หยั่งกระแส-จับท่าทีสว. ก่อนโหวตนายกฯ 22 ส.ค.

ในทางการเมืองมองได้ว่า การที่ ทักษิณ ชินวัตร เลือกที่จะกลับมารับโทษติดคุก หลังหนีคดีไปร่วม 17 ปี ซึ่งทักษิณ ประกาศว่า จะกลับมาวันที่ 22 ส.ค.นี้ เวลา 9 โมงเช้า โดยจะเข้ามาทางสนามบินดอนเมือง หากไม่มีการยกเลิกหรือเลื่อนไปอีก

 กระแสการเมืองทุกสายมองไปในทางเดียวกันว่า น่าจะเป็นเพราะทักษิณเชื่อมั่น-มั่นใจลึกๆ ว่า ผลการโหวตของที่ประชุมร่วมรัฐสภาวันเดียวกัน คือ 22 ส.ค. แคนดิเดตนายกฯ ของเพื่อไทย เศรษฐา ทวีสิน จะได้รับเลือกจากที่ประชุมรัฐสภาให้เป็นนายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทย

จนทำให้เกิดรัฐบาลเพื่อไทย หลังจากเพื่อไทยว่างเว้นการเป็นรัฐบาล-คุมอำนาจรัฐมาร่วม 9 ปี

จึงเป็นการกลับมาของทักษิณในช่วงรอยต่อ รัฐบาลรักษาการ พลเอกประยุทธ์กำลังลงจากอำนาจ และรัฐบาลเพื่อไทยกำลังเข้าไปมีอำนาจ ซึ่งทำให้กลไกอำนาจรัฐกำลังจะต้องอยู่ใต้การกำกับ-สั่งการของเพื่อไทย ที่ทำให้ทักษิณคงมั่นใจถึงการกลับมาแล้วปลอดภัย-ได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษในฐานะนักโทษวีไอพี 

ทั้งหมดเลยทำให้ทักษิณเลือกที่จะกลับมาก่อนที่จะมีการโหวตนายกฯ ในช่วงประมาณบ่าย 3 โมงของวันเดียวกัน 

แม้บางส่วนจะมองว่า ถึงตอนนี้การจัดตั้งรัฐบาลของเพื่อไทยกำลังเดินหน้าไปด้วยดี หลังรวมเสียง ส.ส.ได้แล้วประมาณ 314-315 เสียง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวไม่นับรวมกับเสียง ส.ส.ประชาธิปัตย์ ขั้นต่ำ 21 เสียงในกลุ่มของเฉลิมชัย ศรีอ่อน ที่จะมีการประชุม สส.กันในวันจันทร์ที่ 21 ส.ค. เพื่อลงมติว่า สส.ประชาธิปัตย์ 25 คนจะลงมติให้ เศรษฐาเป็นนายกฯ หรือไม่ แม้จะพบว่า การตั้งรัฐบาลของเพื่อไทยไม่มีพรรคประชาธิปัตย์อยู่ด้วยแล้วในช่วงหลัง เพราะเพื่อไทยไปยอมจับมือกับพลังประชารัฐ-รวมไทยสร้างชาติ ตั้งรัฐบาล แล้วก็ได้เสียงจาก สมาชิกวุฒิสภา ของ 2 ลุง ลุงตู่-ลุงป้อม โดยเฉพาะ สว.สายป่ารอยต่อฯ ที่จะมาช่วยเทเสียงให้เพื่อไทยด้วย หลังพรรค 2 ลุงได้ร่วมรัฐบาล จนทำให้เศรษฐาได้คะแนนเสียงไปถึง 375 เสียง ได้เป็นนายกฯ สมใจ

