
2 พ.ค.2565- รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง”ไม่ควรประมาท” ระบุว่า เคยเล่าให้ฟังแล้วว่าขาลงนั้นยาวนานกว่าขาขึ้น และเมื่อเขาเป็นขาลงกันทั่วโลก ยังไงเราก็ต้องลงเช่นกัน
ตั้งแต่ 10 มีนาคมเป็นต้นมา ดูเป็นขาลง แต่ลงช้ากว่าเค้า เพราะการระบาดรุนแรงกว่าเค้า ยิ่งไปกว่านั้น เห็นประโคมข่าวดีใจพอใจกับยอดที่ลดลง แต่ควรดูด้วยว่าที่ลดนั้น เมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลกแล้ว สถานะปัจจุบันเป็นเช่นไร ถึงลดลงกว่าเดิม แต่ละวันก็ยังมีจำนวนติดเชื้อติด Top Ten ของโลกมาตลอดต่อเนื่องมาแล้วถึง 45 วัน ถึงลดลงกว่าเดิม แต่ละวันก็ยังมีจำนวนคนเสียชีวิตติด Top Ten ของโลกมากตลอดต่อเนื่องมาแล้วถึง 16 วัน ธรรมชาติของโรค ก็คือธรรมชาติของโรค ที่เหมือนกันทุกประเทศ แต่ผลลัพธ์ที่ต่างกันนั้นมักเป็นผลมาจากเรื่องนโยบายและมาตรการด้านสาธารณสุขที่แตกต่างกัน รวมถึงความเสี่ยงที่มีในสังคม อันเป็นผลมาจากทั้งเรื่องพฤติกรรมเสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง และสถานที่เสี่ยง
จึงยืนยันว่า ยังไม่ใช่เวลาดี๊ด๊าประจำถิ่น…แต่ตัวเลขที่เห็นนั้น เป็นขาลงที่ช้า และเป็น Top Ten ของโลก นี่คือภาพสะท้อนจากกระจกที่ไม่ลวงตาครับ จึงต้องระวังการชงนโยบายที่ขับเคลื่อนด้วยกิเลสให้ดี ก้าวช้าๆ อย่างมั่นคง จะลดความเสี่ยงที่จะพลัดตกหกล้มหัวคะมำ ขอให้ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอในการดำรงชีวิตประจำวัน
หากการระบาดทั่วโลกซาลงไปพร้อมกัน ทำนายทายทักก้าวย่างของไวรัสได้ ยาและวัคซีนที่ใช้จริงนั้นเป็นไปตามมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ และเพียงพอ รวมถึงตกผลึกชัดเจนในเรื่อง Long COVID และจัดการได้ดี นั่นคือสัญญาณชัดเจนว่า ศึกโควิด-19 นั้นควบคุมได้แล้ว เรื่องประจำถิ่นนั้น มีอยู่ทุกที่ไปตั้งนานแล้ว แต่ยังไม่บรรลุปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ป้องกันโควิดไปใช้สิทธิ เตรียมหน้ากาก สเปรย์แอลกอฮอล์ ปากกาส่วนตัวไปด้วย
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ไม่ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ่้ำ ย่อมดีที่สุด วันนี้ควรเตรียมหน้ากาก สเปรย์แอลกอฮอล์ รวมถึงปากกาส่วนตัวไปด้วย
อาจารย์หมอจุฬาฯ ห่วงหลังสงกรานต์ยอดติดโควิด-19 พุ่ง
รายงานจำนวนผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลของไทยสัปดาห์ล่าสุดนั้นพุ่งไปถึง 435 คน สูงกว่าสัปดาห์ก่อนหลายเท่า
หมอชี้แม่รับวัคซีนโควิด-19 ครบเข็มกระตุ้น ช่วยลดความเสี่ยงทารกป่วย
แม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 จนครบเข็มกระตุ้น จะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะป่วยเป็นโควิดจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลในช่วง 4 เดือนแรกหลังคลอดได้ 53%
อาจารย์หมอจุฬาฯ ย้ำเตือนผลระยะยาว Long COVID ติดเชื้อต้องระวัง
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ประเทศญี่ปุ่น ได้เผยแพร่ผลการสำรวจผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงกุมภาพันธ์ 2563 ถึงพฤศจิกายน 2564 จำนวน 502 คนพบว่าส่วนใหญ่กว่า 80% เคยติดเชื้อโดยป่วยมีอาการน้อย (86.4%)
‘หมอธีระ’ อัปเดตโควิดทั่วโลก ติดเชื้อเพิ่ม 50,331 คน เสียชีวิต 211 คน
สถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2566 ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 50,331 คน ตายเพิ่ม 211 คน รวมแล้วติดไป 681,528,196 คน เสียชีวิตรวม 6,811,893 คน