เชียงใหม่เห็นชอบแก้ไขทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 'ผ้าตีนจกแม่แจ่ม'

เชียงใหม่เห็นชอบคำวินิจฉัยขอแก้ไขทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 'ผ้าตีนจกแม่แจ่ม' และมีอีกหลายรายการรอคิวประกาศ

10 พ.ค.2566 - ที่ห้องประชุมสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมกันพิจารณาแก้ไขทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผ้าตีนจกแม่แจ่ม ที่ได้มีการขอเปลี่ยนแปลงลวดลายหลักและแผนที่แสดงแหล่งภูมิศาสตร์ ในประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้แทนจากอำเภอแม่แจ่ม เข้าร่วมประชุมผ่านทางระบบออนไลน์

โดยที่ประชุมคณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบ การขอเปลี่ยนแปลงลวดลายหลัก จำนวน 15 ราย เป็น 16 ลาย เนื่องจากเป็นลวดลายดั้งเดิมที่ช่างทอผ้าตีนจกแม่แจ่ม ได้มีการทอกันมาตลอดตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งการขอเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้มีการเพิ่มเติมชื่อภาษาถิ่นในลวดลายผ้าตีนจกแม่แจ่ม 5 รายการ และแก้ไขชื่อลวดลายผ้าตีนจกแม่แจ่ม 3 รายการ รวมถึงได้มีการยกเลิกลายผ้ากุดบ้านแอ่น เนื่องจากไม่ใช่ลายของผ้าตีนจกแม่แจ่ม พร้อมกับขอเพิ่มลวดลายผ้าตีนจกแม่แจ่ม ได้แก่ ลายเจียงแสนน้อย และลายกุดขอเบ็ด ซึ่งเป็นลายที่ช่างทอผ้าตีนจกแม่แจ่มได้มีการทอกันมาตลอดตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้คณะกรรมการยังได้พิจารณาเห็นชอบการขอเปลี่ยนแปลงแผนที่แสดงแหล่งภูมิศาสตร์ อำเภอแม่แจ่ม เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2552 ส่งผลให้จำนวนตำบลของอำเภอแม่แจ่มตามแผนที่แสดงภูมิศาสตร์คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง จากเดิมที่ครอบคลุมทั้งหมด 10 อำเภอ จึงได้มีการขอเปลี่ยนแปลงแผนที่แสดงแหล่งภูมิศาสตร์ อำเภอแม่แจ่มให้เป็นไปตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน คือ 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลช่างเคิ่ง ตำบลบ้านทับ ตำบลกองแขก ตำบลท่าผา ตำบลปางหินฝน ตำบลแม่นาจร และตำบลแม่ศึก

ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการผลักดันให้สินค้าในพื้นที่หลายชนิด ให้ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ขอบคุณทุกหน่วยงานที่ร่วมกันดำเนินงานอย่างเต็มความสามารถ พร้อมขอให้ร่วมกันผลักดันสินค้าอื่นๆ ที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นเป็นสินค้า GI ต่อไปอีกหลายรายการ เพื่อประโยชน์ของคนเชียงใหม่ด้วยกัน โดยเฉพาะคุณค่าทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะต่อยอดทั้งการสร้างอาชีพและรายได้ของประชาชน

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มหกรรมผ้าตีนจก'แม่แจ่ม' โชว์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผ้าตีนจก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการผ้าทอของประเทศไทย และถูกยกให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของอำเภอแม่แจ่ม ด้วยเป็นผ้าซิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนที่อื่น มีความละเอียดปราณีต ลวดลายอ่อนช้อย มีความหมายในตัวเอง

พาณิชย์ขึ้นทะเบียนจีไอ 'ทุเรียนทองผาภูมิ'

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ “ทุเรียนทองผาภูมิ” ผลไม้คุณภาพ มีอัตลักษณ์จากจังหวัดกาญจนบุรี มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชนได้มากขึ้น หลังปัจจุบัน ทำเงินได้แล้วกว่าปีละ 300 ล้านบาท

ขึ้นทะเบียน GI ‘ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา’

“พาณิชย์”ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ “ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา” มั่นใจช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้า สร้างรายได้ให้ชุมชน และมีโอกาสส่งออกขายจีนและมาเลเซียเพิ่มขึ้น เผยราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 190 บาท สร้างรายได้ให้จังหวัดยะลากว่า 2,800 ล้านบาทต่อปี คาดหลังจากนี้ สร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกแน่

'พาณิชย์' ขึ้นทะเบียน GI กล้วยหอมทองพบพระ

“พาณิชย์”ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ “กล้วยหอมทองพบพระ” จ.ตาก มั่นใจช่วยให้สินค้าเป็นที่รู้จัก เพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นมากขึ้น เผยปัจจุบันมีขายอย่างแพร่หลายในท็อปส์ และวิลล่า มาร์เก็ต และยังส่งออกไปได้ถึงญี่ปุ่น สร้างรายได้ให้ชุมชนรวมกว่าปีละ 440 ล้านบาท

พาณิชย์เดินหน้าโปรโมตอาหารที่ใช้วัตถุดิบ GI มาผลิตโดยเซฟมิชลิน

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้าโปรโมต “อาหาร” ที่ใช้วัตถุดิบ GI มาผลิตโดยเซฟมิชลิน ทั้งข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ หอมแดงศรีสะเกษ กระเทียมศรีสะเกษ และเนื้อโคขุนโพนยางคำ จังหวัดสกลนคร คาดช่วยทำให้คนรู้จักสินค้า GI และช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ผลิตมากขึ้น แถมยังเป็นชอฟต์ พาวเวอร์ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