ไม่โปร่งใส...ไร้นิติธรรม

ความโปร่งใสของการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศของเรามีความน่าเชื่อถือ และประเทศอื่นๆ ในประชาคมโลกพร้อมที่จะคบหาสมาคมกับเรา ไม่ว่าการลงทุน การค้าขาย การมาเที่ยว รวมทั้งการอพยพเข้ามาพำนักอยู่ในประเทศ ประเทศที่มีความโปร่งใสในการบริหาร นักการเมือง ข้าราชการจะต้องมีการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย แสดงให้ชาวโลกเห็นว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐที่ให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรม

แต่เมื่อเรามองดูการประเมิน "ดัชนีการรับรู้การทุจริต" ที่จัดอันดับการประเมินโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) เพื่อต่อสู้กับการทุจริตในทุกรูปแบบ ด้วยการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงผลเสียของการทุจริต และเป็นภาพลักษณ์ความโปร่งใสของประเทศต่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญในการจะทำให้ระดับคะแนนดัชนีความโปร่งใสอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยการทำให้คะแนนตัวชี้วัดในด้านต่างๆ ให้ได้คะแนนสูงขึ้น ยุทธศาลตร์ชาติ 20 ปีของไทยมีประเด็นที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นแผนแม่บทรองรับ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปรามปรามการทุจริต ซึ่งกำหนดให้ภายในปี 2580 ประเทศไทยจะต้องมีคะแนนสูงขึ้น และความโปร่งใสอยู่ในลำดับ 1 ใน 20 ลำดับแรกของโลก

ล่าสุดประเทศไทยได้คะแนนเพียง 35 คะแนนจาก 100 คะแนน เป็นอันดับที่ 108 จาก 180 ประเทศทั่วโลก คะแนนและลำดับดังกล่าวเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์การทุจริตของประเทศ และเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่กลุ่มนักลงทุนใช้ประเมินความน่าลนใจที่จะมาลงทุนในประเทศไทย นักลงทุนจะมองว่าการทุจริตเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เป็นต้นทุนหรือเป็นความเสี่ยงในการเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย หากประเทศไทยยังมีคะแนนดัชนีความโปร่งใสต่ำ ย่อมมีผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศและการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศก็จะต่ำ บางรายอาจจะไม่สนใจที่จะมาลงทุนในประเทศไทยเลย บางรายที่เคยคิดที่จะมาลงทุนในประเทศไทย เมื่อรับรู้คะแนนดัชนีความโปร่งใสของประเทศไทยก็อาจจะเปลี่ยนใจแล้วย้ายไปลงทุนในประเทศอื่นแทน

การจัดอันดับดัชนีความโปร่งใสจะมีการรวบรวมข้อมูลด้านการทุจริตจากหลายแหล่งทั่วโลกเพื่อนำไปวิเคราะห์และประเมินผลออกมาเป็นคะแนนความโปร่งใส คะแนนเต็มอยู่ที่ 100 คะแนน โดย 0 คะแนน เป็นคะแนนต่ำสุด หมายถึงเกิดการคอร์รัปชันสูงสุด ส่วน 100 คะแนนเป็นคะแนนสูงสุด หมายถึงมีภาพลักษณ์คอร์รัปชันน้อยที่สุด หรือมีความโปร่งใสในการบริหารสูงสุด ประเทศใดมีคะแนนดัชนีความโปร่งใสสูงก็แสดงว่ามีการทุจริตต่ำ ประเทศไทยเราประเมินโดยการดำเนินการปกครองตามหลักประชาธิปไตยที่มีการถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ในฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ การบริหารระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีทั้ง 3 ด้าน คือ การเมือง เศรษฐกิจ และการจัดการของรัฐบาล ความโปร่งใส่ในการจัดสรรงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณ การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการจากรัฐบาล การตรวจสอบการดำเนินงานบริหารประเทศของรัฐบาลโดยองค์กรอิสระ ความเสี่ยงที่บุคคล/บริษัทต้องเผชิญกับการติดสินบน การใช้อำนาจเพื่อกระทำการทุจริตฝ่ายการเมืองและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ การเรียกรับเงินจ่ายสินบนเพื่อให้ได้ใบอนุญาต ประเทศที่จะได้คะแนนดัชนีความโปร่งใสจะต้องแสดงให้เห็นการจำกัดอำนาจของรัฐบาลอย่างเหมาะสม ปราศจากคอร์รัปชัน การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐด้วยความโปร่งใส ประชาชนมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย สังคมมีความสงบเรียบร้อย มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กระบวนการยุติธรรมดำเนินการอย่างถูกต้องและเป็นธรรม

ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องสินบนเพื่อการพิจารณาอนุมัติอนุญาต และเพื่ออำนวยความสะดวก มีการใช้อำนาจ ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ มีแหล่งที่เกี่ยวข้อง มีการใช้เงินงบประมาณไม่คุ้มค่า เอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลและกลุ่มบุคคลโดยมิชอบ การดำเนินการต่อต้านการทุจริตไม่มีประสิทธิภาพ การที่ประเทศไทยมีคะแนนดัชนีความโปร่งใสเพียง 35 คะแนน และอยู่ลำดับที่ 108 จาก 180 ประเทศ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ในขณะที่ทุกประเทศในโลก โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ต่างก็แย่งชิงการลงทุนจากประเทศมหาอำนาจต่างๆ เมื่อประเทศไทยเรามีคะแนนต่ำเช่นนี้ เราจะแย่งชิงการลงทุนได้ดีแค่ไหน ภาพลักษณ์ของการเป็นประเทศที่ไม่โปร่งใส มีการทุจริตในระดับสูง ใครจะอยากมาลงทุนในประเทศไทยที่เสี่ยงต่อการเรียกรับสินบนในการออกใบอนุญาตและอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ

ปัจจัยหนึ่งที่น่าจะเป็นปัญหาของคะแนนดัชนีความโปร่งใสของประเทศไทยที่ต่ำและอยู่อันดับท้ายๆ ของโลก น่าจะเป็นเรื่องของความไม่เป็นนิติรัฐที่มีการบริหารประเทศด้วยหลักนิติธรรม กฎหมายไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ การบังคับใช้กฎหมายหย่อนยาน กระบวนการยุติธรรมถูกผู้มีอิทธิพล มีอำนาจทางการเมืองและทางการเงิน ใช้อำนาจบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม นักการเมืองไม่เคารพกฎหมาย ข้าราชการรับสินบน ยอมหลิ่วตากับการบังคับใช้กฎหมาย หรือใช้เกียร์ว่างในการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะเดียวกันก็มีเนติบริกรคอยทำหน้าที่ตีความกฎหมายแบบเอื้อประโยชน์ให้ผู้ทำผิด มีการค้าคดีในกระบวนการยุติธรรม ตำรวจที่เป็นต้นน้ำก็ไม่น่าไว้ใจ อัยการที่เป็นกลางน้ำก็มีเรื่องฉาวที่ทำให้ประชาชนเคลือบแคลงระแวงสงสัยว่าปฏิบัติหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาล หรือรับสินบนแล้วทุจริตต่อหน้าที่ เมื่อคนที่ทำผิดคิดว่าสามารถใช้เงินกำหนดทิศทางของคดีได้ ทำให้ผู้คนบางจำพวกไม่เกรงกลัวกฎหมาย ไม่กลัวที่จะทำผิด เพราะว่าสามารถพ้นผิดได้จากความไม่โปร่งใสของเจ้าหน้าที่บางคนในบางหน่วย

ในเวลานี้ ประชาชนจำนวนมากมองเห็นว่ามีนักการเมือง ข้าราชการบางคนทำผิดอย่างชัดเจน แต่เมื่อมีการร้องให้เอาผิดกับคนทำผิด ปรากฏว่ามีการยกคำร้องบ้าง ไม่รับไว้พิจารณาบ้าง หรือพิจารณาแล้วไม่มีความผิดบ้าง และจะมีคนพูดว่า เรื่องของกระบวนการยุติธรรมต้องว่าด้วยหลักฐาน จะใช้อารมณ์ไม่ได้ แต่ที่เป็นปรากฏการณ์เวลานี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องการใช้อารมณ์ หรือการใช้หลักฐาน แต่เป็นเรื่องของการตีความที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คนทำผิดมากกว่า ตราบใดที่ผู้รักษากฎหมาย ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายยังทุจริต ใช้อำนาจในทางไม่ชอบ ไม่มีความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ อย่าได้หวังว่าคะแนนดัชนีความโปร่งใสของไทยจะดีขึ้น อย่าหวังว่าอันดับความโปร่งใสของไทยจะดีขึ้น และอย่าหวังว่าประเทศไทยจะแย่งชิงการลงทุนจากต่างประเทศได้ดีกว่าประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งของเรา ตำรวจจะโปร่งใสกี่โมง อัยการจะโปร่งใสกี่โมง นักการเมืองจะโปร่งใสกี่โมง ข้าราชการจะโปร่งใสกี่โมง องค์กรอิสระจะโปร่งใสกี่โมง...เฮ้อ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไหวไหมลูกพ่อ...อยาก สทร. เป็นคนใน

พรรคฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 โดยชี้ว่า เป็นต้นเหตุของความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินทั้งหมด

บทเรียนจาก 'ท่านปัญญาจารย์'

ด้วยเหตุเพราะอ่านหนังสือซะหมดบ้าน...จนแทบไม่เหลืออะไรจะอ่าน เลยต้องหันไปคว้า พระคัมภีร์ไบเบิล เล่มหนาๆ ระดับหนุนหัวนอนได้สบายๆ

โผปูทางโยกย้าย ต.ค.

การแต่งตั้งวาระเดือนเมษายน หรือที่เหล่าสีกากีเรียก "นายพลแก้มลิง" ขยับไปอีกหนึ่งขั้น เมื่อ บิ๊กกอล์ฟ-พล.ต.ท.อาชยน

ดร.เสรี วิจารณ์ 'แพทองธาร' แต่งตัวตามแฟชั่นขาดรสนิยม แนะลด 'อีโก้' พัฒนาทักษะ

ดร.เสรี วงษ์มณฑา วิจารณ์การแต่งกายของนายกฯแพทองธาร โดยมองว่าแต่งตามสมัยนิยมไม่เหมาะสมกับรูปร่างตัวเอง และเสี่ยงที่จะดูแย่ แนะนำลดอีโก้และพัฒนารสนิยมเพื่อให้ประเทศดูดีขึ้น

'ดร.เสรี' กรีด! รัฐบาลเอาเยื่อสมองส่วนไหนคิด อ้างแจกเงินหมื่นเพราะมีความสามารถด้านเทคโนโลยีสูง

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์ข้อความว่า การมีความสามารถด้านเทคโนโลยีสูงคือคุณสมบัติที่เหมาะที่จ