จับตา "โอมิครอน" ลามถึง "เดลตาครอน"

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจทั้งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิสราเอล สำหรับประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้า เพียงไม่กี่สัปดาห์พบผู้ติดเชื้อเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอนทะลุเกินพันคนเข้าไปแล้ว

สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งกำลังจะมาแทนที่สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ในทุกประเทศ ถูกพบเป็นครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้เมื่อเดือน พ.ย. หลังจากนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสายพันธุ์โอมิครอนนี้มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งที่สำคัญอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ การกลายพันธุ์บริเวณ Spike Protein หรือตำแหน่งโปรตีนตรงส่วนหนามบนผิวของไวรัส ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เบตา Beta (B.1.351) ทำให้โควิดสายพันธุ์โอมิครอนสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น              

โดยคำว่า หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน หมายถึง คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติขึ้นมา (Innate Immunity) แต่ก็ยังสามารถติดเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้ได้

 และการกลายพันธุ์บริเวณนอก Spike Protein พบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (Receptor-binding Domain : RBD) การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งนี้มีความคล้ายคลึงกันกับสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายขึ้น แบ่งตัวเก่งขึ้น อีกทั้งยังพบปริมาณความเข้มข้นของเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งนี้ส่งผลให้โควิดสายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่กระจายได้ง่ายและไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ เดลตา

หากถามว่าโอมิครอนจะรุนแรงกว่าเดลตาหรือไม่ คงต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณี กรณีแรกสำหรับคนที่รับวัคซีนแล้ว ตามการรายงานของ WHO ได้ระบุว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้วสามารถรับเชื้อได้ แต่แทบจะไม่มีอาการเลย อาการไม่รุนแรง จมูกยังได้กลิ่น ลิ้นสามารถรับรสได้ ซึ่งต่างกันกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา และพบผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบน้อยมาก รวมถึงเสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนน้อยมากเช่นกัน

กรณีที่ 2 สำหรับพื้นที่ที่มีการพบผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนหนาแน่น เช่น ทวีปแอฟริกา ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีอัตราการฉีดวัคซีนค่อนข้างน้อย จึงทำให้พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งอาจจะมีการรายงานว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเอามาพิจารณาร่วมด้วย

สำหรับไทยในขณะนี้ได้ยกระดับให้เป็นการระบาดระลอกใหม่ (ม.ค.2565) ไปแล้ว นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวง​สาธารณสุข กล่าวถึงการคาดการณ์ใน 3 ฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นตามมาตรการต่างๆ นั้น พบว่าขณะนี้การแพร่โรคค่อนข้างขึ้นมาเร็ว เป็นไปตามเส้นสีเทา คือ พบการติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 15,000-30,000 ราย ซึ่งหากมาตรการที่เรามีอยู่ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างดีก็จะสามารถควบคุมโรคได้ดี

ทั้งนี้ นับจากจบเทศกาลปีใหม่มากลับพบผู้ติดเชื้อมากขึ้นใน กทม. จากข้อมูลการครองเตียงสีเขียวเพิ่ม 30.7% ขณะเดียวกันก็ยังมีข่าวดี เพราะจำนวนการครองเตียงสีเหลืองและสีแดงก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนว่าขณะนี้โอมิครอนใกล้จะเป็นสายพันธุ์ครองเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้จากการที่มีความรุนแรงของเชื้อที่น้อย ก็ทำให้รัฐต้องปรับกลยุทธ์สำหรับการรองรับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการเพิ่มมากขึ้น โดยการให้เข้าระบบ Home Isolation (HI) และ community Isolation (CI) และกลยุทธ์อีกเรื่องสำคัญไม่น้อยคือ การให้คนไทยเข้าถึงเข็มบูสเตอร์โดสให้เร็วที่สุด ให้วัคซีนกระตุ้นภูมิในร่างกายได้อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เริ่มการระบาดของโอมิครอนไม่นาน นักวิจัยในประเทศไซปรัสค้นพบสายพันธุ์ของโคโรนาไวรัสที่รวมกันระหว่าง เดลตา และ โอมิครอน เบื้องต้นตั้งชื่อว่า เดลตาครอน (Deltacron) โดยมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกับโอมิครอน แต่มีจีโนมของเดลตา และพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่นี้ 25 ราย ในประเทศไซปรัส ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางสถิติเผยให้เห็นว่า เชื้อ เดลตาครอน พบในผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าโรงพยาบาล 

จากข้อมูลดังกล่าว ถ้าข้อมูลของเชื้อเป็นไปตามนี้จริงจะเกิดความน่ากลัว เพราะจะมีความรุนแรงมากขึ้น และบวกกับความสามารถของโอมิครอนที่แพร่กระจายได้เร็ว อาจสร้างปัญหาใหญ่ให้กับทุกประเทศก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมคุยกับ GISAID มีรายงานโดยผู้เชี่ยวชาญที่ไซปรัสส่งข้อมูลไปที่ GISAID โดยเป็นข้อมูลจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวพบว่า ใน 24 ตัวอย่างมีการกลายพันธุ์ทั้งในส่วนที่เป็นเดลตาและโอมิครอนอยู่ด้วยกัน แต่จากการตรวจเพิ่มพบส่วนที่เป็นโอมิครอนมีความเหมือนกันหมด แต่ว่าส่วนที่เป็นเดลตามีความแตกต่างกันไป

 “ตรงนี้มีความสำคัญมาก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ใหม่จริงๆ จะต้องตรวจทั้งสองฟากเหมือนกัน ไม่ใช่ตรวจแล้วมีแค่ฟากเดียวที่มีความแตกต่าง เพราะตอนนี้เชื้อเดลตามีสายพันธุ์ย่อยถึง 120 สายพันธุ์ เพราะฉะนั้นที่ไซปรัสสรุปว่า GISAID ยังจัดชั้นการค้นพบ 24 รายนี้เป็นสายพันธุ์เดลตา ไม่ใช่เป็นสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด” นพ.ศุภกิจกล่าว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์บอกด้วยว่า กรณีที่เกิดขึ้นโอกาสที่จะเกิดได้มากที่สุดคือเป็นเรื่องของการปนเปื้อนในสิ่งส่งตรวจ คือติดเชื้อเดลตา แต่ไปปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อโอมิครอน ทำให้พบ 2 สายพันธุ์ในตัวอย่างเดียวกัน อีกหนึ่งอย่างที่อาจจะเป็นไปได้ แต่ไม่มากคือ การติด 2 สายพันธุ์ในคนเดียว ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก แต่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็จะติดตามข้อมูลต่อไป

แต่อย่างไรก็ดี ยังต้องจับตาว่า เดลตาครอน จะมีการแพร่ระบาดมากกว่าเดลตากับโอมิครอนหรือไม่ หรือสายพันธุ์ตัวนี้จะถูกกลืนด้วยความรวดเร็วของการระบาดจากสายพันธุ์โอมิครอน

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดเชื้อตัวใหม่ขึ้นมาอีกสักกี่ตัว แต่เกราะป้องกันที่วัคซีนไม่สามารถมีได้คือ มาตรการส่วนบุคคล โดยการใส่หน้ากากอนามัยสม่ำเสมอ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการเข้าไปคลุกคลีในชุมชน หรือพื้นที่แออัด จะเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยหลีกเลี่ยงความสูญเสียจากโรคเหล่านี้ได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

7 เดือน ‘รัฐบาลเศรษฐา’ เผชิญแรงบีบรอบด้าน!

แม้จะยังไม่ผ่านโค้งแรกในการบริหารประเทศของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เริ่มต้นทำงานได้เพียง 7 เดือน แต่ก็เหมือนถูกบีบจากสถานการณ์รอบด้าน ที่เข้ามาท้าทายความสามารถของผู้นำประเทศ อีกทั้งยังมีภาพนายกฯ ทับซ้อนที่ทำให้นายกฯ นิดดูดร็อปลงไป

'ทักษิณ' เอฟเฟกต์! ส่อทำการเมืองไทยวนลูปเดิม

ช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีประเด็นข่าวร้อนแรงมากมายแค่ไหน แต่มีบุคคลหนึ่งที่ถ้าอยู่ในหน้าข่าวเมื่อไหร่ มักจะสร้างประเด็นดรามาที่ต้องพูดถึงไม่หยุดกับพ่อใหญ่แห่งพรรคเพื่อไทย ทักษิณ ชินวัตร

สว.2567 เสี่ยงได้ วุฒิสภา สายพรรคการเมือง เชื่อมโยงผู้มีอิทธิพลในพื้นที่

เข้าสู่ช่วงเตรียมนับถอยหลังใกล้โบกมือลา สิ้นสุดการทำหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภา ชุดปัจจุบันจำนวน 250 คน ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. แต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี สว.ชุดใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่

หาก ‘ไผ่’ วืด ‘เบนซ์’ เต็งหนึ่งรมต. เสียบแทน ‘โควตากลาง’ พปชร.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ มั่นใจว่าคุณสมบัติของ นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร และกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ยังนั่งเป็นรัฐมนตรีได้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติไม่รับคำร้อง กรณีนายไผ่ขอร้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ถูก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน ละเมิดจนไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีได้ กรณีระบุว่า ขาดคุณสมบัติ

ครม.เศรษฐา 2 ทักษิณเคาะโผ ฉากทัศน์กองทัพยุค "บิ๊กนิด"

ชัดเจนแล้วว่า ครม.เศรษฐา 2 ที่จะเป็นการปรับ ครม.ครั้งแรกของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน จะเกิดขึ้นแน่นอน โดยคาดว่า อาจจะเกิดขึ้นภายในปลายเมษายนนี้ หรือช้าสุดไม่เกินกลางเดือน พ.ค. เว้นแต่มีสถานการณ์แทรกซ้อนทำให้การปรับ ครม.อาจขยับออกไปได้

ลดความเสี่ยง‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ปรับ ครม.เค้นผลงานรัฐบาล

เรือธง ล้มไม่ได้ เพราะมีผลต่อเครดิตของพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรืออนาคต สำหรับโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท