
'หมอยง' ตอกย้ำการการฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ โดยเฉพาะวัคซีนต่างชนิดกันจะกระตุ้นภูมิต้านทานที่สูงมาก และลดอัตราการเสียชีวิตลงแน่นอน
26 ม.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 การกระตุ้นเข็ม 3 ด้วย วัคซีนต่างชนิดกัน” ระบุว่า การกระตุ้นเข็ม 3 ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องให้ครบหลักการ ตามให้วัคซีนที่มี primary วัคซีน 2 โดส แล้วตามด้วยกระตุ้นเข็ม 3 เพื่อให้ภูมิคุ้มกันได้สูงและอยู่นานขึ้น ตามหลักของการให้วัคซีน วันนี้ขอพูดตามหลักวิชาการมากหน่อย อาจจะเข้าใจยากกว่าทุกวัน
ขณะนี้เริ่มเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การให้วัคซีนเบื้องต้นที่เป็นวัคซีนเชื้อตาย แล้วกระตุ้นด้วยไวรัสเวกเตอร์ หรือ mRNA กระตุ้นภูมิได้สูงมาก มีการศึกษาสนับสนุนออกมามากมาย มาสนับสนุนงานวิจัยที่เราทำมาโดยตลอด เช่น ทีมมหาวิทยาลัย oxford ร่วมกับบราซิล ได้ลงพิมพ์ในวารสาร lancet (https://www.thelancet.com/action/showPdf...) รายงานนี้ก็อ้างอิงผลงานของเรา และยังมีการศึกษาในสวีเดน อินโดนีเซีย ได้ผลกระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงเช่นเดียวกัน
ที่น่าสนใจการศึกษาในประเทศชิลี ถึงประสิทธิภาพการกระตุ้นเข็มสาม หลังจากได้รับวัคซีนเชื้อตาย (CoronaVac) มาแล้ว 2 เข็ม โดยให้เข็มที่ 3 เป็น เชื้อตาย (CoronaVac) virus Vector (AZ) และ mRNA (Pfizer) มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคแบบมีอาการร้อยละ 78.8, 93.2 และ 96.5 ตามลำดับ และป้องกันการเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 86.7, 98.1 และ 96.8 ตามลำดับ รายงานนี้เสนอใน preprint ที่กำลังพิจารณาในวารสาร Lancet https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=4005130
ข้อมูลดังกล่าวได้สนับสนุนผลงานวิจัยที่ศูนย์ได้ทำมาตลอด โดยผลงานของเราลงพิมพ์ในวารสาร https://www.mdpi.com/2076-393X/10/1/86 ได้ผลในรูปแบบเดียวกัน ขณะนี้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และกำลังจะส่งผลงาน ที่มีภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ omicronไปเผยแพร่ในวารสาร ในอาทิตย์นี้อีกหนึ่งเรื่อง และจะมีการเปรียบเทียบให้เห็นว่าการกระตุ้นที่ 3 เดือนและ 6 เดือน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นในการกระตุ้นห่าง 6 เดือนจะได้สูงกว่าภูมิกระตุ้นที่ 3 เดือนหลังเข็ม 2 ของการให้วัคซีนเชื้อตาย แต่ข้อเสียของการกระตุ้นช้า คืออาจจะเกิดการติดเชื้อโรค covid 19 เสียก่อน ส่วนเมื่อกระตุ้นเข็ม 3 แล้ว ภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ omicron สูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มของ AZ และ mRNA
โดยสรุปการให้วัคซีนต่างชนิดกัน จะได้ผลในการกระตุ้นภูมิต้านทานที่สูงมาก ดังจะเห็นได้จากข้อมูลที่กำลังออกมามากมายในระดับนานาชาติทั่วไป และน่าจะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้อย่างแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้โควิดระบาดตามฤดูกาล ฉีดวัคซีนเหลือปีละครั้ง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การระบาดจะเป็นแบบเข้าสู่ฤดูกาล ต่อไปจะฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้ง
'นพ.ธีระ' เผยโลกกำลังจับตาวัคซีนโควิดชนิดพ่นทางจมูก!
'หมอธีระ' แจงข้อมูลโควิดโลก เผยผลวิจัยแดนปลาดิบชี้ BA.5 ออกอาการเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์อื่น บอกโลกกำลังจับวัคซีนชนิดพ่นทางจมูกว่าจะใช้ทดแทนแบบฉีดได้ดีแค่ไหน
คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดีอธิบายต้นตอทำไม WHO ยังเตือนเรื่องโควิด
คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีไขข้อข้องใจทำไม WHO ยังเตือนเรื่องโควิด19 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เหตุมาจากการกลายพันธุ์จำนวนมาก แต่ยังดีวัคซีนทั้งแบบฉีดและกินเอาอยู่
'นพ.ธีระ' ยกวิจัย 'สหรัฐ-อาร์เจนตินา' ชี้โควิดทำเด็กเสี่ยง Long COVID
'หมอธีระ' ยกผลวิจัยเมืองมะกัน-อาร์เจนตินาเตือนเรื่อง Long COVID ในเด็กและเยาวชน สหรัฐเผยเป็นสาเหตุทำให้เก็ดเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ส่วนอาร์เจนฯ ระบุ 1 ใน 3 เด็กติดเชื้อเจอภาวะลองโควิด
หมอธีระ เปิดข้อมูลเทียบ Long COVID ระหว่างก่อนเดลต้า เดลต้า และ Omicron
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat” 31 มกราคม 2566
'หมอยง' เปิดผลวิจัยติดโควิดซ้ำ เทียบกับป่วยครั้งแรก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การติดเชื้อซ้ำความรุนแรงของโรคลดลง