
ศึกเลือกตั้งซ่อม เขต 1 จ.ชุมพร เขต 6 จ.สงขลา และเขต 9 หลักสี่-จตุจักร ใน กทม.ผ่านพ้นไปแล้ว ปรากฏว่า พรรคพลังประชารัฐสะกดชัยชนะไม่เป็น แพ้รวดทั้ง 3 สนาม ปัญหาภายใน พลังประชารัฐ การแก่งแย่ง ช่วงชิงอำนาจ แบ่งเป็นก๊กก๊วน ต่อรองแย่งชิงตำแหน่ง ไปจนถึงการยกพลของ 21 ส.ส.ออกจากพรรค
ไม่เพียงแค่พรรคพลังประชารัฐที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังส่งผลสะเทือนมาถึงรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกด้วยว่า ผลการเลือกตั้งที่ออกมาเป็นการส่งสัญญาณ
คนเบื่อหน่าย ไม่เอาประยุทธ์-พลังประชารัฐ?
หันมามองเกมการเมืองในสภา ฝ่ายค้านเข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นการทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 จากผลหารือวิป 3 ฝ่าย วิปฝ่ายค้าน วิปฝ่ายรัฐบาล และตัวแทนคณะรัฐมนตรีเห็นพ้องร่วมกัน กำหนดวันอภิปราย 17-18 ก.พ. เฉลี่ยวันละ 15 ชั่วโมง รวมแล้ว 30 ชั่วโมง ฝ่ายค้านได้เวลา 22 ชั่วโมง ส่วนฝ่ายรัฐบาลได้เวลาชี้แจงอีก 8 ชั่วโมง
แม้วันเวลาจะไม่ได้ดั่งใจฝ่ายค้าน เพราะอยากได้อย่างน้อย 3 วัน เวลาอภิปรายไม่ต่ำกว่า 36 ชั่วโมง เพราะต่างฝ่ายต่างทันเกม ฝ่ายรัฐบาลทันเกมรู้ทันกันเป็นอย่างดี ระยะเวลาที่ฝ่ายค้านเสนอมาตอนแรก ต้องการที่จะขอมาเพื่อให้ต่อรองอยู่แล้ว ส่วนฝ่ายค้านอยากจะได้วันและเวลาให้มากที่สุด เพื่อเป็นเวทีที่จะให้ขุนพลฝ่ายค้านได้ออกจอ ประจานความล้มเหลวของรัฐบาลประยุทธ์ให้ได้มากที่สุด โดยประเด็นที่ฝ่ายค้านพุ่งเป้าอภิปรายแยกเป็น 4 ประเด็น
1.เรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ ข้าวของแพงทั้งแผ่นดิน ค่าแรงถูก
2.เรื่องโรคระบาดโควิด-19 ที่ระบาดในคน และโรคอหิวาต์แอฟริกา ในสุกร
3.วิกฤตทางด้านการเมือง ในยุคการเมืองใช้เงินเป็นหลัก Money Politic
4.ความล้มเหลวการบริหารราชการแผ่นดิน ก่อให้เกิดปัญหายาเสพติด การทุจริตคอร์รัปชัน ภาวะฝุ่นพิษ PM 2.5 เรื่องเหมืองทองบริษัท คิงเกตส์ฯ เรื่องปัญหาประมง ประเด็นการค้า การลงทุน
นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน และ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ย้ำว่า ‘ฝ่ายค้านได้เวลาในการอภิปราย 22 ชั่วโมง ฝ่ายรัฐบาลได้เวลา 8 ชั่วโมง ฝ่ายค้านจะใช้เวลาให้คุ้มค่าเป็นประโยชน์ สร้างสรรค์ เป็นธรรมที่สุด’
เมื่อดูไฮไลต์ทั้ง 4 เรื่องหลัก ยังเป็นปริศนาเครื่องหมายคำถาม ฝ่ายค้านจะขุดคุ้ยปัญหาอะไรมาเล่นงานรัฐบาล ปัญหาราคาเนื้อหมูแพง ที่เคยคาดกันว่าช่วงตรุษจีนราคาจะยิ่งพุ่งขึ้นสูงไปมาก แต่ปรากฏว่าสถานการณ์ทั้งโรคระบาดในสุกรมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนราคาเนื้อหมูคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี ผลจากการประชุมร่วมกันของผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ มีมติให้รักษาระดับราคาจำหน่ายสุกรขุนมีชีวิตหน้าฟาร์มเกษตรไว้ที่ไม่เกิน 110 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์เข้มงวด ตรึงราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ไม่ให้ปรับราคาขึ้นสูง ที่จะยิ่งเป็นการเพิ่มภาระ ซ้ำเติมประชาชน ไว้ได้ทั้ง 7 หมวด หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดน้ำอัดลม หมวดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หมวดซอสปรุงรส หมวดนมและผลิตภัณฑ์นม หมวดอาหารกระป๋อง และหมวดอาหารสด
เรื่องโควิด ตัวเลขผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้วสูงถึง 69 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ยารักษา โรงพยาบาล ผู้ป่วย อยู่ในภาวะควบคุมได้ อยู่จนระดับน่าพอใจ ไม่มีปัญหาหนักหน่วงเหมือนช่วงปี 2564
