'นพ.ธีระ' ชี้ 'โอไมครอน' กำลังกลายเป็นภัยคุกคามระดับโลก

'หมอธีระ' ชี้โอไมครอนลุกลามหนัก กระจายไป 23 ประเทศทั่วโลกแล้ว ครอบคลุมทุกภูมิภาค แนะไทยบริหารจัดการให้ดีด้วยข้อมูลที่ทันสมัยและรอบด้าน

01 ธ.ค.2564 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ...World AIDS Day ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 557,513 คน ตายเพิ่ม 7,258 คน รวมแล้วติดไปรวม 262,988,150 คน เสียชีวิตรวม 5,232,252 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และรัสเซีย จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 95.11 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 92.8

ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นมากถึงร้อยละ 63.37 ของทั้งโลก พอๆ กับจำนวนเสียชีวิตเพิ่มที่คิดเป็นร้อยละ 60.31 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...สำหรับสถานการณ์ไทยเรา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 4,306 คน สูงเป็นอันดับ 27 ของโลก หากรวม ATK อีก 1,744 คน จะขยับเป็นอันดับ 21 ของโลก ยอดรวม ATK จะเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย รองจากตุรกี เวียดนาม และอินเดีย

...Omicron ตอนนี้มีรายงานจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกราว 23 ประเทศ ครอบคลุมทุกทวีป ทั้งแอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ โอเชียเนีย และเอเชีย

ลำพังดูข้อมูลของแอฟริกาใต้ก็คงเห็นว่าการระบาดนั้นเพิ่มขึ้นเร็วมากในรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนการติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นถึง 404% จากสัปดาห์ก่อนหน้า

ล่าสุดมีรายงานจาก BNONews ว่าเคสโอไมครอนในเยอรมันล่าสุดไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งอาจบ่งถึงการติดเชื้อภายในชุมชน หรือ community transmission แต่ยังต้องรอการยืนยันอีกครั้ง

นอกจากนี้อิสราเอลพบแพทย์ 2 คนติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน โดยรายหนึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากการประชุมที่ลอนดอน โดยทั้งคู่ได้รับวัคซีนครบไปแล้วสามโดส ทำให้ตอนนี้อิสราเอลมีเคสที่ยืนยันแล้ว 4 ราย ในขณะที่รอการยืนยันอีก 34 ราย

ทั่วโลกนั้นมีความตื่นตัวในการปรับนโยบายและมาตรการให้เข้มข้นขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโอไมครอน เพราะขณะนี้เป็นการซื้อเวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้มีการศึกษาวิจัยให้มีความรู้ที่จะตอบให้ได้ว่าสายพันธุ์นี้จะมีลักษณะการแพร่ การติด การป่วย การตาย หรือดื้อต่อภูมิคุ้มกันต่างจากสายพันธุ์เดิมๆ หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของลักษณะไวรัสที่เห็นในปัจจุบัน บ่งถึงความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นภาวะคุกคามระดับโลก

ดังนั้น การบริหารจัดการนโยบายและมาตรการระดับชาติจึงต้องมีทัศนคติที่ถูกต้อง จึงจะนำไปสู่สวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของทุกคนในสังคม สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงคือ การประเมินด้วยข้อมูลที่จำกัดแล้วมองว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา ไม่รุนแรง เอาอยู่ สุดท้ายจะนำไปสู่วังวนเดิมที่เคยเห็นกันมาในอดีต

สำหรับประชาชนอย่างพวกเรา ขอให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดเป็นกิจวัตร ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า เว้นระยะห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร ด้วยรักและห่วงใย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

อาจารย์หมอ เตือนอากาศร้อนมาก ผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว ระวังการออกนอกบ้าน

คนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังการออกไปข้างนอกบ้าน  ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ  ใช้หมวกหรือร่มบังแดด

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย

ปรบมือรัวๆ ‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาด ‘โควิด’ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง

อาจารย์หมอจุฬาฯ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง แต่ขอให้ตระหนักว่าการติดเชื้อในระหว่างใช้ชีวิตประจำวันยังมีกันอยู่ต่อเนื่อง การเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องที่น่าพิสมัย ไม่ประมาท