พบ 'หอยทากจิ๋ว' เขาโต๊ะกรัง นักวิชาการชี้หายาก หวั่นสัมปทานเหมืองหินทำลายสิ้น

20 พ.ย.2564 - ผศ.พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า จากการสำรวจความหลากชนิดของหอยทากจิ๋ว บริเวณเขาโต๊ะกรัง จ.สตูล เปรียบเทียบกับพื้นที่เขาอื่น ๆ ในจังหวัดสตูล ได้แก่ เขาหินปูนใน อำเภอละงู ทุ่งหว้า พบว่า พื้นที่บริเวณเขาโต๊ะกรัง มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอยทากจิ๋ว ซึ่งพบความหลากชนิดของหอยทากจิ๋วมากกว่า 10 ชนิดซึ่งจัดว่ามีความหลากหลายมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ที่สำรวจ บ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสะท้อนถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่

ผศ.พงษ์รัตน์ กล่าวว่า ในการสำรวจครั้งนี้พบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับหอยทากจิ๋วในพื้นที่เขาโต๊ะกรัง ได้แก่ 1.หอยกาน้ำสีส้มสันขาว (Plectostoma sp.) หอยชนิดนี้ยังไม่สามารถระบุชนิด หรือระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้ในขณะนี้ การกระจายเฉพาะเขาโต๊ะกรังเท่านั้น ไม่พบการกระจายในพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดสตูล และประชากรที่พบมีจำนวนไม่มากนัก จัดเป็นชนิดพันธุ์ที่มีความจำเพาะต่อพื้นที่และอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น การค้นพบหอยชนิดนี้ จัดเป็นรายงานครั้งแรกของประเทศไทย และจังหวัดสตูล จากการสืบค้นเอกสารต่าง ๆ พบว่าหอยสกุลนี้มีการกระจายมากในประเทศมาเลเซีย แต่พบได้น้อยหรือหาได้ยากในประเทศไทย การค้นพบหอยชนิดนี้ บริเวณเขาโต๊ะกรัง จึงเป็นตัวสะท้อนถึงความสมบูรณ์ และความสำคัญของพื้นที่ ที่ควรอนุรักษ์ไว้สำหรับหอยทากจิ๋วที่เป็นชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น (endemic species) ชนิดนี้

นักวิชาการมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า 2.หอยทากจิ๋วถ้ำที่ยังไม่สามารถระบุสกุลและชนิดได้ พบเฉพาะในถ้ำบริเวณเขาโต๊ะกรัง หอยมีขนาดเล็กกว่า 1 มม. ข้อมูลเกี่ยวกับชีววิทยา อาหารการกินต่าง ๆ ยังไม่มีข้อมูลใด ๆ ยังต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม 3.หอยกระสวยจิ๋ว (Diplommatina spp.) พบหลากหลายชนิด เช่น หอยกระสวยจิ๋วกระบี่ (Diplommatina krabiensis) หอยกระสวยจิ๋วปากร่อง (D. canaliculata) หอยกระสวยจิ๋วฮิดากะ (D. hidagai) เป็นต้น รวมถึงหอยกระสวยจิ๋วที่ยังมาสามารถระบุชื่อได้อีก 2-3 ชนิด หอยเหล่านี้ ปกติทั่วไปมักพบเพียงชนิดเดียวในพื้นที่หนึ่ง ๆ แต่การที่พบหลากหลายชนิดในบริเวณเขาโต๊ะกรัง เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของความสมบูรณ์ของพื้นที่ 4.หอยทากจิ๋วอื่น ๆ ข้อมูลเช่นเดียวกับข้อ 3

ผศ.พงษ์รัตน์กล่าว หอยทากจิ๋ว (microsnails) เป็นหอยทากบกที่มีขนาดของเปลือกเมื่อโตเต็มที่แล้วไม่เกิน 5 มิลลิเมตร สามารถพบได้ตามพื้นที่ที่เป็นภูเขาหินปูน (limestone areas)ในประเทศไทยมีรายงานไว้กว่า 100 ชนิด และส่วนใหญ่เป็นชนิดที่มีความจำเพาะต่อพื้นที่ (endemism) นั่นหมายความว่า ถ้าพื้นที่ที่พบหอยดังกล่าวถูกรบกวนหรือทำลาย หอยทากจิ๋วชนิดนั้น ๆ อาจจะได้รับผลกระทบโดยตรง อาจจะถึงขั้นสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ได้

“หอยทากจิ๋วมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศในแง่ของการเป็นผู้บริโภคลำดับต้น ๆ ในระบบนิเวศ เป็นหนึ่งใน ตัวกลางที่ส่งผ่านธาตุแคลเซี่ยมเข้าสู่ระบบนิเวศ และยังเป็นอาหารให้กับผู้ล่า ทำให้ระบบนิเวศมีความสมบูรณ์มากขึ้น” นักวิชาการผู้นี้ระบุ

อนึ่งชาวบ้านรอบเขาโต๊ะกรัง ต.ควนโดน อ.ควนโดน และ ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล ได้ร่วมกันคัดค้านการให้สัมปทานเหมืองแร่หินเนื่องจากมีการขอสัมปทานเมื่องเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2557 และปัจจุบันยังอยู่ในการพิจารณาของกระทรวงอุตสาหกรรมเหมืองแร่และชาวบ้านได้ยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อขอให้ยกเลิกรายงานเวทีการรับฟังความเห็นประชาชนที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย โดยชาวบ้านกังวลว่าหากมีการทำเหมืองแร่จะเป็นการทำลายแหล่งหอยทากจิ๋วซึ่งเป็นทรัพยากรมีค่าของชุมชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สลด! นิสิตพยาบาล ม.ดัง หูดับเครียดจัด ลงทะเลฆ่าตัวตาย

พันตำรวจเอกพัฒนา รอบรู้ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรแสนสุข รับแจ้งว่าพบหญิงสาวกลายเป็นศพอยู่บริเวณริมชายหาดจุดชมวิว เขาสามมุก

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ช่วย ราษฎร ต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล มีน้ำดื่ม น้ำใช้ ที่สะอาดอย่างพอเพียง

ต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล ภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบเนินเขา สลับกับเทือกเขาสูง ลุ่มน้ำมีความลาดเทจาก ทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา

นักวิชาการเสนอ 'ก้าวไกล' ถอยเป็นฝ่ายค้าน เพื่อปิดสวิตช์ ส.ว.

รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เสนอแนวคิดภายหลังการหารือระหว่างพรรคเพื่อไทยกับ 3 พรรคการเมือง

'หนุ่ม กะลา' เดินข้ามเขา หอบขนมไปให้เด็กๆชาวมันนิ(ซาไก)

ปกติก็ชอบแจกข้าวแจกน้ำให้พี่ๆไร้บ้านแถวถนนราชดำเนินเป็นประจำอยู่แล้ว แต่คราวนี้ไหนๆก็ไปถึงจังหวัดสตูลนักร้องดัง หนุ่ม กะลา หรือ ณพสิน แสงสุวรรณ เลยค้นข้อมูลและพบว่ามีชนเผ่ามันนิ(ซาไก)อาศัยอยู่แถวเทือกเขาบรรทัด เลยตัดสินใจซื้อขนมเดินเท้าทะลุสวนยางพารา ฝ่าเขาไปจนเจอหมู่บ้าน

‘ชาวมันนิสตูล’ หวังให้ ส.ส.ช่วยเรื่องที่อาศัย-ที่ดินทำกิน

นายคะนึง  จันทร์แดง เป็นผู้ที่คอยดูแลกลุ่มชาวมันนิที่อาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดที่เป็นภูเขากันเขตแดนระหว่างจังหวัดสตูลกับจังหวัดพัทลุง