มองเทรนด์บันเทิงไทย-จีน

ในยุคที่ผู้คนมีการใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย ทำให้การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ทำได้ง่าย ผู้ใช้งานในแต่ละประเทศสามารถเรียนรู้และรับข่าวสารต่างๆ จากทั่วโลก โดยเฉพาะการรับชมละครและซีรีส์ของต่างประเทศ อย่างในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่ามูลค่าการนำเข้าและส่งออกละครและซีรีส์ระหว่างไทยและจีน ข้อมูลของ Century UU Technology Co., Ltd. ระบุว่า ในปี 2564-2565 ได้มีการส่งออกละครไทยไปจีนกว่า 9 เรื่อง คิดเป็น 280 ชม. มูลค่ากว่า 115 ล้านบาท และละครจีนนำเข้าไทยกว่า 12 เรื่อง คิดเป็น 400 ชั่วโมง มูลค่ากว่า 72 ล้านบาท

สำหรับ พฤติกรรมการรับชมคอนเทนต์ของคนจีนกับไทยนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก โดยส่วนใหญ่จะเน้นที่นักแสดงเป็นหลัก

หลังจากนั้นจะเป็นในเรื่องของบทละครที่มีเนื้อหาน่าสนใจและถูกใจกลุ่มผู้ชม คอนเทนต์ละครและซีรีส์ที่เป็นที่นิยมของผู้ชมชาวไทยและชาวจีนนั้นส่วนมากจะเป็นแนวโรแมนติกดรามา และโรแมนติกคอมิดี เพราะทั้งสองแนวนั้นจะมีบริบทเนื้อหาที่เข้าใจง่ายและน่าติดตาม

เหยน เฉิงเซิ่ง อธิบดีกรมการต่างประเทศ สำนักงานวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติจีน ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้แพร่หลายเป็นวงกว้าง เปิดโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกได้เข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต ได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี ส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกมีพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผู้คนส่วนใหญ่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โทรศัพท์มือถือเป็นของส่วนตัว ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อไว้ใช้ทำงาน ติดต่อสื่อสาร อำนวยความสะดวกหรือประโยชน์อย่างอื่น หรือแม้กระทั่งการใช้เวลาว่างในการหาความบันเทิงทางด้านภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์

ด้าน สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการสายธุรกิจโทรทัศน์ บมจ.บีอีซี เวิลด์ ระบุว่า บริษัทมีการจัดทำละครมาทุกรูปแบบเพื่อตอบสนองความนิยมของคนไทยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีและพื้นฐานการรับชมเปลี่ยนไป ความเป็นสากลที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เรามีผู้ชมจากหลายประเทศ ซึ่งจีนเป็นหนึ่งในนั้นและเป็นผู้ชมส่วนใหญ่ของช่อง 3 ทำให้แนวโน้มการทำงานของเราเปลี่ยนแปลงในทิศทางการทำละครที่ตอบโจทย์คนดูในประเทศจีนมากขึ้น ที่มากกว่านั้นคือ ในระยะต่อไปอาจจะร่วมมือกับประเทศจีน และหยิบรสนิยมของคนไทย-คนจีนที่คล้ายกันมาศึกษา ใช้กับการเล่าเรื่อง ออกแบบฉาก วางแนวทางการทำละครให้มีคุณภาพ เพื่อตอบรับความต้องการทั้งในตลาดไทยและจีนอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมของประเทศไทยและจีน หรือประเทศต่างๆ ในเอเชียมีบางส่วนคล้ายคลึงกัน ในขณะเดียวกันผู้ผลิตก็ต้องศึกษากฎระเบียบ หรือมีการเซ็นเซอร์เนื้อหาให้เหมาะสมกับบริบทในประเทศนั้นๆ โดยในส่วนของเนื้อหาแน่นอนว่าก็ต้องมีการคัดเลือกเป็นอย่างดีเช่นกัน ยกตัวอย่างละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ที่เป็นกระแสยอดฮิตอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ก็นับว่าเป็นบทพิสูจน์อย่างหนึ่งว่าสามารถสอดแทรกวัฒนธรรมไปในละครได้ แสดงถึงความแข็งแรงด้าน Soft Power ที่ครอบคลุมเรื่องการแต่งกาย อาหารไทย การท่องเที่ยว ผ่านตัวบทละครที่ดีและการสร้างสรรค์บนความตั้งใจเพื่อให้งานออกมามีคุณภาพ และสามารถสร้างกระแส สร้างเรตติ้งได้สูง แสดงให้เห็นว่าแม้จะมีปัจจัยด้านดิจิทัลเข้ามาแต่หากมีเนื้อหาคอนเทนต์ที่คนดูชอบ แน่นอนว่าผู้ชมก็ยังเลือกที่จะรับชมรายการหรือคอนเทนต์ที่ตัวเองโปรดปรานผ่านการดูทีวีอยู่