ขณะที่ประเด็นบริษัท คิงส์เกตฯ จากเดิมที่ฝ่ายค้านหวังจะเอาผลคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ ในวันที่ 31 ม.ค. มาตามถล่มซ้ำรัฐบาล แต่กลับกลายเป็นว่า ทั้ง 2 ฝ่ายผลออกมาในทางบวก เจรจาคืบหน้าไปได้ด้วยดี ทำให้คณะอนุญาโตตุลาการเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่ที่พอจะมีประเด็น คงเป็นประเด็นการตั้งข้อสังเกตการเจรจาในครั้งนี้มีผลประโยชน์อะไรแอบแฝง หรือว่ารัฐบาลเอาอะไรไปแลกเปลี่ยน หรือไม่
เวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติ เป็นเวทีฝ่ายค้านได้โจมตีการอยู่ในอำนาจอย่างยาวนานของ พล.อ.ประยุทธ์ มาผสมกับผลเลือกตั้งซ่อม กทม.และที่ภาคใต้ ขุดเรื่องเก่า ตัดแปะ ลากโยง ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม เพื่อชี้ให้คนเห็นว่า รัฐบาลบริหารล้มเหลว ประชาชนไม่ให้การยอมรับ
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ระบุว่า
"การอภิปรายครั้งนี้จะไม่มีการลงมติ แต่สิ่งที่เราเสนอข้อเท็จจริง และปัญหาให้รัฐบาลรับทราบในสิ่งที่รัฐบาลมองไม่เป็นปัญหา ข้อเสนอฝ่ายค้านในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เชื่อมั่นว่าฝ่ายค้านแต่ละพรรคจะตบท้ายด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ควรพิจารณาลาออก หรือคืนอำนาจให้ประชาชนได้แล้ว ถ้าอยู่ต่อไปจะเลวร้ายไปกว่านี้ ประเทศชาติจะเสียหายมากกว่านี้"
ประเด็นหลักที่ฝ่ายค้านพุ่งเป้าโจมตี ฝ่ายรัฐบาลแก้เกม ปิดช่องไม่ให้ถูกนำไปขยายแผลทั้งในสภา นอกสภา โดยเฉพาะปัญหาราคาสินค้า ข้าวของแพง ที่กระทบเป็นวงกว้าง
แม้เวทีอภิปราย 17-18 ก.พ. เป็นเพียงเวทีเปิดช่องให้ฝ่ายค้านระบายความอึดอัด ผลจากการอภิปราย ไม่มีการลงมติ ไม่ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางการเมือง แต่ว่ากันว่า ของจริงขอให้ไปจับตาตอนศึกซักฟอกแบบลงมติ ที่น่าจะเกิดในช่วง มิ.ย.หรือ ก.ค. เพราะแว่วๆ มาว่า ตอนนี้กำลังเดินเกมประสาน 21 เสียงที่แยกตัวจากซีกรัฐบาลอย่างหนัก หวังล้มประยุทธ์กลางสภาฯ ให้ได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บิ๊กป้อม' เตรียมลุยเพชรบูรณ์ หลัง พปชร. กวาด ส.ส. ยกจังหวัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 12 มิ.ย.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ มีกำหนดการลงพื้นที่ตรวจ
“ล้างคุก-ตั้งแท่นกม.” รอทักษิณ เช็กข้อมูลก่อนเหยียบไทย
ถึงวันนี้เส้นทางการเมืองของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ในการนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคงไม่สดใสเหมือนช่วงแรกๆ ทำให้ “ดีลรัก” กับ “เพื่อไทย” กับอีก 7 พรรค ต้องย้ำด้วยคำพูดผ่านสื่อบ่อยๆ แต่ดูเหมือนว่าเป็นเพียงการสร้างภาพยื้อกระแส “ด้อมส้ม” ไม่ให้ฟาดงวงฟาดงารายวัน
ขวากหนามผู้นำ ‘พิธา’ มีมากกว่าถือ ‘หุ้นสื่อ’
มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกี่ยวกับกรณีการถือครองหุ้นไอทีวีของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล
โอ้โห! 'พิธา' ได้ทีข่ม 'บิ๊กตู่' ไม่รู้ธรรมเนียมประชาธิปไตย แพ้แล้วไม่โทรยินดีผู้ชนะ
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้แสดงความยินดีกับพรรคก้าวไกลที่ได้ส.ส.มากเป็นอันดับหนึ่งว่า ธรรมเนียมการปฏิบัติของตนกับพล.อ.ประยุทธ์ คงจะต่างกัน ถ้าเป็นใน 8 พรรคจัดตั้งร่วมรัฐบาลเมื่อมีผลการเลือกตั้งออกมาก็มีการโทรพูดคุยกันแสดงความยินดี
"พิธา" หลังพิง 14 ล้านเสียง ดิ้นสู้คลายหุ้น ก่อนโหวตนายกฯ
ชัดเจนแล้วว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล ได้คลายหุ้นไอทีวี 42,000 หุ้น จากการครอบครองของตัวเองไปเรียบร้อย หลังมีกระแสข่าวดังกล่าวออกมาในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา
นายกฯ กำชับกระทรวงเกษตรฯ ให้ข้อมูลเกษตรกรเข้าถึงการดูแลช่วยเหลือจากรัฐ
นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่ได้รับรางวัลเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 พร้อมแสดงความห่วงใยเกษตรกรและชาวนาไทย เพราะถือเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยในการผลิตอาหาร