นักท่องเที่ยวแทบสำลัก เจอบิลปลาเผาตัวละ 400 บาท พ่อเมืองเต้นผางสั่งคุมเข้ม ห้ามผู้ค้าฉวยโอกาส ทำลายบรรยากาศท่องเที่ยว
17 เม.ย.2566 - ร้านอาหารในบริเวณหาดแห่หรือทะเลอีสาน แหล่งท่องเที่ยวกลางแม่น้ำโขง ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม กลายเป็นกระแสดรามาขึ้นมาทันที หลังมีผู้ไปท่องเที่ยวพักผ่อนรายหนึ่ง โพสต์ข้อความลงสื่อโซเซียล เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานเกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบ กรณีช่วงเทศกาลสงกรานต์ ได้ไปเที่ยวทะเลอีสานที่ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ที่มีประชาชนไปเที่ยวเล่นน้ำคลายร้อน พร้อมสั่งเมนูอีสานรับประทาน รวมถึงปลาน้ำโขง ยิ่งในช่วงฤดูร้อนจะกลายเป็นสถานที่รองรับผู้มาเที่ยวคลายร้อนเป็นจำนวนมาก สร้างเงินหมุนเวียนสะพัด วันละหลายแสนบาท โดยชาวบ้านในละแวกนั้น พร้อมใจกันจัดพื้นที่หาดทรายกลางน้ำโขง เป็นซุ้มร้านค้า ร้านอาหาร และบริการเช่าอุปกรณ์เล่นน้ำทุกชนิด จนได้ชื่อว่าทะเลอีสาน
ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวผู้ที่ออกมาโพสต์ข้อมูล ระบุข้อความว่าหลังสั่งเมนูอาหาร รวมประมาณ 5 รายการ แต่มีหนึ่งรายการอาหารที่คาใจมาก คือปลานิลเผา เจ้าของร้านเรียกเก็บตัวละ 400 บาท จึงนำสิ่งที่ตนเองประสบมาโพสต์ให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และวางมาตรการป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาอาหารที่แพงเกินจริง
โดยผู้โพสต์ยืนยันไม่มีเจตนาทำลายภาพลักษณ์การท่องเที่ยว แต่ไม่อยากให้เสียชื่อเสียงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด เนื่องจากปลาเผาปกติราคาทั่วไปประมาณตัวละ 120-150 บาท หรือถ้าร้านอยู่ในแหล่งชุมชน ราคาจะอยู่ที่ตัวละ 200 บาทก็ถือว่าแพงสุดแล้ว ตนจึงมีความเห็นว่าแพงเกินจริง แต่ยินยอมที่จะจ่ายตามบิลที่แม่ค้าเรียกเก็บ จึงอยากให้มีการตั้งราคามาตรฐาน ไม่เอาเปรียบลูกค้ามากเกินไป
หลังกลายเป็นประเด็นในสื่อโซเซียล ล่าสุดทางด้านนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนท้องถิ่น ได้ลงพื้นที่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และร่วมวางมาตรการป้องกันแก้ไข แนะนำผู้ประกอบการ พร้อมประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยว ได้ทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการในพื้นที่หาดแห่ ให้มีความมาตรฐานในการรองรับลูกค้า ประชาชน นักท่องเที่ยว
โดยนอกจากมาตรฐานความปลอดภัย จะต้องดูแลเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในราคาที่เหมาะสม พร้อมสั่งให้ติดตั้งป้ายแสดงราคาสินค้า ที่ชัดเจน และแจ้งให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบถึงราคา ก่อนตกลงการซื้อขายอาหาร เครื่องดื่ม หรือเช่าแพริมหาด เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสโก่งราคา ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว พร้อมยังได้กำชับให้ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ร่วมกันกวดขัน ดูแล ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จัดตั้งกองอำนวยการประจำหมู่บ้าน รับเรื่องร้องทุกข์ รวมถึงไกล่เกลี่ย หากพบการจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เหมาะสม หรือผู้ประกอบการไม่ได้ทำการแจ้งผู้ใช้บริการ หรือไม่มีการติดป้ายแสดงราคาที่ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม และแสดงออกถึงความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว อันจะก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคง และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มนพร ถกสภาอุตฯ ยกระดับเศรษฐกิจภาคอีสาน
รมช.คมนาคม จับมือสภาอุตสาหกรรมอีสาน รุกแก้ปัญหาคมนาคม กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดน ยกระดับเป็นเต็งหนึ่งอีสาน
'นครพนม' ดีเปรสชั่นมาตามนัด ระดมเดินเครื่องสูบน้ำรับมือ ผันลงน้ำโขงกันท่วมเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 25 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดนครพนม รวม 12 อำเภอ
'บ้านปากบัง'นครพนมอ่วม! น้ำทะเลสาบหนองหารเกินความจุ
บ้านปากบังวิกฤตทะเลสาบหนองหารเกินความจุ ทะลักลำน้ำก่ำล้นตลิ่ง ท่วมนาข้าวนับพันไร่ โค-กระบือขาดแคลนอาหาร
พระอุปัชฌาย์ 'สารวัตรแบงก์' เผยญาตินำอัฐิไว้วัด 100 วัน ก่อนลอยอังคารลงสู่แม่น้ำโขง
กรณี พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว หรือ สารวัตรแบงค์ หรือเพื่อนตำรวจจะเรียกว่าสารวัตรศิว อายุ 32 ปี นายตำรวจประจำสถานีตำรวจทางหลวง 1 กองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจทางหลวง ถูกนายธนัญชัย หมั่นมากหรือหน่อง ท่าผา ลูกน้องคนสนิทของกำนันนก นายประวีณ จันทร์คล้าย กำนัน ต.ตาก้อง อ.เมือง จ.นครปฐม ใช้อาวุธปืนยิง 7 นัดซ้อนจนเสียชีวิต
เครือข่ายชาวบ้านอีสาน กระทุ้งนายกฯฟังข้อมูลให้รอบด้าน บิ๊กโปรเจ็กต์ผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล
กรณีที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย โดยเมื่อวันที่ 8 กันยายน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตลอดจนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมเขื่อนอุบลรัตน์
นครพนมหวั่นน้ำท่วมหลังเจอฝนเททั้งคืน ชี้นาข้าวเสียหายแล้วกว่า 3 หมื่นไร่
ฝนเททั้งคืนหวั่นท่วมซ้ำ ชป.เร่งระบายน้ำก่ำลงโขง เตรียมเยียวยานาข้าว เสียหายแล้วกว่า 3 หมื่นไร่ มูลค่าไม่น้อย 30 ล้านบาท