‘หมอเจษฎ์’ ขอผู้ปกครองพาเด็กฉีดวัคซีน หลังพบ 6 ขวบเสียชีวิตจากโควิด

27 พ.ย.2565-ที่ศูนย์หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาลของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล อ.เมือง จ.นครราชสีมา นพ.เจษฏ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พร้อมบุคลากรทางการแพทย์บริการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้ไปตรวจเยี่ยมและเปิดจุดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับเด็กอายุ  6 เดือน ถึง 2-4 ปี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโควิด-19ให้เด็กอายุ ระหว่าง 2-4 ปี โดยจุดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน 2-4 ปี จะให้บริการวันละ 300-400 คน

โดยบรรยากาศได้มีบรรดาผู้ปกครองพาบุตรหลานที่มีอายุตั้งแต่ 2-4ปีเข้ามารับบริการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ท่ามกลางเสียงร้องไห้กระจองอแง ของบุตรหลานที่เข้ามารับการฉีดวัคซีนเนื่องจากมีอาการตื่นกลัวเข็มจนเจ้าหน้าที่พยาบาล และผู้ปกครองต่างต้องพากันเบี่ยงเบนความสนใจก่อนฉีดและปลอมขวัญหลังถูกเข็มฉีดยา รวมทั้งเปิดให้การฉีดผู้สูงอายุกลุ่ม 608 ได้ทุกคน

นพ.เจษฎ์ กล่าวว่า ขณะนี้ต้องยอมรับว่าผู้ปกครองนำบัตรหลานมาฉีดวัคซีนกันน้อยมาก โดยเด็ก 6 เดือน – 4 ปีเราพยายามเร่งการฉีดเฉลี่ยมีการฉีดสัปดาห์ละ 300-400 คนทั้งที่ รพ.มหาราชฯ และที่ศูนย์ฉีดที่เซ็นทรัลพลาซ่า โดยกรณีเด็กน้อยอายุ 6 ขวบที่เสียชีวิตเมื่อวันนี้ 23 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น เด็กไม่ได้รับวัคซีน และเด็กมีโรคประจำตัวความผิดปรกติทางสมองและการเคลื่อนไหว โดยแพทย์มีการซักประวัติไปมีการติดเชื้อจากคนในครอบครัว ฉะนั้นเด็กมีอาการค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากโรคประจำตัวเป็นค่อนข้างมาก ซึ่งจริงๆแล้วกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ฉีดในเด็ก เพราะเด็กไม่ได้มี 608 ในเด็ก แต่เด็กส่วนใหญ่จะมีเรื่องความผิดปรกติทางสมอง ซึ่งตรงนี้กระทรวงฯเองยังแนะนำให้ฉีดในกลุ่มแรกๆที่สำคัญเลย

“อยากฝากพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนเพราะเรื่องนี้สำคัญมากที่ควรจะคิดเพิ่มเติมด้วย ซึ่งเด็กที่เสียชีวิตไม่ได้เกิดจากผลที่ฉีดวัคซีน แต่เป็นเรื่องของการติดเชื้อโควิด เรื่องนี้คงต้องเป็นอุทาหรณ์ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองคนอื่นๆด้วยในการที่จะเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับบุตรหลานเพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล