มีหนาว! ผู้ป่วยโอมิครอนมีโอกาสติดเชื้อซ้ำมากกว่าปกติหลายเท่า

หมอธีระยกอัพเดตความรู้เรื่องโควิด ผลวิจัยมะกันบอกชัดโอมิครอนส่งผลให้ติดเชื้อซ้ำสูงกว่าปกติ ส่วนเมืองน่ำหอมระบุเชื้อไวรัสสามารรถแพร่จากเซลล์สมองไปเซลล์อื่นได้!

21 ก.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 760,982 คน ตายเพิ่ม 1,335 คน รวมแล้วติดไป 569,310,786 คน เสียชีวิตรวม 6,390,965 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และบราซิล เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 69.11 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 46.32

...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 13 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

...อัพเดตความรู้โควิด-19
1. Omicron ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำมากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ข้อมูลจาก Office for National Statistics สหราชอาณาจักร ชี้ให้เห็นว่า คนที่เคยติดเชื้อ Omicron มาก่อนแล้วเกิดการติดเชื้อ Omicron ซ้ำนั้น พบมากกว่าคนที่เคยติดเชื้อเดลตามาก่อนแล้วติดเชื้อเดลตาซ้ำถึงเกือบ 15 เท่า ในขณะที่คนที่เคยติดเชื้ออัลฟา หรือเดลตามาก่อน แล้วมาติดเชื้อ Omicron ซ้ำพบมากกว่าคนที่เคยติดเชื้อเดลตามาก่อนแล้วติดเชื้อเดลตาซ้ำถึง 37-38 เท่า

แสดงให้เห็นว่า ไวรัสสายพันธุ์ Omicron นั้นทำให้มีจำนวนคนติดเชื้อซ้ำมากกว่าเดิมมาก ดังนั้นการป้องกันตัวระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันจึงมีความสำคัญยิ่ง

2. ไวรัส SARS-CoV-2 สามารถติดเชื้อและแพร่เชื้อระหว่างเซลล์ในสมอง Pepe A และคณะจากประเทศฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ Science Advances วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา สาระสำคัญคือ การชี้ให้เห็นว่าไวรัสโรคโควิด-19 นั้นสามารถแพร่เชื้อจากเซลล์สมองเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่นที่ยังไม่ติดเชื้อได้ โดยผ่านกลไกการสร้าง Tunneling Nanotube (TNT) หรือเปรียบเหมือนการสร้างอุโมงหรือท่อขนาดเล็ก เป็นทางผ่านของเชื้อจากเซลล์ที่ติดเชื้ออยู่ไปยังเซลล์อื่นที่ยังไม่ติดเชื้อ

ผลการศึกษานี้อาจใช้เป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยอธิบายพยาธิสภาพ และอาการผิดปกติทางสมองหรือระบบประสาทที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อทั้งในระยะแรก และในระยะยาวอย่าง Long COVID ได้ ทั้งนี้คงต้องมีการติดตามและศึกษาเชิงลึกต่อไป

...สถานการณ์ของไทยเรา การระบาดยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง เป็นเรื่องสำคัญมาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)