ดิจิทัลวอลเล็ตเอาเงินมาจากไหน

ยังต้องจับตาเป็นพิเศษ สำหรับโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทของพรรคเพื่อไทย ซึ่งหลายฝ่ายมีความกังวล โดยเฉพาะเรื่องของแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการกว่า 5.6 แสนล้านบาท

คำถามคือ รัฐบาลจะเอาเงินจากไหนมาใช้รันโครงการอภิมหาประชานิยมแบบนี้ จนนำไปสู่การถกเถียง โดยเฉพาะเมื่อมองไปยังงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด หากไม่ใช้วิธีกู้เงินเพิ่ม ซึ่งต่อมามีข้อเสนอแนะมากมายจากกูรูหลายด้าน

อย่างล่าสุดที่อดีต กกต. สมชัย ศรีสุทธิยากร ออกมาโพสต์ถึงการหาแหล่งเงินที่จะมาใช้ในโครงการนี้ โดยระบุว่า หากรัฐจะหาเงินมาใช้โดยไม่ต้องกู้ สามารถใช้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการตัดงบรายการประจำทุกหน่วยงาน across the board (ทุกกระทรวง) ประมาณร้อยละ 15-17 ก็น่าจะมีเงินมาแจกชาวบ้านได้ทันในเดือน ก.พ.2567

แต่ก็มีการตั้งคำถามตัวโตๆ ว่า แต่ละกระทรวงเขาจะว่าอย่างไร ยอมให้ตัดรายจ่ายประจำลงขนาดนี้หรือไม่พิสูจน์ความสามารถของ รมต.แต่ละกระทรวงแล้ว จะกล้าทุบไหม

พร้อมทั้งสำทับ หากทำได้จริงเท่ากับรัฐบาลเพื่อไทยทำให้ราชการทำงานมีประสิทธิภาพ เพราะลดงบประมาณร้อยละ 15-17 แล้วยังสามารถทำงานได้เท่าเดิม

นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า ในเชิงการเมือง พรรคเพื่อไทยจะกล้าหั่นงบประจำของกระทรวงที่ตัวเองดูแลได้มากแค่ไหน และที่สำคัญจะกล้าไปหั่นงบกระทรวงที่เป็นโควตาของพรรคร่วมแค่ไหน

งานนี้ต้องจับตาดูกัน..ในช่วงของการจัดทำงบ 67 ปีนี้

อย่างไรก็ดี แนวทางของนายสมชัยก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ทางด้าน นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังก็มีทางออกที่แตกต่างออกไป โดยระบุว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องออกพระราชกำหนด หรือ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม ซึ่งหากพิจารณาในส่วนของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 28 ยังพอมีหลายช่องทางที่จะนำงบประมาณออกมาใช้ได้ โดยวงเงินปี 66 ยังเหลืออยู่ประมาณ 18,000 ล้านบาท เมื่อสิ้นปีงบประมาณแล้วจะมีตั้งงบใช้คืน 100,000 ล้านบาท สำหรับงบประมาณในปี 67 ต้องดูอีกครั้งว่าวงเงินเหลืออยู่เท่าไร ด้วยการเกลี่ยจากงบหลายส่วนที่ยังพอนำมาใช้รองรับเงินดิจิทัล

ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด หรือ ASPS ระบุว่า แหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินนโยบายอาจมาจาก 3 ส่วน ได้แก่ 1.การจัดสรรงบประมาณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า แหล่งเงินน่าจะมาจากรายรับจากภาษีของรัฐบาลในปี 2567 การบริหารจัดการงบประมาณ และปรับสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน 2 แสนล้านบาท การจัดเก็บภาษีที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 1 แสนล้านบาท

2.การกู้เงินโดยประเทศไทยมีหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 61.15% ซึ่งจะกู้เพิ่มได้อีก 1.58 ล้านล้านบาท โดยหลักการแล้วไม่ควรกู้จนเต็มเพดานหนี้ 3.กระทรวงการคลังอาจจัดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนในกองทุนวายุภักษ์ให้ กบข.-ประกันสังคมฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าสามารถทำได้ ขณะที่กองทุนวายุภักษ์เป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ มีมูลค่าพอร์ตอยู่ที่ 3.47 แสนล้านบาท รองรับเงินที่ใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายได้พอสมควร

เห็นได้ชัดว่า ในขณะนี้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยยังพอมีออปชันในการเลือกหาแหล่งเงินมาใช้ในโครงการนี้พอสมควร แต่สุดท้ายแล้วจะเลือกแนวทางไหนคงต้องติดตามกันต่อไป

 และประชาชนทุกคนจะต้องช่วยกันติดตามด้วยว่า โครงการนี้จะตอบโจทย์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างที่คาดหวังแค่ไหน และมีช่องโหว่ในการคอร์รัปชันหรือไม่ เพราะนี่คือเงินภาษีก้อนมหาศาล ที่อาจจะชี้ชะตาประเทศในอนาคตก็เป็นไปได้.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท