ผลกระทบจากสงครามอิสราเอล

แว่บเดียว สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์ ก็ผ่านมาครบ 1 เดือนแล้ว หลังจากเกิดการปะทะกันตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นจากที่กลุ่มฮามาสได้เปิดฉากโจมตีบนแผ่นดินอิสราเอล จนทำให้กองกำลังป้องกันอิสราเอล (Israel Defense Forces หรือ IDF) ได้มีการตอบโต้อย่างหนักหน่วง

ล่าสุดมีการสรุปมาว่า มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้แล้วไม่ต่ำกว่า 11,400 ราย นับเป็นการสูญเสียในเรื่องของชีวิตและทรัพย์สินที่ประเมินค่าไม่ได้   

แต่สำหรับมุมมองทางเศรษฐกิจแล้ว ทางสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ได้ทำการประเมินหลังครบรอบ 1 เดือนของสงครามในครั้งนี้ ซึ่งพบว่าผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยนั้นเกิดขึ้นค่อนข้างจำกัด หากกรณีที่สงครามไม่ขยายวงหรือไม่ยกระดับความรุนแรงจากระดับปัจจุบันมากนัก เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศระหว่างไทยกับอิสราเอล และระหว่างไทยกับปาเลสไตน์ รวมกันอยู่ในระดับต่ำเพียงประมาณ 0.2% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของไทย

ขณะที่การขนส่งสินค้าเข้าออกจากอิสราเอลก็ยังไม่กระทบมาก เนื่องจากท่าเรือส่วนใหญ่ของอิสราเอลยังเปิดดำเนินการตามปกติ เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนเพียงประมาณ 1% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด รวมทั้งด้านการลงทุนก็ไม่มีการลงทุนโดยตรงจากทั้ง 2 ประเทศคู่ขัดแย้ง

แต่ไทยก็ยังเจอผลกระทบทางอ้อมต่อการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อเงินเฟ้อ ก็ยังไม่เห็นผลกระทบดังกล่าวชัดเจนเช่นกัน เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงแรกของสงครามนั้น ก็ยังต่ำกว่าระดับสูงสุดในเดือน ก.ย.66 รวมทั้งค่าเงินบาทก็ผันผวนและอ่อนค่าลงในช่วงแรก ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างเงินดอลลาร์สหรัฐและทองคำ เนื่องจากปัจจัยด้านจิตวิทยาที่กังวลผลกระทบของสงครามเท่านั้น

 “จากการประเมินทิศทางสงครามและผลกระทบในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จึงน่าจะเชื่อได้ว่ากรณีที่การสู้รบยังดำเนินต่อไปแบบจำกัดวงอยู่ในฉนวนกาซา และบริเวณพรมแดนอิสราเอลกับซีเรียและเลบานอนนั้น ก็ไม่น่าจะมีผลกระทบรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญ หรือส่งผลกระทบสืบเนื่องจนสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวมมากนัก”

สนค.ยังระบุอีกว่า แต่ยังมีบางประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงคือประเด็นด้านแรงงาน เนื่องจากอิสราเอลเป็นประเทศที่มีแรงงานไทยไปทำงานมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไต้หวัน โดยแรงงานจำนวนกว่า 26,000 คน ที่ทำงานอยู่ในอิสราเอลอาจได้รับผลกระทบจากสงครามและว่างงานลงอย่างฉับพลัน ซึ่งภาครัฐอาจต้องมีมาตรการช่วยเหลือรองรับที่เหมาะสม

นอกจากนี้ หากสงครามยกระดับรุนแรงในพื้นที่อิสราเอล หรือประเทศรอบๆ อิสราเอลจนทำให้ภาคการผลิต การขนส่ง เกิดการหยุดชะงักและนำไปสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ก็อาจทำให้การส่งออกสินค้าบางรายการที่มีอิสราเอลเป็นตลาดส่งออกสำคัญส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบอยู่บ้าง อาทิ เครื่องประดับ เพชร ไฟเบอร์บอร์ด ทูน่ากระป๋อง และรถยนต์นั่ง รวมทั้งสินค้านำเข้า อาทิ เพชร ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ที่ไทยนำเข้าจำนวนมากจากอิสราเอล

ดังนั้นทางภาครัฐจึงมีข้อแนะนำ โดยเฉพาะผู้ประกอบการต้องเริ่มมองหาตลาดส่งออกหรือแหล่งนำเข้าอื่นๆ ทดแทนให้มากขึ้น เพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น หากสงครามขยายวงไปสู่ระดับภูมิภาค ผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมน่าจะรุนแรงพอสมควร เพราะกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางเป็นทั้งตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ และเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าที่สำคัญของไทยหลายรายการ ดังนั้นจึงต้องติดตามพัฒนาการของสงครามอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้เตรียมมาตรการรองรับได้อย่างทันท่วงที.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท