๑๔ ตุลาฯ ที่เกิดขึ้นก่อน ๑๔ ตุลาฯ (ตอนที่ ๑๖)

 

 

ตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงข้อความบางตอนในเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมที่กล่าวพาดพิงถึงกลุ่มคนในสังคมไทยว่าเป็น “พวกหนักโลก” โดยหลวงประดิษฐ์ฯได้วงเล็บภาษาอังกฤษ (อันที่จริงคือ ภาษาฝรั่งเศส)  ไว้ว่า “social parasites”  และผู้เขียนได้ย้อนความเป็นมาของคำว่า parasite ว่ามาจากภาษากรีกโบราณ parasitos  ซึ่งยังไม่ได้มีความหมายดังที่ใช้ในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบัน แต่หมายถึง พวกที่อาศัยกินของคนอื่นหรือหากินจากการเอาเปรียบผู้อื่น โดยความตรงตัวของคำๆนี้คือ  para แปลว่า “อยู่ข้างๆ” ส่วนคำว่า sitos แปลว่า “ข้าวสาลีหรืออาหาร”  ดังนั้น คำว่า parasitos ในภาษากรีกโบราณจึงหมายถึง “คนที่กินอาหารบนโต๊ะของคนอื่น”

parasios  ถือเป็นหนึ่งวาทกรรมทางการเมืองในสังคมเอเธนส์ โดยส่วนใหญ่ คนที่มักถูกเรียกว่าเป็น parasitos คือ พวกคนจนที่ไม่สามารถแม้กระทั่งจะหาอาหารยังชีพได้ด้วยตัวเอง จากความจำเป็นในชีวิต ทำให้คนเหล่านี้จะเที่ยวไปโผล่ตัวตามบ้านหรือตามงานที่มีการเลี้ยงอาหารโดยไม่ได้รับเชิญ  หรือบางคนอาจได้รับการเชิญหรือเรียกให้มาร่วมงาน แต่ก็ต้องมาสร้างความบันเทิงให้กับเจ้าบ้านหรือผู้จัดงาน ความบันเทิงในที่นี้ได้แก่ มารับใช้ในงานแย่ๆ หรือมาให้ล้อเลียนสับโขกเป็นตัวตลก เป็นต้น [1]

ในแง่นี้ จะเห็นได้ว่า ความหมายของคำว่า parasitos ในบริบทกรีกโบราณของสังคมเอเธนส์ถูกสร้างขึ้นจากมุมมองของพวกกลุ่มอภิชนชนชั้นสูง เอาไว้เรียกคนจนชนชั้นล่างที่ต้องเที่ยวเร่ขออาหารกินตามบ้านคนมีฐานะ ขณะเดียวกัน คำดังกล่าวนี้ยังมีความหมายอีกแง่หนึ่ง ที่ไม่ได้หมายถึงสถานะทางเศรษฐกิจสังคมของคนเท่ากับลักษณะนิสัยใจคอของคนๆนั้นมากกว่า  นั่นคือ ไม่ได้เกี่ยวกับความยากจนอดอยากหิวโหย ต้องการอาหารปะทังชีวิต แต่หมายถึงคนที่เห็นแก่กิน เห็นแก่ดื่ม ที่กินดื่มเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ รวมทั้งเรื่องทางเพศที่เสพย์เท่าไรก็ไม่รู้จักพอด้วย แต่เป็นคนประเภทที่จะยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่เขาต้องการมาเสพย์อย่างไม่กลัวอายและไม่กลัวเสียศักดิ์ศรี ในขณะที่คนยากจนยอมที่จะเป็นคนไร้ยางอายและไม่มีศักดิ์ศรีเพื่อต้องการอาหารมาเพียงเพื่อปะทังชีวิต และคนพวกนี้มีชีวิตอยู่เพื่อเสพย์ เพื่อตอบสนองความใคร่อยากโดยยอมทำอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองตัณหาของตน  ยกเว้นการทำงาน เพราะคนแบบนี้จะเป็นคนเกียจคร้าน [2] 

ต่างจากคนจนที่ไม่มีงาน ไม่มีจะกิน จึงยอมทำอะไรทุกอย่างเพื่อให้มีกิน  แต่คนอีกพวกหนึ่งเป็นคนที่ย้อนแย้ง นั่นคือ อยากมาก ยอมทำอะไรก็ได้ ยกเว้นทำงาน เพราะชอบกินฟรีเสพย์แบบฟรี

แต่กระนั้น คนที่เป็น parasitos แนวนี้ กลับคิดว่าการที่ตัวเองเป็น parasitos นั้น ถือาว่าตัวเองทำงาน ! และเป็นงานที่ต้องมีทักษะฝีมือด้วย มิฉะนั้นจะไม่สามารถอยู่ได้ อยู่เป็น กินฟรีได้ [3] 

และที่น่าสังเกตคือ คนพวกนี้ยอมทำตัวอยู่ใต้คนอื่นเพื่อหวังจะได้อะไรมา โดยตัวเองไม่ยอมลงแรงทำงานเหมือนคนปกติทั่วไป คนเหล่านี้จึงดูเหมือนทาสในสายตาของคนในสังคมกรีกโบราณที่มีทาส เพราะทาสคือคนที่อยู่ใต้คนอื่น ไม่มีอิสรภาพ แต่พวก parasitos นี้ไม่ใช่ทาส แต่เป็นพลเมืองที่ทำตัวเยี่ยงทาส [4] 

จะเห็นได้ว่า กำเนิดของคำว่า parasite  มีนัยยะสองความหมาย อย่างแรก หมายถึง คนยากจนที่ไม่มีอะไรจะกิน จึงเที่ยวตระเวนไปตามที่ต่างๆเพื่อหวังจะได้อาหารมาปะทังชีวิต ความจำเป็นในชีวิตทำให้เขาละความอายและศักดิ์ศรีอย่างที่สอง หมายถึงคนที่เต็มไปด้วยความอยากความใคร่ ซึ่งอาจจะจนหรือไม่จนก็ได้ มีหรือไม่มีงานทำก็ได้ แต่แม้นว่ามี ก็ไม่ชอบทำ แต่ยอมทำอะไรอื่นๆเพื่อสนองความอยากที่ไม่เคยพอของตน คนพวกนี้มักจะยอมอยู่ใต้คนอื่น หรือยอมมีนายเพื่อให้นายอุปถัมภ์เลี้ยงดู

ต่อมาในต้นศตวรรษที่ยี่สิบ เมื่อนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส มูริส คูรี (Maurice Caullery) ค้นพบ “ อาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหาร และบางครั้งทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต เช่น การอาศัยอยู่สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำในร่างกายมนุษย์ ตัวอย่าง พยาธิ”  เขาก็นำคำว่า parasite มาตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตชนิดนี้  และที่น่าสนใจคือ มีการตีพิมพ์หนังสือข้อค้นพบของเขาในปี ค.ศ. 1922 ซึ่งเป็นช่วงที่หลวงประดิษฐ์ฯไปศึกษาต่อ ณ ประเทศฝรั่งเศส (ระหว่าง ค.ศ. 1920-1927)

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่มูริส คูรี จะค้นพบสิ่งมีชีวิตที่เขาตั้งชื่อว่า parasite ในต้นศตวรรษที่ยี่สิบ กระแสการใช้คำว่า parasite ก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะการใช้คำว่า social parasite เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส แต่นับว่ายังน้อยมาก แต่กระแสการใช้คำนี้เริ่มไต่ขึ้นในปี ค.ศ. 1864 จะโผล่พรวดขึ้นสูงสุดในช่วง ค.ศ. 1872  และมาขึ้นสูงอีกทีในปี ค.ศ. 1912 (ดูภาพกราฟที่ 1)  

ภาพกราฟที่ 1 กระแส social parasite

ส่วนกระแสคำว่า parasite เริ่มไต่ขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1848 และทะยานขึ้นเรื่อยๆจนสูงสุดปี ค.ศ. 1911 (ดูภาพกราฟที่ 2)

ภาพกราฟที่ 2 กระแส parasite

ก่อนที่กระแสคำ social parasite และ parasite จะขึ้นสูงในปี ค.ศ. 1872 และ ค.ศ. 1911-1912  มีนักคิดสองคนที่มีข้อเขียนในราวระหว่าง ค.ศ. 1842-1895 และในข้อเขียนของนักคิดทั้งสอง จะมีการใช้คำว่า parasite หรือที่เกี่ยวข้องกับ parasite เป็นจำนวนมาก โดดเด่นกว่าข้อเขียนของนักคิดอื่นๆ ถ้าไม่นับข้อเขียนในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

นักคิดทั้งสองนี้คือใคร ? และความคิดของพวกเขามีความเกี่ยวข้องกับสาระสำคัญในเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ฯหรือไม่ ? โปรดติดตามตอนต่อไป

_________________________________________

[1] Sean Corner, “The Politics of the Parasite (Part One),” Phoenix , Vol. 67, No. 1/2 (Spring-Summer/printemps-été 2013), pp. 51-52.

[2] Sean Corner, “The Politics of the Parasite (Part One),” Phoenix , Vol. 67, No. 1/2 (Spring-Summer/printemps-été 2013), p. 52.

[3] Sean Corner, “The Politics of the Parasite (Part One),” Phoenix , Vol. 67, No. 1/2 (Spring-Summer/printemps-été 2013), p. 52.

[4] Sean Corner, “The Politics of the Parasite (Part One),” Phoenix , Vol. 67, No. 1/2 (Spring-Summer/printemps-été 2013), p. 45; Sean Corner, “The Politics of the Parasite (Part Two),” Phoenix, Vol. 67, No. 3/4 (Fall-Winter/automne-hiver 2013), p. 224n77.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 20: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 7)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 19: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 6)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 18: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 5)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490