เริ่มขุดแล้ว! เจอแร่ลิเทียมในสวนปาล์ม อ.ตะกั่วทุ่ง คนแห่ติดต่อขอซื้อ-เช่าที่ดิน

เร่งเจาะหาปริมาณแร่ลิเทียมในอำเภอตะกั่วทุ่ง เจ้าของที่ดินบอกไม่ขัดข้องถ้าทำเหมืองแต่ต้องรับฟังเสียงประชาชนด้วย

24 ม.ค.2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากมีการนำเสนอข่าวเรื่องการพบแหล่งแร่ลิเทียม ในพื้นที่อำเภอตะกั่วทุ่ง จ.พังงา และมีบางสื่อได้นำเนอว่ามีปริมาณของแร่ลิเทียมมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ทำให้กลายเป็นเรื่องทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์ ของชาวจังหวัดพังงาและประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งล่าสุดทางกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกมาชี้แจงข้อมูลเรื่องผลการสำรวจแหล่งลิเทียมในประเทศไทย คำว่า Mineral Resource มีความหมายถึงปริมาณทางธรณีของทรัพยากรแร่ ซึ่งแตกต่างจากคำว่า Lithium Resource ซึ่งหมายถึงปริมาณทรัพยากรโลหะลิเทียม ดังนั้นการนำข้อมูลปริมาณทางธรณีของทรัพยากรแร่ไปเปรียบเทียบกับปริมาณทรัพยากรโลหะลิเทียมของต่างประเทศ จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าประเทศไทยมีปริมาณแร่ลิเทียมมากเป็นอันตับต้น ๆของโลกได้ สำหรับชนิดของแร่ที่พบในประเทศไทยในขณะนี้ เป็นแร่เลพิโดไลต์ (lepidolte) ที่พบในหินเพกมาไทต์(pegnatite) และมีความสมบูรณ์ของลิเทียมหรือเกรดลิเทียมออกไซต์เฉลี่ย 0.459 แม้จะมีความสมบูรณ์ไม่สูงมากแต่ก็ถือว่ามีความสมบูรณ์กว่าแหล่งลิเทียมหลายแห่งทั่วโลก และมีความเป็นไปได้ที่จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการแต่งแร่ที่ความสมบูรณ์ดังกล่าวได้คุ้มค่า

ล่าสุดผู้สื่อข่าวพร้อมด้วยนายสุเทพ ทองวล ประธานสภา อบต.ถ้ำ ลงพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันของนายสุชาติ ขันภักดี บ้านบางทราย ม.2 ต.ถ้ำ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ซึ่งอยู่ในพื้นที่แหล่งแร่ลิเทียมบางอีตำ พบว่าเจ้าหน้าที่กำลังเร่งขุดเจาะเก็บตัวอย่างใต้ดินออกมาเป็นแท่งทรงกระบอก ส่งต่อให้ทางนักธรณีวิทยาวิเคราะห์หาปริมาณของแร่ลิเทียม เนื่องจากทางบริษัทได้รับอนุญาตให้เจาะสำรวจได้ถึงวันที่14 กุมภาพันธ์ 2567นี้

นายสุชาติ ขันภักดี บอกว่า รู้สึกดีใจที่ในพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันของตนเองเจอแร่ลิเทียมในชั้นใต้ดิน ส่วนในประเด็นที่ว่าต่อไปจะมีการทำเหมืองหรือไม่นั้น เป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งต้องว่าด้วยกฎหมายเป็นหลัก และหากจะมีการทำเหมืองในพื้นที่ของตัวเองก็ไม่ขัดข้องแต่จะต้องมีการชดเชยที่พอใจ ส่วนในการทำเหมืองจะมีการฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ ทั้งในเรื่องผลดี ผลเสียในทุกๆด้าน ในขณะที่หลุมที่เจาะเสร็จแล้วและที่เจอตาน้ำบาดาลดี ตนก็เก็บไว้เตรียมไว้ใช้ในหน้าแล้ง

ด้านนางวารุณี สงวนนาม เจ้าของร้านเจ้น้อง อาหารพื้นเมืองพังงา กล่าวว่า ในฐานะคนตำบลกะไหลก็รู้สึกดีใจที่เจอแร่ลิเทียมในพื้นที่ตำบลกะไหล เรื่องแรกก็ทำให้บ้านกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่งเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ หลังจากมีกระแสสำรวจเจอแร่ลิเทียมในพื้นที่ ก็ทำให้ราคาที่ดินในตำบลกะไหลคึกคักขึ้น มีคนติดต่อจะขอซื้อและขอเช่ากันเป็นจำนวนมาก ในส่วนที่ว่าถ้าหากจะมีการทำเหมืองแร่ลิเทียมก็จะต้องรับฟังความคิดเห็นกันทุกฝ่ายทั้งในเรื่องของผลดี ผลเสีย โดยเฉพาะผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เพราะจากที่ได้ยินมานั้นทุกคนต่างก็เป็นห่วงในเรื่องของมลภาวะสิ่งแวดล้อมหากมีการทำเหมืองแร่ในพื้นที่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมู่เกาะสุรินทร์คึกคัก ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก่อนปิดฤดูกาลท่องเที่ยว 15 พ.ค.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศของการท่องเที่ยวทางทะเลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลวันสงกรานต์ปีนี้ มีบรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ แห่เล่นน้ำสงกรานต์ ถนนข้าวดอกข่า เขาหลัก จ.พังงา

ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่บริเวณ หนองมูลตะกั่ว ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงานายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ร่วมทำพิธีรดน้ำขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ ก่อนฉีดโฟมเปิดอุโมงค์น้ำในงานประเพณีสงกรานต์ ถนนข้าวดอกข่า เ

เกาะหูยง อุทยานฯสิมิลัน แหล่งอนุรักษ์เต่าทะเล เผยสถิติเต่าวางไข่กว่า 1 หมื่นฟองต่อปี

กองทัพเรือ ได้จัดทำโครงการ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน โดยมอบให้ ทัพเรือภาคที่ 3 จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เมื่อปี 2538 ซึ่งกำหนดจุดอนุบาลเต่า ทะเลจำนวน 2 จุดพื้นที่แรกเป็นการอนุรักษ์เพราะฟักไข่เต่าในพื้นที่เกาะ