ส่วนในแง่ของวิชาการ ในเรื่องนี้ ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า สมัยก่อนเราสอนบุคลากรด้านสื่อโดยนึกถึงเฉพาะการทำงานสเกลในประเทศไทยทั้งสิ้น แต่ทุกวันนี้ที่เราต่างมีละครชมผ่านแพลตฟอร์ม สตรีมมิงต่างๆ ที่ผู้ชมมีจำนวนมากขึ้น และไม่ใช่เฉพาะผู้ชมในประเทศอย่างเดียว มีจำนวนผู้ชมนับรวมไปถึงต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ชมชาวจีนที่ชื่นชอบละครไทยอย่างมาก มันจึงเป็นโอกาสใหม่ๆ ที่เราต้องพัฒนาการสอนหรือฝึกการทำงาน โดยต้องคิดไปถึงสเกลที่ใหญ่กว่าผู้ชมในประเทศ หรือด้านการศึกษาวิจัยต่างๆ ก็ต้องคำนึงถึงตลาดโลก และนี่ก็เป็นโอกาสที่ดีในภายภาคหน้าที่เราจะได้เห็นความร่วมมือระหว่างไทยและจีน ศึกษาผู้บริโภคของทั้งสองประเทศร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์งานที่ดีต่อไปในอนาคต

มาดูอีกหนึ่งความเห็นปิดท้ายกันจากนายตฤนธัฬห์ ดนพ ผู้กำกับซีรีส์และภาพยนตร์ ภายใต้บริษัท จินเล่อ มีเดีย เวิร์ค จำกัด กล่าวว่า วิสัยทัศน์หลักขององค์กรคือการเปิดโลกที่ไร้พรมแดน ซึ่งมีความคล้ายกับวัฒนธรรมบนออนไลน์แทบจะทุกประเทศ ที่มักมีเทรนด์ มีกระแส มีการทำตามกัน หรือมีการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นรวดเร็วในสื่อใหม่ๆ ซึ่งสิ่งนี้กลายเป็นเรื่องที่ดีสำหรับ New Media ที่หากเราต้องการทำละครสักเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่แค่ว่าเราจะคิดถึงคนดูเฉพาะในประเทศไทยหรือจีนได้อย่างเดียว อาจต้องมองถึงคนดูทั่วโลกด้วยซ้ำ รวมทั้งอาจต้องดูในแง่ของเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น สมัยก่อนละครจีนในไทยส่วนใหญ่เป็นเรื่องกำลังภายในหรือราชสำนัก แต่ปัจจุบันจะเห็นแฟนซีรีส์เนื้อหาวัยรุ่นมากขึ้น เพราะถ้าจับกระแสได้อย่างหนึ่งจะทำได้ทั้งสร้างกระแส เป็นผู้นำกระแส หรือเอากระแสที่มีอยู่เดิมมาใช้ได้ และสามารถสร้างละครที่เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลกได้เช่นกัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว