'นพ.ธีระ' คาดหลังกลาง ม.ค.ยอดติดเชื้อโอมิครอนพุ่ง

หมอธีระชี้โอมิครอนไทยติดอันดับ 13 ของโลก เชื่อหลังกลางเดือน ม.ค.จะมีอัตราเร่งการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แนะอย่าบ้าจี้ติดเชื้อแล้วสร้างภูมิกันหมู่ เพราะไม่ใช่วัคซีนธรรมชาติ

05 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 5 มกราคม 2565 ว่าทะลุ 295 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,983,537 คน ตายเพิ่ม 5,830 คน รวมแล้วติดไปรวม 295,242,257 คน เสียชีวิตรวม 5,472,460 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี และสเปน จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 88.16 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 89.57 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 54.29 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 52.31 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 12 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...อัพเดต Omicron
Omicron แพร่ระบาดไปแล้ว 140 ประเทศ โดยมี 17 ประเทศที่รายงานมากกว่า 1,000 ราย

...สำหรับสถานการณ์ไทย จำนวนเคส Omicron สะสม 2,062 คน เป็นอันดับ 13 ของโลก

...เปรียบเทียบความเสี่ยงในการติดเชื้อจนต้องนอน รพ.ของแต่ละสายพันธุ์ Ratcliff J จากมหาวิทยาลัย Oxford ได้ทบทวนข้อมูลวิชาการและชี้ให้เห็นว่า ความเสี่ยงในการป่วยจนต้องนอน รพ.ของโรคโควิด-19 นั้น ของแต่ละสายพันธุ์ จะพบว่า เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม Wuhan แล้ว สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง Omicron มีความเสี่ยงที่ติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนรักษาใน รพ. มากกว่าถึง 1.4 เท่า หรือ 40% ในขณะที่อัลฟานั้นมากกว่า Wuhan ราว 1.7 เท่า และเดลตาราว 2.4 เท่า

...วัคซีนช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ดังที่เราทราบกันมาแล้วว่า การฉีดวัคซีนจะช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรงได้ เพราะจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งในน้ำเลือด ที่เรียกว่า แอนติบอดี้ และภูมิคุ้มกันระดับเซลล์

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีงานวิจัยถึง 6 ชิ้น จากทั่วโลก ที่ศึกษาผลของวัคซีนต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ได้ และอยู่ได้นานถึง 6-8 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่ศึกษา และอาจนานกว่านั้น โดยภูมิคุ้มกันระดับเซลล์นี้สามารถต่อสู้กับเชื้อสายพันธุ์ Omicron ได้ด้วย (เครดิตตาราง: Topol E)

ภูมิคุ้มกันระดับเซลล์นี้เชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรง นี่ถือเป็นสัญญาณที่ดี และเป็นข้อมูลที่สนับสนุนให้มีการฉีดแก่ประชาชน

...สำหรับประชาชนไทย ขณะนี้เราเห็นชัดเจนว่า Omicron ระบาดหนักขึ้นเรื่อยๆ ถัดจากกลางเดือน คาดว่าจะเป็นช่วงอัตราเร่งของการระบาด (acceleration phase) การป้องกันตัวเองและสมาชิกในครอบครัวนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง อย่าหลงเชื่อกับการหวังจะได้ประโยชน์จากการติดเชื้อ ว่าไม่รุนแรง และหวังจะได้ภูมิคุ้มกันหมู่ เพราะการติดเชื้อไม่ใช่การฉีดวัคซีนธรรมชาติ มีโอกาสป่วยรุนแรง และเสียชีวิตได้

นอกจากนี้การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นจะมีผลกระทบระยะยาว ที่เรารู้จักกันในชื่อ Long COVID ซึ่งส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายทั้งสมอง หัวใจและหลอดเลือด ทางเดินอาหาร หรือภาวะทางจิตได้ในระยะยาว สายพันธุ์อื่นๆ ก่อนหน้านี้มีโอกาสเกิดได้ถึง 20-40% แต่สำหรับ Omicron เรายังไม่มีข้อมูล ดังนั้นจึงไม่ควรประมาท ได้ไม่คุ้มเสียครับ ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า อยู่ห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร เลี่ยงที่แออัด ถ่ายเทอากาศไม่ดี หมั่นสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากไม่สบาย ควรหยุดเรียนหยุดงานและรีบตรวจรักษา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จุฬาฯ' จับมือ 'ช่อง 7HD' สร้างสรรค์สื่อเพื่อการศึกษา

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ช่อง 7HD สร้างสรรค์สื่อเพื่อการศึกษาและสังคมยั่งยืน ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สุดคึกคัก มีคณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหาร ผู้ผลิตสื่อในแวดวงบันเทิง ดนตรี กีฬา และแฟชั่น ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามในครั้งนี้มากมาย

'หมอยง' เปิดข้อมูลไข้หวัด hMPV ระบาดในไทย เทียบกับปีก่อน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

จุฬาฯ เปลี่ยน 'สยาม' ให้เป็น 'สนาม' เด็กเล่น จัดงานวันเด็กสยาม 'CHULALAND แดนเด็กเล่น' พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยผ่านกิจกรรมสนุกมากมาย

นางสาวศุภมาศ อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงาน CHULA LAND แดนเด็กเล่น ซึ่งจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น. ที่สยามสแควร์

Siamsquare จัดเวที countdown ใหญ่ ให้วงเยาวชนไทยได้เป็นดาว!! ตอกย้ำการเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของดาวดวงใหม่ของคนไทยทุกดวง

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมส่งท้ายปี 2024 กับเยาวชนและคนไทย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) , อาจารย์ ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย