
ทุกพรรคมีเวลาเท่ากัน นับจากนี้เกือบ 2 เดือนเต็ม เริ่มหาเสียงให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ของตัวเอง
สแกน “พรรคประชาธิปัตย์” เคยครองใจคนกรุงเทพฯ และคนใต้ทั้งในการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ แต่เมื่อการเลือกตั้งใหญ่ ส.ส.ครั้งที่ผ่านมา ภายใต้การบริหารของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” พื้นที่กรุงเทพฯ “ประชาธิปัตย์” หมดเกลี้ยง ส่วนแดนสะตอก็มี “พรรคภูมิใจไทย” และ “พรรคก้าวไกล” แบ่ง ส.ส.ไป ซึ่งครั้งนั้น “อภิสิทธิ์” รับผิดชอบโดยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค
พอเลือกผู้นำพรรคใหม่ ได้ “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” เป็นหัวหน้า และมี “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” เป็นเลขาธิการพรรค ดังนั้นเวทีเลือกตั้งพ่อเมือง กทม. และ ส.ก. จึงเป็นสนามสำคัญที่ “จุรินทร์” และ “เฉลิมชัย” จะได้แสดงฝีมือ และทำให้เห็นว่าประชาธิปัตย์ “ขาขึ้น” จริงตามที่ผู้บริหารพรรคพร่ำบอก แต่ก็ต้องยอมรับว่าภารกิจกอบกู้พรรคครั้งนี้ใหญ่หลวงและหนักอึ้ง คนในพรรคจะต้องออกแรงและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
โดยเมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา พรรคจัดสัมมนาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และผู้อำนวยการศูนย์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก.ประจำเขต มีการตอกย้ำวิสัยทัศน์ “ผู้นำประเทศ ผู้นำเมือง” บริหารกรุงเทพฯ เสมือนเป็น Mini Thailand ด้วย 3 นวัตกรรมทางการบริหารจัดการกรุงเทพฯ ประกอบด้วย นวัตกรรมตัวที่ 1 มีคณะรัฐมนตรี กรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ มีปัญหาเพิ่มเติมขึ้นมากมายหลายด้านมากกว่าในอดีต โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ
นวัตกรรมตัวที่ 2 คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนกรุงเทพฯ (กรอ.กทม.) เพื่อเป็นเวทีสร้างการมีส่วนร่วมให้กับทุกภาคส่วนได้มาทำงานร่วมกับผู้บริหารกรุงเทพฯ และ นวัตกรรมตัวที่ 3 การบริหารจัดการแบบเกรทเตอร์ แบงค็อก (Greater Bangkok) หรือคณะกรรมการบูรณาการ กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจะต้องทำงานประสานกับปริมณฑลอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังมอบภารกิจให้กับ ส.ก. เป็น “ส.ก.พลัส” คือต้องทำหน้าที่ ส.ข.ควบคู่ไปด้วย
ขณะเดียวกัน “ดร.เอ้” สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามประชาธิปัตย์ วางตัวเป็นกูรูด้านน้ำท่วม ที่ผ่านมาควง ส.ก.ของพรรคลงพื้นที่แทบจะทุกเขตในกรุงเทพมหานคร สำรวจปัญหาประตูระบายน้ำ คูคลอง
แต่ก็ต้องบอกว่าการเลือกตั้ง 22 พ.ค.ที่จะถึงนี้ เป็นงานหินสำหรับ “ประชาธิปัตย์” เพราะไม่ว่าสถาบันต่างๆ จะสำรวจความนิยมในช่วงใด ชื่อ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” อดีต รมว.คมนาคม ที่ลงในนามอิสระ และมีพรรคเพื่อไทยคอยส่งกำลังใจให้ ยังคงเต็ง 1 ในทุกโพล แม้ “ชัชชาติ” จะโดนโจมตีเรื่องตอนเป็นเสนาบดีไร้ผลงาน แต่ก็ไม่มีความชั่วปรากฏ ทั้งยังมีบุคลิกเป็นนักบริหาร นักวิชาการไปพร้อมๆ กัน
ในทางกลับกัน ตัวผู้สมัครของประชาธิปัตย์ เรียกว่าตั้งแต่เปิดตัวก็ถูกตั้งคำถามถึงการทุจริตและความโปร่งใสบัญชีทรัพย์สิน และยังมีกระบวนการพยายามทำให้ภาพ “ดร.เอ้” เป็นคนขี้โม้ ที่เห็นง่ายๆ เลยก็คือ ปมเรียนกับอาจารย์ ที่เป็นหลานของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์”
ประการต่อมาที่ทำให้ “ประชาธิปัตย์” ยังคงตกที่นั่งลำบากคือ การแย่งคะแนนเสียงในฐานเดียวกัน เพราะรอบนี้มีทั้งจากกลุ่มรักษ์กรุงเทพฯ ของ “อัศวิน ขวัญเมือง” และกลุ่มของ “สกลธี ภัทธิยกุล”
ประการสุดท้ายมาจาก “คนในพรรค” ที่ทำตัวเป็นกรวดในรองเท้าของหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค อย่างกรณีที่ “อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์” ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาต่อว่า “อันวาร์ สาและ” ส.ส.ปัตตานี คอยแซะพรรคและผู้บริหารพรรคนั้น หรือแม้แต่คำพูดของคนที่ลาออกจากพรรคไปที่ย้อนมาทำลายพรรคเช่นกัน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์พรรคได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบไปยังประชาชนทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในสภาพของ “ประชาธิปัตย์”
จนอาจต้องหันไปลงคะแนนให้กับที่พึ่งที่หวังใหม่!!! เว้นเสียแต่ว่า “ประชาธิปัตย์” จะมีหมัดเด็ดมัดใจคนกรุง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บิ๊กตู่-ลุงป้อม กับ "ขุนศึก" ที่รายล้อมใน รทสช.-พปชร.
หลายพรรคการเมืองเร่งเดินเครื่องเพื่อเตรียมเข้าสู่สมรภูมิเลือกตั้ง 14 พฤษภาคมเต็มสูบ ขณะเดียวกันแต่ละพรรคพบว่า แกนนำยังทยอยดึงคนดัง คนมีชื่อเสียงในวงการต่างๆ มาเสริมทัพ เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ที่บางคนอาจไม่ได้ลงสมัคร ส.ส. แต่จะมาทำงานการเมืองเบื้องหลัง คอยสนับสนุนพรรคในช่วงเลือกตั้ง
แผนลับดัน"พีระพันธุ์"เบอร์2 กางโผปาร์ตี้ลิสต์ “รทสช.”
ตอนนี้เริ่มเห็นโผรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ 100 รายชื่อไม่เรียงลำดับของบางพรรคการเมือง เช่น พรรคเพื่อไทย ที่เตรียมส่งไปทำไพรมารีโหวตออกมาให้เห็นบ้างแล้ว ซึ่งกระบวนการดังกล่าวต้องทำให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อที่จะได้เตรียมไปยื่นสมัครต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ได้เปิดให้แต่ละพรรคการเมืองส่งรายชื่อผู้ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อช่วง 4-7 เม.ย.
เลือกตั้งยุคย้ายขั้ว-สลับข้างชิงจัดตั้งรัฐบาลล่วงหน้า 14 พฤษภา.ประชาชนคือผู้ตัดสิน
ภายหลังมีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา โดย กกต.กำหนดวันเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค.2566
สแกนสูตรตั้งรัฐบาล 4 พรรค พปชร.ชู "ลุงป้อม" สกัด "บิ๊กตู่"
ขั้วการเมืองใหม่ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมือง ถูกผลิตขึ้นมาจากบ้านป่ารอยต่อฯ เพื่อขวางพรรคเพื่อไทย (พท.) และ สกัดไม่ให้ บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตจากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รสทช.) กลับมาเป็นนายกฯ รอบ 3
เปิดโรดแมปเลือกตั้ง 2566 ‘กฎเหล็ก’ กกต.คุมหาเสียง
การยุบสภาเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ถือได้ว่าประเทศไทยเข้าสู่โหมดเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ และรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ได้อยู่จนครบวาระ ปลายปากกากลับมาสู่มือประชาชนอีกครั้ง โดยไม่กี่วันที่ผ่านมาคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดโรดแมปการเลือกตั้งไว้เป็นที่เรียบร้อยดังนี้
'วิฑูรย์' กลับมาตายรังเก่า 'แม่พระธรณีบีบมวยผม'
'วิฑูรย์ นามบุตร' หวนกลับรังเก่าประชาธิปัตย์ หลังไขก๊อกไปแล้วเมื่อปี 2564 ฟุ้งพรรคได้ ส.ส.อีสานเพิ่ม