นพ.ธีระเผยข้อมูลจากเมืองผู้ดี ตัวเลขการขาดและลางานในปี 2565 พุ่งสูงสุดในรอบ 18 ปี ซึ่งสัมพันธ์กบโรคโควิด19 ตอกย้ำงานวิจัย Long COVID ทำให้คนจำนวนมากไม่สามารถทำงานได้
27 เม.ย.2566 - นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19 ประจำวันที่ 27 เมษายน 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 56,792 คน ตายเพิ่ม 184 คน รวมแล้วติดไป 686,692,298 คน เสียชีวิตรวม 6,860,995 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส รัสเซีย และเวียดนาม เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.28 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 71.73
...การขาดหรือลางานในสหราชอาณาจักร
ข้อมูลล่าสุดจาก Office for National Statistics (ONS) ชี้ให้เห็นว่า อัตราการขาดหรือลางานจากการเจ็บป่วยในปี 2022 (พ.ศ.2565) ที่ผ่านมานั้น อยู่ที่ 2.6% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับจากปี 2004 เป็นต้นมา หากนับจำนวนวันของการขาดหรือลางานจากการเจ็บป่วย พบว่า ปี 2022 สูงถึง 185.6 ล้านวัน ลักษณะของคนที่ขาดหรือลางานจากการเจ็บป่วยนั้น มักเป็นเพศหญิง วัยทำงานที่อายุมาก รวมถึงคนที่ทำงานด้านการดูแลและอุตสาหกรรมบริการ
...ข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของประชากรที่สูงขึ้น และมีผลกระทบต่อการทำงานทั้งระดับบุคคล และระบบแรงงานในประเทศ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถิติที่สูงขึ้นมากนั้นมีความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากโรคโควิด-19 โดยสอดคล้องกับความรู้พื้นฐานทางการแพทย์ที่เราทราบกันดีว่า มีคนติดเชื้อจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง และการติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหายหรือตาย แต่ทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวอย่าง Long COVID ที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติได้แทบทุกระบบในร่างกาย ทำให้บั่นทอนคุณภาพชีวิต และสมรรถนะในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการทำงาน
งานวิจัยหลายต่อหลายประเทศทั่วโลก รายงานไปในทางเดียวกันว่า Long COVID ทำให้คนจำนวนมากไม่สามารถทำงานได้ ต้องออกจากระบบงาน ขาดรายได้ และต้องตกอยู่ในภาวะพึ่งพิง ในขณะที่ข้อมูลของ ONS ล่าสุดนี้เสริมให้เข้าใจผลกระทบภาพรวมมากขึ้นว่า Long COVID ไม่ได้ทำให้เพียงคนออกจากระบบงาน แต่ยังน่าจะมีส่วนที่จะทำให้คนที่ยังคงอยู่ในระบบงานนั้นทำงานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ ขาดหรือลางานมากขึ้นอีกด้วย
...สำหรับไทยเรา ย่อมมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบเช่นกัน เคสติดเชื้อมีมากขึ้นชัดเจน สังเกตได้จากสถานการณ์รอบตัว ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ระวังที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ไม่แชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
อ้างอิง
Sickness absence in the UK labour market: 2022. Office for National Statistics. UK. 26 April 2023.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วันที่ระลึกวันทรงดนตรี ชมการแสดงเพลงพระราชนิพนธ์ร.9
เป็นประจำทุกปีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จฯ มาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
‘น้ำมันรั่วชลบุรี-ทะเลสีเขียว’ ปลุกแก้ที่ต้นเหตุ
จากเกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล บริเวณตอนใต้ของเกาะสีชัง จ.ชลบุรี กลางดึกวันที่ 3 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลาย ไม่พบคราบน้ำมันในทะเล และไม่พบการเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันบริเวณเกาะสีชัง ตลอดจนบริเวณชายฝั่งตั้งแต่หาดบางพระ
‘หมอธีระ’ เตือนรัฐบาลเร่งขันน็อต ’ฝีดาษลิง’ ดึงสถานประกอบการ-ประชาสังคมร่วมมือ
หากอุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยวเป็นหัวใจในการหาเงินเข้าประเทศ รัฐบาลควรเร่งขันน็อตเรื่องการควบคุมป้องกัน เพราะลำพังรัฐคงทำไม่ได้
'หมอธีระ' เผยโควิดสายพันธุ์ BA.2.86 เริ่มแพร่มากขึ้น!
'หมอธีระ' เผยโควิด สายพันธุ์ BA.2.86 เริ่มพบมากขึ้น ชี้อาจมีดีพอตัวและมีแนวโน้มปรับสมรรถนะแกร่งขึ้น เตือนดูแลตัวเองบนความไม่ประมาท เพราะ Long COVID ก็มีข่าวผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ
อาจารย์จุฬาฯ ถามรัฐบาลจะชายตาดูปัญหาน้องหยกไหม!
'อาจารย์ไชยันต์' ถามรัฐบาลเศรษฐาจะชายตาลงมาดูปัญหาร้องหยก และปัญหาเยาวชนบ้างไหม