21 ธ.ค. 2564 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat”
21 ธันวาคม 2564 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 504,533 คน ตายเพิ่ม 4,515 คน รวมแล้วติดไปรวม 275,679,051 คน เสียชีวิตรวม 5,375,510 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา สหราชอาณาจักร รัสเซีย สเปน และเยอรมัน จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.82 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 91.33
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 54.84 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 63.12
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 12 ใน 20 อันดับแรกของโลก
…สำหรับสถานการณ์ไทยเรา
เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 2,525 คน สูงเป็นอันดับ 29 ของโลก
หากรวม ATK อีก 469 คน ก็ขยับเป็นอันดับ 25 ของโลก
ยอดรวม ATK จะเป็นอันดับ 5 ของเอเชีย
…อัพเดต Omicron
จากที่มีการติดตามการระบาดของประเทศแอฟริกาใต้ อังกฤษ สก๊อตแลนด์ เดนมาร์ก และเบลเยี่ยม ได้มีการประเมินว่า Omicron น่าจะแพร่ได้เร็วกว่าเดลต้าราว 4.1 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่น 3.9-4.4 เท่า)
สรุปความรู้อื่นๆ ที่ได้จากการวิจัยของทั่วโลก ทำให้เข้าใจ Omicron ได้มากขึ้น
หากติดเชื้อไปแล้วจะแบ่งตัวที่หลอดลมได้เร็วกว่าเดลต้า 70 เท่า
ติดเชื้อสู่เซลล์ได้เร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 4 เท่า และเร็วกว่าเดลต้า
แต่แบ่งตัวในเซลล์ปอดน้อยลงกว่าเดลต้า 10 เท่า ซึ่งอาจมีนัยยะสะท้อนถึงการป่วยรุนแรงลดลง (แต่ยังต้องมีการติดตามศึกษายืนยันเพิ่มเติมอีก อย่าประมาท)
ความเสี่ยงในการแพร่ในครัวเรือนมากกว่าเดลต้า 2.9 เท่า
ติดเชื้อซ้ำได้มากขึ้นกว่าสายพันธุ์เดิม 2.4 เท่า (ทั้งนี้ มีการศึกษาในสหราชอาณาจักรโดย Imperial College พบว่าความเสี่ยงมากกว่านี้)
ดื้อต่อภูมิคุ้มกันกว่าสายพันธุ์เดิม 20-40 เท่า
ดื้อต่อโมโนโคลนัล แอนติบอดี้หลายชนิดที่ใช้ในการรักษา
นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราการป่วยนอนรพ. และอัตราตายในจังหวัด Gauteng ของแอฟริกาใต้ ระหว่างการระบาดระลอกแรกจากสายพันธุ์ดั้งเดิม กับระลอก Omicron พบว่าในช่วงระยะเวลาการระบาดที่เท่ากัน ระลอก Omicron มีอัตราการป่วยนอนรพ.และอัตราตายเฉลี่ยรอบสัปดาห์ที่สูงกว่าระลอกแรก ซึ่งบ่งชี้ว่าความรุนแรงนั้นน่าจะมากกว่าระลอกแรก ทั้งนี้คงต้องรอดูผลการศึกษาในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วยว่าจะเป็นอย่างไร
วันก่อนได้นำเสนอเรื่องรัฐวอชิงตันของอเมริกา ที่พบว่า Omicron ใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ ก็สามารถถีบตัวขึ้นมาครองการระบาดในรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาได้ จาก 0.6% ตอน 1 ธันวาคม ขึ้นมาเป็น 50.8% ณ วันที่ 14 ธันวาคม
ล่าสุดข้อมูลจาก Mads Albertsen, Denmark ชี้ให้เห็นลักษณะคล้ายกับรัฐวอชิงตัน โดยสัดส่วนการตรวจพบ Omicron ในเดนมาร์ก เพิ่มจาก 0.5% ณ 30 พฤศจิกายน 2564 ไปเป็น 46.9% ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2564 ใช้เวลาราวสองสัปดาห์เช่นกัน
ดังนั้น การที่ประเทศต่างๆ ทยอยตรวจพบ Omicron ตั้งแต่จำนวนน้อยๆ ในประเทศ รวมถึงประเทศไทยเรา จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวล และจำเป็นจะต้องพิจารณานโยบายและมาตรการควบคุมป้องกันโรคที่เคร่งครัด รัดกุม อย่างทันเวลา
เพราะเวลาเกิดระบาดขยายตัวขึ้นมานั้นจะรวดเร็วมากจนยากจะไล่ตามทัน
สำหรับประชาชน ขอให้ตระหนักถึงภาวะคุกคามนี้ และป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด
ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า
เว้นระยะห่างจากคนอื่นเสมอ เกินหนึ่งเมตร
เลี่ยงการตะลอนท่องเที่ยว
เลี่ยงปาร์ตี้สังสรรค์คริสตมาสและปีใหม่ ฉลองกับคนในบ้าน จะปลอดภัยกว่า
“…ควบคุม มิใช่ติดตาม
สุขภาพ มิอาจต้านทาน
มัวเมา โง่เขลา มิอาจรู้
ประเทศชาติ มิอาจละเลย…”
ด้วยรักและห่วงใย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์จีโนมฯ แนะนำ JN.1.4 โอมิครอนตัวล่าสุดที่จะมาแทนที่ JN.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาดโควิดรอบสัปดาห์ ผู้ป่วยปอดอักเสบมากขึ้น
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2023 เป็นต้นมา และเป็นการเพิ่มอย่างต่อเนื่องถึง 7 สัปดาห์แล้ว
ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”
'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”
ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86
ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่