วิชาแกน-จนถึงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้! ดังนั้นกระบวนการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาต้องปรับสร้างแก่นแกนขึ้นใหม่ ให้สอดรับกับการพัฒนาทักษะชีวิต-การทำงานใหม่ ที่เป็นการเรียนรู้-นวัตกรรม-และทักษะของระบบสารสนเทศวันนี้ ที่เทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในโลกของการงานใหม่

แนวคิดสำคัญในการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรศตวรรษที่ 21 คือการปรับสร้างทุกระดับ ตั้งแต่วิชาแกนไปจนถึงกระบวนวิชาการแวดล้อมและประสบการณ์ ที่ต้องมีนัยส่งเสริมสนับสนุนการปรับตัว-การเรียนรู้ยุคใหม่ในแบบ Digital literacy ซึ่งหมายถึง หลักสูตรการเรียน-การสอน มาตรฐานและการประเมิน การพัฒนาทางวิชาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งระบบ ต้องปรับจากโลกเก่าสู่โลกใหม่ที่มีศักยภาพชัดในการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเชื่อมสู่ความก้าวหน้าใหม่ ในโลกแวดล้อม-ระบบนิเวศ-และภูมิทัศน์ใหม่ ที่มีทิศทางตอบสนองกระแสเศรษฐกิจใหม่ที่เชื่อมกับภาคอุตสาหกรรม-วิชาชีพใหม่ ตามแรงขับของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งการปรับสร้างสู่โลกใหม่นี้มีสภาวะเหมือน การเปลี่ยนสัญญาประชาคม (Social contract) ที่ต้องปรับประสานให้การพัฒนาบุคลากรและการศึกษาเป็นหนึ่งเดียวกับการงานและการพัฒนาความก้าวหน้าใหม่ ในระบบนิเวศที่เปลี่ยนไปของการศึกษาระบบเปิด ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ใหม่ได้อย่างไร้พรมแดนและกาลเวลา!

เคน เคย์ นักคิด-นักเขียนอเมริกัน ประธานภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ผู้สร้างประสบการณ์ในสัมพันธภาพความร่วมมือใหม่ในศตวรรษที่ 21 ได้ชี้ว่า โลกใหม่ของการศึกษาและการสร้างทักษะนั้นจำเป็นยิ่งที่ต้องปรับสร้างความร่วมมือใหม่ขึ้นระหว่าง ชุมชนการศึกษา-ธุรกิจ-การจัดการนโยบาย! เพื่อปรับสร้างความสามารถในการแข่งขันของอเมริกาขึ้นใหม่ และผลักดันให้บรรจุเรื่องของทักษะแห่งอนาคตเข้ากับระบบการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กทุกคน โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดการกับปัญหาสำคัญ 3 ข้อ คือ สร้างแนวทางการปรับกรอบความคิดที่เป็นความจำเป็นในการเรียนรู้สู่อนาคต หนึ่ง จัดทำการศึกษาและพัฒนาทักษะที่สำคัญในโลกใบใหม่ หนึ่ง วางกระบวนการทางปฏิบัติที่ทำให้สถาบันการศึกษาบรรลุการสร้างทักษะของศตวรรษที่ 21 อีกหนึ่ง ทั้ง 3 ประการนี้จะเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในฐานของความรับผิดชอบร่วมในการพัฒนาบุคลากรและการศึกษายุคใหม่!

กรณีนี้หากพิจารณาประสบการณ์จากปฏิบัติการในการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา ของคณะทำงาน EEC HDC ที่เกิดจากปฏิบัติการ 3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า งานของ EEC HDC มีทิศทางความเคลื่อนไหวคล้ายกับที่ เคน เคย์ เสนอต่อรัฐบาลอเมริกา จากการปรับสร้างการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาของ EEC HDC ได้รับผลที่ดีและก้าวหน้าตลอดช่วงการทำงานที่ผ่านมานั้น เกิดจากการสร้างความร่วมมือในการประสาน 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันคือ ภาคนโยบาย สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม  องค์ประกอบ 3 ภาคส่วนนี้ก่อให้เกิดความร่วมมือ-ปรับทิศทางร่วมเรียนรู้-สร้างความก้าวหน้าใหม่ทางปฏิบัติขึ้น ปรับทิศทางการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาใหม่ จากที่เคยใช้ครู-สถาบันการศึกษาเป็นแกนหรือใช้นโยบายเป็นแกน ได้มีการจัดปรับให้การจัดการศึกษาและพัฒนาบุคลากรตอบโจทย์ทักษะยุคใหม่ที่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคส่วนที่ต้องการบุคลากรเป็นแกนร่วมขับเคลื่อน ร่วมปรับสร้างความก้าวหน้าและภูมิทัศน์ใหม่ให้เกิดขึ้นจนสร้างผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการและความก้าวหน้าใหม่ขึ้นในพื้นที่ EEC! 

ในโลกที่เป็นจริง ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคส่วนที่ประสบการณ์สูง-เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าจริงจากการแข่งขันในระบบตลาด ที่ต้องปรับตัว-ปรับเทคโนโลยี-ปรับมาตรฐานการผลิต-บริการตลอดเวลา และเป็นแกนหลักสร้างเศรษฐกิจ-ความก้าวหน้าให้ประเทศ! การประสานการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาที่เชื่อมโยง สถาบันการศึกษา-ภาคส่วนนโยบาย-ภาคอุตสาหกรรม เข้ากันนั้นเป็นมรรควิธีในการจัดการสำคัญที่ช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่ได้ดีที่สุด-เร็วที่สุด-ประหยัดที่สุด!!!

ความก้าวหน้าใหม่มีสภาวะการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเร็ว-ประสิทธิภาพสูง มุ่งสู่แพลตฟอร์มเศรษฐกิจดิจิทัลที่มุ่งลดต้นทุน-เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-เข้าถึงทุกพื้นที่/ทุกกลุ่มคน และเปิดพื้นที่การพัฒนาอย่างไร้ขอบเขต จากเทคโนโลยียุคใหม่-การเติบโตของปัญญาประดิษฐ์-และระบบไอทีที่ทรงพลัง ทักษะในโลกศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจ-เท่าทันการเปลี่ยนแปลง! หากยังตกวนอยู่กับปัญหาเก่าๆ เดิมๆ ไม่ลืมหูลืมตา ความพินาศของการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาก็จะเกิดขึ้นแน่!.

โลกใบใหม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า.. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะที่เข้าสู่วิกฤตการณ์โลกร้อน.. ด้วยภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติปกติ (Climate Change) อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษยชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้ถือโอกาสคิดทำโครงการนำพระคืนสู่ป่า.. เพื่อศึกษาวงจรธรรมชาติของชีวิตที่เนื่องกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีความสมดุล (Nature Cycle in Balance)

ลัทธิผีบุญ .. ภัยร้ายต่อพระศาสนา!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบันที่ยังเจริญเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ คือ การยึดถือคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระสัทธรรมดั้งเดิม...

คุณค่าแท้–คุณค่าเทียม ที่ชาวพุทธควรคำนึง..!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. คำว่า “วิกฤตศรัทธา” เริ่มมีการพูดถึงกันมากในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น ที่นำไปสู่ความสั่นคลอนในความเชื่อมั่น ที่เคยอบรมสั่งสมมานานในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ บุคคลนั้นๆ.. ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตสัตว์ทั้งหลายที่พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ

บูชาพระโอวาทปาติโมกข์ .. ณ เวฬุวันมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. กลับมาจาก งานมาฆบูชาโลก ที่เวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมกับติดเชื้อเป็นของแถม ด้วยมีไวรัสแพร่ระบาดในหมู่คณะที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสติดตามไปร่วมร้อยชีวิต