นักวิชาการแนะแก้ 'แม่น้ำสาย' ขุ่นขาว หวั่นเปื้อนสารพิษ ติดตั้งจุดตรวจร่วมไทย-เมียนมา

กรณีประปาแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีปัญหาขุ่นขาวและมีความกังวลว่าจะสารพิษหรือโลหะหนักเจือปน อยู่ระหว่างการตรวจสอบของการประปาส่วนภูมิภาค นักวิชาการแนะนำแก้ไขปัญหาระยะยาวร่วมกันในการติดตั้งจุดตรวจวัดร่วมกันของสองประเทศ เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน

6 กุมภาพันธ์ 2567 - ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่ายการบริหารการจัดการน้ำ/นักวิจัยอาวุโสสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม(SEI) กล่าว การแก้ไขปัญหาระยะยาวของประปาของอำเภอแม่สายควรเป็นความร่วมมือของ 2 ประเทศที่ควรจะมีการติดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำร่วมกัน เนื่องจากแม่น้ำสายมีต้นทางมาจากประเทศเมียนมาผ่านมายังชายแดนไทย-เมียนมา ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำโขง สถานีสูบน้ำประปาภูมิภาคแม่สาย อยู่เหนือเมืองท่าขี้เหล็กโดยปกติมีปัญหาทั้งเรื่องน้ำแห้งในหน้าแล้ง ต้องการมีการทำฝายเพื่อที่ประปาจะสูบน้ำได้ และการมีตะกอนทรายในหน้าฝน ฤดูน้ำหลาก อย่างไรก็ตามเท่าที่เคยลงพื้นที่ศึกษาเก็บข้อมูล แหล่งน้ำประปาจากน้ำสาย การปนเปื้อน และน้ำเสียจะมีที่มาจากโรงแรม ชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีการขยายตัวของชุมชนและที่พักร้านอาหาร สถานบันเทิง และอีกแหล่งหนึ่งคือพื้นที่เกษตรที่มีการใช้สารเคมีแบบเข้มข้นที่ต้องทำระบบบำบัดน้ำเสีย

ดร.ธนพลกล่าวว่า ส่วนเรื่องสารเคมี และโลหะหนักจากเหมืองแร่นั้น เท่าที่เคยลงพื้นที่ยังไม่มีข้อมูลเชิงลึกในเรื่องแหล่งที่มาว่าจะเป็นจุดไหนตรงไหน เพราะฉะนั้นคำแนะนำ มี 2 แนวประกอบกัน คือ แก้ในประเทศ และการแก้ร่วมกัน ซึ่งการแก้ในประเทศโดยการหาข้อมูลจากระบบในประเทศที่ทำได้ทันคือการเช็คน้ำดิบน้ำธรรมชาติก่อนเข้าสู่การผลิตของประปาภูมิภาค และน้ำหลังการกรองจากโรงบำบัดการกรอง ว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และการตรวจวัดในแต่ละจุดที่น้ำออกมาที่ประชาชนนำมาใช้ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เห็นว่าระบบประปามีข้อผิดพลาด ท่อรั่วและเสียหาย มีสิ่งปนเปื้อนตรงไหนหรือไม่ ส่วนการแก้ร่วมกันของ 2 ประเทศ คือ การพูดคุยกันผ่านเวที TBC ไทย-เมียนมา

“หากเหตุที่เกิดเกินกว่าอำนาจรัฐบาลท้องถิ่น และหน่วยงานท้องถิ่น ก็ต้องนำเสนอต่อกระทรวงต่างประเทศ และรัฐบาลส่วนกลาง ซึ่งต้องมีการบันทึกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การเจรจาในการแก้ปัญหา ทั้งแบบทวิภาคี หรือเวทีร่วม เช่น เวทีความร่วมมือ อิรวดี เจ้าพระยา แม่น้ำโขง ในการทำข้อตกลงร่วมกัน”นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมกล่าว

ดร.ธนพลกล่าวว่า แนวทางการดำเนินการที่เกินอำนาจท้องถิ่น สามารถผลักดันได้ 2 แนวทาง ในการแก้ไขอย่างยั่งยืน แนวทางแรก คือ การเสนอผ่านหน่วยงานปกครองท้องที่ ผ่านตำบล อำเภอ จังหวัด ไปยังส่วนกลาง และอีกแนวทางหนึ่ง คือ การนำเสนอปกครองท้องถิ่น ที่เสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหากเกี่ยวกับแม่น้ำระหว่างประเทศ ก็เสนอไปยัง สทนช.(สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ)ได้ ที่สุดท้ายทั้ง 2 แนวทาง จะมีปลายทางที่สำนักนายกรัฐมนตรี เพราะการที่จะแก้ปัญหาระยะยาวได้คือการทำจุดติดตั้งการตรวจสอบคุณภาพน้ำ แต่ละจุด จะทำให้รู้ว่า การปนเปื้อนมาจากแหล่งใดได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำสาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ในหลวง' ทรงตัดหวายลูกนิมิต อุโบสถบุญชุ่มฯ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถบุญชุ่มรัตนปุรี ศรีธรรมราชา วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย

สท. โวยรัฐไม่จริงจังแก้ 'แม่น้ำสาย' ขุ่นขาว คาดเหตุขยายเหมืองทองคำฝั่งพม่า

มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation-SHRF ) ได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสาเหตุที่แม่น้ำสายซึ่งไหลผ่านชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ เมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ขุ่นเป็นสีขาวมาว่า มลพิษในแม่น้ำสายอาจเป็นผลมาจากการขยายเหมืองทองคำภาคตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน

ระดมศิลปินสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแม่น้ำโขง จัดตั้งกองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นายกิตติ ตรีราช ผู้จัดการนาคาสตูดิโอ เปิดเผยว่าระหว่างวันที่ 3-9 มีนาคม 2567 โฮงเฮียนแม่น้ำโขงร่วมกับนาคาสตูดิโอได้จัดทำโครงการศิลปะวิถีแห่งสายน้ำของ โดยการชักชวนและพาศิลปิน 15 คนที่ทำงานเชื่อมโยงก

'ผู้เฒ่าไทลื้อ' สุดปลื้มได้บัตรประชาชนไทย เผยดีใจยิ่งกว่าถูกรางวัลที่ 1

นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่สาย เป็นประธานในพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชน “ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ” ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้แปลงสัญชาติเป็นไทยของคนต่างด้าวที่เป็นชนกลุ่มน้อย ทำให้บุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลสัญชาติไทย

'ชาวแม่สาย' สุดงง! หลายหน่วยงานรับรองใช้น้ำประปาได้ แต่สธ.ให้หลีกเลี่ยง ปมเหมืองแร่ฝั่งพม่า

ความคืบหน้ากรณีแม่น้ำสายซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชาว อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีสีขาวขุ่นที่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุและพิสูจน์ได้ชัดเจน แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นผลจากการทำเหมืองทองและเหมืองแมงกานีส