โดยหากเอาแค่จำนวนเสียง สส. 315 เสียงที่มีอยู่ ไม่นับรวมกับพวก สส.ประชาธิปัตย์ ก็เท่ากับว่าเพื่อไทยต้องการเสียงอีกแค่ 60 เสียงเท่านั้น แต่หากทักษิณ-เพื่อไทย จะยอมเฉือนโควตารัฐมนตรีเพื่อแลกกับความมั่นใจว่า เศรษฐา-ม้วนเดียวจบ ก็อาจยอมดึงประชาธิปัตย์กลุ่มเฉลิมชัยมาเติมเสียงให้อีก ซึ่งหากได้มาสัก 21 เสียงจากกลุ่มเฉลิมชัย ก็เท่ากับเพื่อไทยจะมี สส.ประมาณ 336 เสียง ก็เท่ากับขาดอีกแค่ 40 เสียง ก็ถึง 375 เสียงแล้ว แต่ถ้า เพื่อไทยมั่นใจว่า สว.จะเทเสียงมาให้ วันโหวตนายกฯ ก็อาจไม่จำเป็นต้องเปิดดีลกับกลุ่มเฉลิมชัยก็ได้ แม้จะมีข่าวว่ากลุ่มเฉลิมชัยยังคงพยายามจะขอเข้าร่วมรัฐบาลอยู่ก็ตาม

                    เมื่อเป็นดังนี้ “เสียงโหวตจาก สว.” จึงยังเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลของเพื่อไทย

 ซึ่งจากการตรวจสอบท่าทีของ สว. พบว่าการโหวตนายกฯ รอบนี้ ท่าทีของ สว.ไม่เป็นเอกภาพ หรือเห็นทิศทางที่ชัดเจนเหมือนตอนโหวตพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

สาเหตุอาจเพราะด้วยการจัดตั้งรัฐบาลของเพื่อไทยแตกต่างจากพรรคก้าวไกลค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มพรรคการเมืองจัดตั้งรัฐบาลโดยเฉพาะเพื่อไทย ไม่มีนโยบายแก้ 112 ก็ทำให้ปลดล็อกเงื่อนไขที่ สว.จะนำมาอ้างเป็นเหตุในการไม่โหวตให้เศรษฐา-เพื่อไทย ไปได้หลายสิบคน

 ผนวกกับ สว.หลายคนก็เห็นว่า ขณะนี้ผ่านมา 3 เดือนเศษแล้ว แต่การจัดตั้งรัฐบาลยังไม่เกิดขึ้น หากปล่อยไว้แบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่เป็นผลดีต่อส่วนรวม อีกทั้ง สว.จะถูกมองว่าเป็นอุปสรรค-ปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตย

ขณะเดียวกัน การที่เพื่อไทยจับมือกับพลังประชารัฐ-รวมไทยสร้างชาติ ในการตั้งรัฐบาลจนทำให้เกิดภาพก้าวข้ามความขัดแย้ง ก็ทำให้กระแสสนับสนุนการตั้งรัฐบาลเกิดขึ้นระดับหนึ่ง แม้แต่กับกลุ่มที่ไม่เอาทักษิณ-เพื่อไทยก็ยังรับได้ และสนับสนุนการตั้งรัฐบาลรอบนี้ เพราะทำให้รวมไทยสร้างชาติได้เป็นรัฐบาล มันก็เลยทำให้ สว.สายลุงป้อม-ลุงตู่ก็เลยอยากจะโหวตให้เศรษฐาหลายคนเหมือนกัน ยิ่งเมื่อมีข่าวว่ามีการต่อสาย-ล็อบบี้จากฝ่ายการเมืองในป่ารอยต่อฯ ที่ต้องการให้ สว.ออกเสียงหนุนให้เพื่อไทยตั้งรัฐบาล เพราะลุงป้อมก็รู้ดีว่า ด้วยสังขารตัวเองและการที่พลังประชารัฐมี สส.แค่ 40 คน การจะหวังเป็นนายกฯ มันยากพอสมควร สู้เอาแค่ให้ได้เป็นรัฐบาลก็พอแล้ว ก็เลยทำให้มี สว.หลายคนก็เลยคล้อยตามกับการส่งสัญญาณดังกล่าวมาที่สภาสูง

อย่างไรก็ตาม จุดสำคัญที่ทำให้ สว.หลายคนลังเลใจในการจะโหวตให้เศรษฐา ถึงตอนนี้คงเป็นเรื่องตัวของเศรษฐาเองเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะข้อกล่าวหาจาก ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ว่าเศรษฐามีส่วนรับรู้ในเรื่องการทำนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดินของบริษัท แสนสิริฯ ที่เศรษฐาเคยเป็นซีอีโอ ที่ทำให้ สว.หลายคนชักลังเลใจ หากจะโหวตให้เศรษฐา เพราะมองว่าคำชี้แจงของเศรษฐาที่ออกมายังเคลียร์ตัวเองไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ตลอดจนเรื่อง “บมจ.แสนสิริ” ในยุคเศรษฐาเป็นผู้บริหารบริษัท เรียกเก็บค่าผ่านทางสะพานข้ามคลองพระโขนง ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เป็นต้น

ทั้งหมดเลยทำให้ สว.หลายคนไม่มั่นใจในการจะโหวตให้เป็นนายกฯ เพราะเกรงว่าเศรษฐาที่เป็นนักธุรกิจ หากเข้าไปเป็นนายกฯ จะบริหารประเทศหรือออกนโยบายอะไรที่มีปัญหาในภายหลังหรือไม่ พูดง่ายๆ เกรงจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนทักษิณ ที่เป็นนักธุรกิจแล้วมาเล่นการเมือง และทำให้เกิดปัญหาการเมืองต่างๆ ตามมามากมายจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง

ปมนี้หากจะว่าไป ถ้าตัวเศรษฐาและเพื่อไทยเคลียร์ตัวเองได้ก่อนการโหวตลงมติเลือกนายกฯ ก็น่าจะทำให้ สว.หลายคนไม่ลังเลใจที่จะโหวตให้ แต่ถ้ายังเคลียร์ไม่ได้ ก็อาจทำให้ สว.บางส่วนไม่ลงมติเห็นชอบให้เศรษฐาเป็นนายกฯ ก็ได้

อย่างเช่นท่าทีของ สว.บางส่วนอย่าง ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า บุคคลที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ นอกจากต้องไม่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามแล้ว ยังต้องมี คุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต เพราะการเป็นผู้นำประเทศ ต้องเป็นผู้นำพาองคาพยพของประเทศ เรื่องจริยธรรม ความซื่อสัตย์ของคนจะมาเป็นนายกฯ จึงเป็นเรื่องสำคัญ

ดิเรกฤทธิ์ มองว่า เมื่อตอนนี้เศรษฐามีประเด็นเรื่องในอดีตสมัยเป็นผู้บริหารอยู่บริษัทเอกชน ตามข้อมูลที่นายชูวิทย์นำมาเปิดเผย รวมถึงยังมีกรณี ที่บริษัทดังกล่าวทำสะพานในที่สาธารณะแล้วมีการเรียกเก็บเงินค่าผ่านทาง คิดว่าเรื่องเหล่านี้ต้องมีความชัดเจน ตัวนายเศรษฐาต้องอธิบายได้ว่าตนเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือไม่ได้เป็นบุคคลที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ตามประเด็นที่ถูกกล่าวหา เขาต้องชี้แจงให้ได้ รวมถึงท่าทีซึ่งเพื่อไทยประกาศว่า หากเข้าไปเป็นรัฐบาล จะให้มีการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญและยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฝ่ายเพื่อไทยและนายเศรษฐาต้องตอบคำถามให้ได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ดีอย่างไร ถึงจะมายกเลิก แล้วเรื่องที่จะมาแก้ไข แล้วเป็นประโยชน์กับประชาชนมีอะไรบ้าง แล้วประเด็นดังกล่าวมันสำคัญมากจนไม่สามารถใช้วิธีการแก้เป็นรายมาตราอย่างไร จนต้องไปยกร่างมาใหม่ทั้งฉบับ รวมถึงในเมื่อตอนนี้ก็มีสภาฯ ที่ สส.มาจากการเลือกตั้ง แล้วทำไมไม่ใช้วิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านสมาชิกรัฐสภา ทำไมต้องไปแก้ไข แล้วร่างใหม่ ผ่านการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่กระบวนการต่างๆ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งการที่คนจะมาเป็นนายกฯ แล้วมาประกาศแบบนี้ โดยอาจจะยังไม่มีวิธีคิดที่ชัดเจนออกมาก่อน

ทั้งหมดเป็นข้อสงสัย ข้อกังวล ที่อาจจะไม่ได้รับความเห็นชอบ หากไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน” สว.ดิเรกฤทธิ์ระบุ

ที่จับประเด็นได้ว่า สว.ผู้นี้มองว่า ขณะนี้เศรษฐามีจุดตาย 3 เรื่องที่ต้องเคลียร์ให้ได้คือ "เรื่องการซื้อขายที่ดินของบริษัทแสนสิริฯ, การเก็บเงินค่าผ่านทางของบริษัทแสนสิริฯ ก่อนหน้านี้ และท่าทีของเพื่อไทย ในการจะฉีกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพื่อให้มีการยกร่าง รธน.ฉบับใหม่”

ซึ่ง 3 จุดตายดังกล่าวหากเศรษฐาเคลียร์ได้ เพื่อไทยช่วยแจงจนผ่านไปได้ ก็น่าจะทำให้ได้เสียงหนุนจาก สว.ตามมาเอง จนเศรษฐาได้เสียงโหวตเข้าป้าย 375 เสียง ตามเป้าที่วางไว้ แต่ถ้าเคลียร์ไม่ได้ ก็ไปรอลุ้นกันหน้างาน วันโหวตนายกฯ กันเอาเอง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ถาวร-อดีตอัยการ' เตือน อสส. อย่า 2 มาตรฐานคดี 112 ของทักษิณ

“ทักษิณ”ลุ้น รอด-ไม่รอด-เลื่อน คดี 112 พุธนี้ “ถาวร-อดีตอัยการ”เตือน อย่าเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า หลังอดีตอสส.เคยสั่งเอาผิดมาแล้ว ชี้หากเลื่อนอีกจะถูกมองมีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม

‘เศรษฐา’เป้าหลัก‘พิชิต’เป้ารอง ‘อำนาจเก่า’เขย่า‘แม้ว’แรง

สถิตินายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นพรรคพลังประชาชนจนมาถึงปัจจุบัน กับศาลรัฐธรรมนูญ ลงเอยไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่

'เศรษฐา' ลั่นไม่เสียสมาธิ เตรียมสู้คดีในศาลรธน. พร้อมบริหารราชการไม่ให้หย่อนยานด้วย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า เช้าวันเดียวกันนี้ได้เริ่มพูดคุยกับทีมงานฝ่ายกฎหมายแล้ว เพื่อเตรียมชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยถือว่าเช้าวันนี้ได้เริ่มต้นในการพบปะพูดคุย

'เศรษฐา' เผยทำงานกันเป็นทีม หลังทักษิณแนะประชุม ครม.เศรษฐกิจ 'อนุทิน' ก็ยังพูดเป็นห่วง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่าเป็นคนแนะนำให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เศรษฐกิจ ว่า ครับ ก็มีหลายคนแนะนำ

นายกฯ ติดตามความก้าวหน้าพัฒนาคลองเปรมประชากร ปรับภูมิทัศน์ที่ดินกำแพงเพชร 6

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาที่ดินกำแพงเพชร 6 ณ อาคารสำนักงานสนาม พื้นที่ก่อสร้างสวนสาธารณะ ปตท. เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี