'อนุทิน' เผยชงศบค.ชุดใหญ่ ลดสถานะโควิด เป็นแนวทางตัดสินใจใช้ พรก.ฉุกเฉิน

18 ส.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ถึงการประชุมศบค.ชุดใหญ่ ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ ว่า กระทรวงสาธารณสุขจะนำเสนอ ให้ที่ประชุมรับทราบถึงมติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่ว่าด้วยเรื่องของการลดระดับสถานการณ์โควิด-19 จากโรคติดต่อร้ายแรง เป็น โรคที่ต้องเฝ้าระวัง

ผู้สื่อข่าวถามว่า สธ.จะเสนอให้ที่ประชุมศบค. พิจารณาใช้กฎหมายปกติได้แล้วหรือไม่นายอนุทิน กล่าวว่า คงเป็นส่วนประกอบ เพราะพรก.ฉุกเฉิน ที่นำมาควบคุมสถานการณ์โควิด-19 เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี และศบค. เป็นผู้ประกาศบังคับใช้ และข้อมูลของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ให้โรคโควิด-19 เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เหมือนกับการเปลี่ยนจากพื้นที่สีแดง ให้เป็น พื้นที่สีส้มอ่อนๆ ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องของการใช้พรก. ฉุกเฉิน ได้อีกแนวทางหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับศบค.

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในสถานการณ์ โควิด-19 ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขมองว่าพรก.ฉุกเฉิน ยังมีความจำเป็นหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ความจริงมีผลหลายอย่างอย่าไปมองว่าพรก. ฉุกเฉินจะมาจำกัดสิทธิเสรีภาพ เพราะตรงนี้ไม่เกี่ยวกัน เป็นเรื่องของการควบคุมสถานการณ์โรคระบาดเท่านั้น การมีพรก.ฉุกเฉินนั้นทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปได้ด้วยความคล่องตัวมากขึ้น เมื่อต้องการเวชภัณฑ์ ยา วัคซีน ภายใต้พรก.ฉุกเฉินจะมีกระบวนการที่ทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้นได้ การมีพรก.ฉุกเฉินเท่ากับการมีศบค. เมื่อมีปัญหาเร่งด่วนก็สามารถนำเข้าประชุมศบค.ได้ โดยมีทุกภาคส่วนได้รับทราบ ทั้งนายกรัฐมนตรี ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร อาจารย์แพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ คมนาคม พาณิชย์ จะเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสบายใจ มั่นใจ ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เหมือนมีที่พิงหลังให้ข้าราชการที่ต้องดูแลประชาชน หากไม่มีพรก.ฉุกเฉิน ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบพัสดุ และระเบียบต่างๆ ซึ่งถ้าทุกคนเข้าใจได้ ร่วมมือได้ พยายามรักษาตัวเองไม่ให้มีอาการรุนแรง ก็จะค่อยๆปรับไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องถึงสถานการณ์จุดใด จึงควรยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน เนื่องจากขณะนี้เองก็ใกล้เลือกตั้งแล้ว นายอนุทิน กล่าวว่า พรก. ฉุกเฉินในกรณีนี้ ไม่ได้ไปกระทบวิถีชีวิตของใคร แต่อย่างใด น่าจะเป็นสิ่งที่ดีเสียด้วยซ้ำ เพราะสามารถรวบรวมความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆได้ ซึ่งตรงกับช่วงจังหวะเวลาที่เราจะไปดูแลประชาชน ได้อย่างเต็มที่ ถือเป็นหนึ่งในข้อมูลที่หากจะมีการพิจารณาไม่ใช้พรก.ฉุกเฉินต่อไปในอนาคต นี่ก็เป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่ว่าลดระดับจากการเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งระบาดมากว่า 2 ปีลงมาเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ลดสถานะของโรค ก็น่าจะเป็นแนวโน้มที่ดี

เมื่อถามถึงแนวโน้มการใช้วัคซีนตัวใหม่ของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ในประเทศต่างประเทศสามารถใช้ควบคุมโรคโควิด-19 สายพันธุ์ เดลต้า และโอไมครอนได้แล้ว นายอนุทิน กล่าวว่า หากคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ พิสูจน์แล้วเห็นชอบก็จะนำเสนอ เมื่อเขาเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์เราก็จะนำมาพิจารณา เราพร้อมทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเทศไทยต้องรอก่อนใช่หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า เป็นเรื่องทางการแพทย์ จึงต้องมีหลักทางการแพทย์มาเป็นตัวนำ เพื่อนำยาหรือวัคซีน หรือเวชภัณฑ์ มาให้ประชาชน โดยต้องมีขั้นตอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

ภูมิใจไทย รุ่นใหม่ มีของ กับ ไชยชนก เลขาธิการพรรค 14 พ.ค. นับหนึ่งรีแบรนด์ดิ้ง

พรรคภูมิใจไทย หนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งก่อตั้งพรรคมา ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16 ไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา 6 เม.ย โดยก่อนหน้านั้น พรรคภูมิใจไทย ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567

'อนุทิน' หอบแกนนำภูมิใจไทย อวยพร ปชป. ครบ 78 ปี 'เฉลิมชัย' ต้อนรับชื่นมื่น

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และ น.ส.สุภานัน นิราษิท ภรรยา พร้อมด้วย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย