แปะไว้ข้างฝา : ข่าวโลก ที่ผมชวนเกาะติดปีนี้

พอเปิดมาปี 2022 เราต้องประเมินสถานการณ์และเหตุการณ์ระหว่างประเทศตลอดปีว่ามีกิจกรรมอะไรที่คนไทยควรจะต้องปักหมุดเอาไว้เพื่อเกาะติดให้เกิดประโยชน์สูงสุดของเรา

ผมเรียงลำดับตั้งแต่เดือนมกราคมนี้เป็นต้นไป

เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคมคือ RCEP มีผลบังคับใช้

ข้อตกลงการค้าขนาดใหญ่ของเอเชียที่เรียกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคจะมีผลบังคับใช้เมื่อปีใหม่เริ่มต้นขึ้น RCEP ครอบคลุม 15 ประเทศ - 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ในขั้นต้น

ข้อตกลงนี้คาดว่าจะเริ่มต้นใน 10 ประเทศที่เสร็จสิ้นกระบวนการให้สัตยาบัน รวมถึงจีนและญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดนระหว่างสมาชิกเพิ่มมากขึ้น

เหตุการณ์ต่อมาคือ สภานิติบัญญัติใหม่ของฮ่องกงสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง

“ผู้จงรักภักดีปักกิ่ง” จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งฮ่องกง โดย แคร์รี หล่ำ ผู้บริหารระดับสูง หลังจากชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไป "เฉพาะผู้รักชาติเท่านั้น" ครั้งแรกของเมือง

จะเป็นพิธีให้คำสาบานตนภายใต้สัญลักษณ์ประจำชาติของจีน ซึ่งได้แทนที่ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของฮ่องกงชั่วคราวในสภานิติบัญญัติชั่วคราว

เดือนนี้มาจัด CES ที่ลาสเวกัสอีกครั้ง หลังจากจัดงานทางออนไลน์ครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว

งานนี้ถือเป็นงานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะกลับมาค่อนข้างคึกคักอีกครั้ง

โดยมีธุรกิจใหญ่ๆ ที่มาร่วมแสดงสินค้ากว่า 1,900 ราย รวมถึง Samsung Electronics, Sony และ Intel ที่คาดว่าจะจัดแสดงอุปกรณ์และข้อเสนอล่าสุดอย่างเอิกเกริก

ที่น่าสนใจไม่น้อยอีกหลายด้านคือ หมวดหมู่ใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีอวกาศ และ Token ในรูปแบบต่างๆ ในโครงข่าย Blockchain

พอถึงเดือนกุมภาพันธ์ทุกสายตาจะจับจ้องไปที่เมืองจีนอีกครั้ง เพราะ “โอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง” กำลังจะเริ่มต้นอย่างระแวดระวังในภาวะโควิดยังเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับผู้นำจีนและทั้งโลก

นักกีฬามากกว่า 3,600 คน คาดว่าจะเข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 100 รายการ ทั้งในโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกในกรุงปักกิ่งและเมืองภูเขาจางเจียโข่ว

นี่จะนับเป็นครั้งแรกที่เมืองได้เป็นเจ้าภาพทั้งการแข่งขันกีฬาฤดูหนาวและฤดูร้อน

ปักกิ่งเคยเป็นเจ้าภาพจัดงานฤดูร้อนในปี 2551

การระบาดของโอไมครอนและการเรียกร้องให้คว่ำบาตรด้านสิทธิมนุษยชนของจีนได้ทำให้บรรยากาศรอบงานค่อนข้างมืดมัว

หนีไม่พ้นว่ากีฬาก็มีประเด็นการเมืองด้วย เพราะหลายประเทศตะวันตกใช้โอกาสนี้ “คว่ำบาตร” จีน โดยอ้างถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของจีนต่อซินเจียงและฮ่องกง

เดือนมีนาคมนี้จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้

Yoon Seok-youl ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรค People Power Party ฝ่ายค้านของเกาหลีใต้ แข่งขันกับ Lee Jae-myung ของพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลอยู่ขณะนี้

ผู้ท้าชิงให้คำมั่นว่าจะบริหารบนพื้นฐานของความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและหลักการมากกว่าแนวคิดประชานิยม

ลี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดคยองกี เชื่อว่าประเทศต้องการการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงกว่านี้ และได้สัญญาว่าจะแนะนำโครงการรายได้ขั้นพื้นฐานสากลเพื่อช่วยคนชายขอบและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

ที่ต้องจับตาอีกจุดหนึ่งคือ การเลือกผู้นำคนใหม่ของฮ่องกง 5 ปี ภายใต้การนำของ แคร์รี หล่ำ ทำให้อนาคตทางการเมืองของเกาะแห่งนี้มีคำถามมากมาย

เพราะ สี จิ้นผิง ต้องการจะให้ปักกิ่งเข้ามามีอิทธิพลเหนือเส้นทางการเมืองของฮ่องกงมากขึ้น

พูดง่ายๆ คือระบบ “หนึ่งประเทศสองระบบ” ที่เคยตั้งเป็นกฎกติกาตั้งแต่ยุคของ เติ้ง เสี่ยวผิง กำลังจะหมดความหมาย

ผู้นำจีนวันนี้ต้องการให้เป็น “หนึ่งประเทศหนึ่งระบบ”

ไม่มีเสียงอื้อฮือจากกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่ส่วนใหญ่ถูกจับด้วยข้อหาความมั่นคงเสียแล้ว

พอถึงเดือนพฤษภาคมก็จะต้องเกาะติดข่าวเรื่องฮานอยเจ้าภาพ SEA Games...ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการระบาดของโควิด-19

เวียดนามได้ห้ามชาวต่างชาติส่วนใหญ่เข้าประเทศมาเกือบ 2 ปีเพื่อสกัดโควิด

แต่เมื่อต้องเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกเลื่อนจากปี 2564 ก็จะต้องคิดหนัก

เพราะจะมีผู้เข้าแข่งขันประมาณ 10,000 คน กีฬา 40 ประเภท รวมทั้งฟุตบอล แข่งเรือ และศิลปะป้องกันตัวในท้องถิ่น ศิลปะ Vovinam

ที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือ การเลือกตั้งเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ของฟิลิปปินส์ในเดือนเดียวกันนี้

ตัวเต็งล้วนแล้วแต่เป็นนักการเมืองที่เต็มไปด้วยสีสัน เช่น เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ผู้สมัครหน้าใหม่ ลูกชายของอดีตผู้นำเผด็จการอันโด่งดัง

ผู้สมัครอีกคนคือ ผู้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีเลนี โรเบรโด นายกเทศมนตรีกรุงมะนิลา อิสโก โมเรโน และมองข้ามไม่ได้คือ นักมวยระดับโลกอย่าง แมนนี ปาเกียว

หรือออสเตรเลียจะมีการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมด้วย?

ชาวออสเตรเลียมีกำหนดจะลงคะแนนเสียงในรัฐสภาชุดใหม่ภายในเดือนพฤษภาคม โดยนายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอร์ริสัน อยู่ในฐานะเสียเปรียบทางการเมืองพอสมควร

เหตุเพราะจัดการกับการระบาดของ Omicron ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างหนัก.

(พรุ่งนี้ : ครึ่งปีหลังมีเรื่องต้องติดตามกันอีกหลายเรื่อง)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

งบมะกันก้อนใหม่จะช่วยยูเครน พลิกสถานการณ์สู้รบได้แค่ไหน?

แม้ว่ารัฐสภาสหรัฐฯจะเปิดไฟเขียวให้งบประมาณช่วยเหลือทางทหารก้อนใหม่ แต่ยูเครนก็ยังต้องดิ้นรนไม่ให้แพ้สงครามกับรัสเซีย

ทิม คุกบินไปเวียดนาม-อินโดฯ ทำไมไม่แวะประเทศไทย?

สัปดาห์ก่อน ทิม คุก ซีอีโอของ Apple บินข้ามไทยไปเวียดนาม, อินโดนีเซียและสิงคโปร์ เพื่อสรุปแผนการลงทุนหรือเพิ่มกิจกรรมในประเทศเหล่านั้น

มะกันทุ่ม 3.5 ล้านล้านบาท ให้ยูเครน, อิสราเอล, ไต้หวัน!

งบประมาณก้อนใหญ่ที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ อนุมัติเพื่อช่วยยูเครน, อิสราเอล และไต้หวันเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จะช่วยลดความกังวลของยูเครนว่ากำลังจะแพ้สงครามได้หรือไม่...ยังต้องคอยดูของจริงในสมรภูมิรบต่อไป

เชื่อไหม:อิสราเอลกับ อิหร่านเคยรักกัน?

อิสราเอลกับอิหร่านเปิดศึกสงครามที่สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลกวันนี้ มีคำถามว่าทั้ง 2 ชาตินี้กลายเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันอย่างรุนแรงเช่นนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ และมีเหตุผลแห่งความบาดหมางกันอย่างไร