ชิงอธิการบดีมธ.

อีกไม่นาน หลังจากนี้ ม.ธรรมศาสตร์จะมีอธิการบดีคนใหม่ เชื่อว่าผู้เสนอตัวที่กำลังทยอยเปิดตัว คุณสมบัติคงไม่แตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือ ภาพลักษณ์ของอธิการบดีคนใหม่กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เนื่องจากรากเหง้าเคยชื่อว่าม.วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในปี พ.ศ.2477 จึงจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเมือง และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ความทุกข์ร้อน นำทางและรับใช้ให้ประชาชน

ล่าสุด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์เปิดตัวชิงตำแหน่งอธิการบดีคนใหม่และเป็นคนที่25 

อ.ปริญญา ระบุว่า  ผมจึงขอใช้ช่วงเวลานี้จนถึงวันเสนอชื่ออธิการบดีในวันที่ 22 ก.พ. 2567 ในการเชิญชวนประชาคมธรรมศาสตร์ร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัย และเห็นว่าทิศทางหลักของ ม.ธรรมศาสตร์ที่ควรต้องเดินหน้าไป คือทิศทางที่เราเริ่มต้นตั้งแต่ก่อตั้งม.วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

โดยมีกรอบนโยบาย 4 ข้อ1. มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน : ธรรมศาสตร์ควรต้องกลับไปเป็นธรรมศาสตร์อย่างที่เคยเป็น คือมหาวิทยาลัยที่เป็นบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร ม.ที่สอนนักศึกษาให้รักประชาชน ม.ที่ทำเพื่อประชาชน เอาโจทย์ปัญหาของประชาชน ปัญหาของประเทศ ปัญหาของสังคม ดังเช่นปัญหาความเหลื่อมล้ำ เป็นโจทย์ในการวิจัยและในการเรียนการสอน และกลับไปเป็นผู้นำทางสังคมในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหา

2.ยุทธศาสตร์ทำดักหน้า : การทำตามหลังไม่อาจทำให้ธรรมศาสตร์ตามไปทันมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้ เพราะเราไม่ได้วิ่งเร็วกว่าเขา และต่อให้ไปถึงได้ เขาก็ไปที่อื่นต่อแล้ว การจะทำให้ธรรมศาสตร์ตามทันและแซงได้ ต้องใช้วิธีวิ่งไปดักข้างหน้า คือรู้ทิศทางว่าเขาจะไปไหน เราก็วิ่งลัดไปดักหน้า ซึ่งทิศทางของโลกในขณะนี้มี 3 เรื่องคือ AI สังคมสูงวัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

3.พัฒนาศักยภาพทุกคนให้ไปไกลที่สุด : ธรรมศาสตร์คือที่ที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา เจ้าหน้าที่ และอาจารย์ จะได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาตนเองให้ไปไกลที่สุดเท่าที่จะไปได้ โดยมีความสมดุลทั้งความเป็นเลิศ ความทั่วถึงเท่าเทียม คุณภาพชีวิต และความสุขในการทำงานและการเรียนรู้

4.ผู้บริหารแนวราบ และสร้างประชาธิปไตยในที่ทำงาน : ผู้บริหารธรรมศาสตร์ต้องเป็นผู้นำที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่เจ้านาย สร้างประชาธิปไตยในที่ทำงานซึ่งธรรมศาสตร์จะต้องเป็นผู้นำ

ม.ธรรมศาสตร์”จะไปทางไหน ใครจะเป็นอธิการบดีคนต่อไป อีกไม่นานคงได้ทราบกัน

ช่างสงสัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อำลา‘ก.ท่องเที่ยวฯ’

เป็นช่วงเวลาของการอำลาตำแหน่งและการย้ายกระทรวงของบรรดารัฐมนตรีหลายคนในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่บางคนต้องออกไปถาวร หรือบางคนแค่ย้ายกระทรวง ทำให้ช่วงนี้เห็นบรรยากาศอบอวลไปด้วยความอบอุ่นของบรรดาข้าราชการกระทรวงต่างๆ ที่จัดงานอำลาให้กับเจ้ากระทรวงของตัวเอง

ไม่ได้หมายถึงเรื่องใด

ช่วงปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา นั้นเป็นที่วิพาษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เมื่อ อ. ธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ศาสตราภิชานประจำคณะนิติศาสตร์

สายล่อฟ้า

ปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.)เศรษฐา1/1 เกิดเหตุตามหลังมากกมาย ที่กล่าวขานกันมากก็กรณี “ปานปรีย์ พหิทธานุกร” ลาออกจากการเป็นรมว.ต่างประเทศ เรียกว่าทุกสายตาคอการเมืองพุ่งเป้าไปที่นั่น

“วันสบายๆ”

การเมืองช่วงนี้ร้อนแรงไม่แพ้กับอากาศจริงๆ เพราะนอกจากจะร้อนแล้วยังระอุไปทั่ว ทั้งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถึงรายชื่อรัฐมนตรี ทั้งพ้นความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยมีชื่อที่คุ้นหน้าคุ้นตากันหลายชื่อ

บันทึกหน้า 4

ควันหลงการปรับ ครม.เศรษฐา 1/1 เกิดดรามามากมาย โดยเฉพาะจากคนที่ผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ที่พ้นกระทรวงสาธารณสุข กลับไปทำงาน สส. รวมถึงกรณี นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ที่หลุดจากตำแหน่งรองนายกฯ

นิ่งแบบนี้มีลุ้น

ช่วงตั้ง ครม.เศรษฐา 1 ใหม่ๆ หลายคนคาดการณ์ สมศักดิ์ เทพสุทิน คงนั่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ทำเนียบรัฐบาลไม่นาน เพราะถนัดงานกระทรวงมากกว่า