‘ตรัง’ ยังไม่พร้อมประกาศโควิดโรคประจำถิ่น หลัง ‘กลุ่ม 608-เด็ก’ ฉีดเข็มกระตุ้นน้อย

ศบค.ตรัง ยังไม่ประกาศโควิด 19 เป็นโรคประจำท้องถิ่น หลังฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไม่เป็นไปตามคาด กลุ่ม 608และ เด็กยังตายรายวัน ขณะที่สถานบริการ เตรียมยืดเป็นเที่ยงคืน ต้นเดือนหน้า

24 เม.ย.2565-ศบค.ตรัง ได้จัดให้มีการประชุม เพื่อติดตามสถานการณ์โควิด 19 และประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นโรคระบาดประจำถิ่น และการเปิดเรียนแบบออนไซด์ ในวันที่ 17 พ.ค. รวมทั้งการจัดตั้งความพร้อมแพทย์ฉุกเฉิน กรณีเกิดการระบาดของโควิด 19 เป็นกลุ่มก้อน

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จังหวัดตรังมีผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 สะสม 62 ราย เฉลี่ยวันละ 1ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม 608 และกลุ่มเด็ก ส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตยังไม่ได้รับวัคซีน ส่วนการประกาศให้โรคระบาดโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น ถึงวันนี้ยังไม่ประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ เนื่องจากการรับวัคซีนเข็มกระตุ้น ของกลุ่ม 608 และกลุ่มเด็ก 5-11 ปี ยังไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนด คือ 60 % วันนี้วัคซีนเข็มฉีดไปแล้วแค่ 20 % จึงมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้าง จังหวัดตรังอยู่ที่ลำดับ 59

อย่างไรก็ตามแม้สถานการณ์ดีขึ้นก็ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และเว้นระยะห่าง  หรือการปฏิบัติตัวตามคำสั่งของกระทรวงสาธารณสุขเพราะยังมีความจำเป็น ซึ่งขณะนี้มีการประเมินการฉีดวัคซีนควบคู่ไปด้วย เข็มหนึ่งเราได้ 80%  เข็ม 2 ได้ 70% กว่า ๆ ส่วนเข็ม 3 เราได้ 20% ก็ถือว่าพอใจระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามยังเป็นห่วงในกลุ่ม 607 ,608และกลุ่มของเด็กนักเรียนที่จะต้องเปิดเทอม ซึ่งจะมีการพูดถึงการเปิดเทอมเปิดภาคเรียนในวันที่ 17 พฤษภาคม 65 เบื้องต้นที่คุยกับศึกษาธิการจังหวัด ในรูปแบบการเปิดเทอมจะเปิดแบบออนไซด์ 100% แต่มีการกำหนดคู่มือแนวทางการปฏิบัติตัวของนักเรียนและโรงเรียนในการที่จะป้องกัน ในการตรวจATK นักเรียน มาตรการณ์การรับประทานอาหารร่วมกันว่าจะเว้นระยะห่างอย่างไร จะมีการเหลื่อมเวลาอย่างไร แนวทางปฏิบัติอยากให้โรงเรียนทุกจังหวัดปฏิบัติตามคู่มือที่จังหวัดและโรงเรียนที่ร่วมกันร่างร่วมกันกับสาธารณสุขเสนอให้คณะกรรมการโรคติดต่อเห็นชอบเป็นคู่มือแนวทางในการปฏิบัติของนักเรียนและโรงเรียนซึ่งคาดว่าจะเป็นการช่วยลดการแพร่ระบาดและคู่มือดังกล่าวมีแผนเผชิญเหตุเพื่อให้โรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง ได้เตรียมการว่าหากมีการ

ในส่วนการฉีกวัคซีนในกลุ่ม 607,608 ที่มีจำนวนผู้เข้าฉีดจำนวนน้อยจะมีการรณรงค์หรือทำกิจกรรมเข็มไปหาแขน ได้ออกคำสั่งให้ทางสาธารณสุขจังหวัดและนายอำเภอไปแล้วว่า อยากให้กลุ่ม 607,608 ได้ฉีดเข็มกระตุ้น อยากให้ทีม อสม. ผู้ใหญ่บ้านไปเคาะประตูบ้าน ทำเชิงรุกไปพบประชาชนชี้แจงถึงประโยชน์ของการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ที่สามารถลดความรุนแรงของการเสียชีวิตหรือลดความรุนแรงในกรณีที่เราติดได้ เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารที่พี่น้องประชาชนได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยจังหวัดตรังมีผู้ใหญ่ใจดีมอบเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เงินสด มาร่วมชิงโชคให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมีคูปองจับฉลากชิงโชค มีการสัมภาษณ์ผู้ที่ฉีดเข็ม 3 เข็มกระตุ้น ว่าเป็นไปตามข่าวลือหรือไม่ อย่างฉีดแล้วอ่อนแรง หรือมีผลกระทบข้างเคียง ซึ่งก็ได้รับคำยืนยันจากกลุ่ม 607,608ว่าไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด ซึ่งยืนยันว่าข่าวลือที่มีผลกระทบไม่เป็นความจริง จึงขอเชิญกลุ่ม 607,608มาฉีดเข็มกระตุ้นเป็นการป้องกันตัวเราในการแพร่ระบาดโควิดไม่ให้ถึงแก่ชีวิต ตนเชื่อมั่นว่าเข็มกระตุ้นจะช่วยป้องกันได้เป็นอย่างดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล