'ปลัดพณ.' โต้ 'กรณ์' อย่าบิดเบือน ลั่นไม่ใช่หน้าที่พาณิชย์ดูแลค่ากลั่นน้ำมัน

บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร

“ปลัดพาณิชย์” โต้ “กรณ์” อย่าบิดเบือน ลั่นไม่ใช่หน้าที่ “พณ.” ดูแลค่ากลั่นน้ำมัน ชี้ เผือกร้อน มีกพช. ดูแล “นายกฯ” นั่งปธ. “สุพัฒน์พงษ์” เป็นเลขาฯ ย้อนถาม ก.พลังงานกำหนดราคาLPGทำไมราคาน้ำมันถึงโยนให้”พาณิชย์”

21 มิ.ย.2565- เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 16.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ที่สนามบิน Keflavik ประเทศไอซ์แลนด์ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงข้อเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 เข้ามากำกับดูแลค่าการกลั่นน้ำมัน เพื่อช่วยให้ราคาขายปลีกน้ำมันลดลง ว่า น้ำมันเป็นสินค้าเฉพาะ มีข้อกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันฉบับที่หนึ่ง คือ พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มาตรา 6(2) กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ไว้ว่า คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่วางหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงาน โดยให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาและบริหารพลังงานของประเทศ ถ้าดูกฎหมายนี้จะเห็นว่าคนเกี่ยวข้องกับราคาพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นการเฉพาะคือ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และนายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นเลขานุการ ซึ่งการกำหนดราคาหรือการวางหลักเกณฑ์เรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาและบริหารพลังงานแห่งประเทศด้วย เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของกระทรวงพลังงาน

“กฎหมายนี้กำหนดเอาไว้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับราคาพลังงาน อีกทั้งที่ท่านรองนายกฯสุพัฒนพงษ์ ให้ข่าวไว้เมื่อ 2-3 วันที่แล้วว่ากระทรวงพลังงานมีแนวคิดการเก็บเงินเข้ากองทุนพลังงาน พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องคือ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนดไว้ มาตรา 5 ให้มีการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานการณ์วิกฤติน้ำมัน จะเห็นชัดว่าราคาพลังงานเป็นเรื่องที่ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และมาตรา 27 พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนดไว้ว่าผู้ที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คือโรงกลั่น ผู้นำเข้า ก็จะเห็นอยู่แล้วว่ากองทุนมีหน้าที่อะไรในเวลาสถานการณ์วิกฤติ ใครควรเข้ามาบริหารจัดการ และใครที่จะมีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุน คือ ผู้ผลิตน้ำมันในประเทศซึ่งเป็นผู้จำหน่ายน้ำมันด้วย ทั้งนี้การใช้เงินเข้ากองทุนให้เป็นไปตามคณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด ประธาน คือกระทรวงพลังงาน ที่กระทรวงพลังงานให้ข่าวคือการใช้อำนาจตามกฎหมายที่กระทรวงพลังงานรับผิดชอบกำกับดูแลอย่างถูกต้องทางกฎหมายที่สุด กรณีใดๆที่เป็นสินค้าเฉพาะโดยหลักการของกฎหมายต้องไปว่าที่กฎหมายเฉพาะนั้นๆก่อน” นายบุณยฤทธิ์ กล่าว

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวต่อว่า หากมีข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงไม่ใช้ราคาตาม พ.ร.บ.ราคาสินค้าและบริการนั้น ขอเรียนว่าโดยหลักการของกฎหมาย หากมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับเรื่องใด นักกฎหมายย่อมเข้าใจดีว่าต้องเริ่มจากตรงนั้นเพราะกฎหมายกำหนดไว้ให้เห็นชัดเจนแล้ว ถ้าไปดูใน พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติท้ายกฎหมาย จะเขียนไว้ด้วยว่าการบริหารพลังงานของประเทศ กระจัดกระจายตามหน่วยงานต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้มีเอกภาพจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา เพื่อให้การบริหารจัดการเรื่องพลังงานมีเอกภาพ ดังนั้นกฎหมายชัดเจนที่สุด วัตถุประสงค์ ข้อกำหนด ที่มาเรื่องการมีกฎหมายฉบับนี้ ณ เวลานี้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจึงอยู่ตามกฎหมาย 2 ฉบับดังกล่าว เพื่อตอบคำถามหลายข้อโดยเฉพาะในสังคมโซเชียลมีเดีย ขอให้เข้าใจว่าไม่ได้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่แรก

เมื่อถามว่าตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน กกร.โดยตำแหน่ง และในกฎหมายกำหนดให้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าควบคุม ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ต้องดูแลหรือไม่ นายบุณยฤทธิ์ ชี้แจงว่า ทุกวันนี้ LPG มีการประกาศราคาโดยกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงานเป็นคนกำหนดราคา LPG ที่จะมีการปรับขึ้นราคาเป็นขั้นบันไดว่า เดือนละเท่าไหร่ต่อครั้ง เราจะเห็นว่ากระทรวงพลังงานเป็นคนประกาศ ด้วยเหตุผลที่บอกแล้วและใช้เงินกองทุนในเรื่องนั้น วิธีการบริหารโดยใช้กฎหมายที่เขามีอยู่ แต่ถามว่ากระทรวงพาณิชย์ทำอะไรในเรื่องของ LPG หน้าที่กระทรวงพาณิชย์ก็คือเมื่อกระทรวงพลังงานประกาศราคาออกมาแล้ว ใครขายเกินกว่านี้กระทรวงพาณิชย์จับ โดยอาศัยมาตรา 29 คือ ผู้ใดจงใจจำหน่ายราคาสูงเกินสมควร มีโทษผิดพระราชบัญญัติราคา เช่น กระทรวงพลังงานแจ้งราคาถังละ 380 บาท ถ้าใครขาย 400 บาท กระทรวงพาณิชย์จับ เป็นต้น อันนี้เป็นตัวอย่างที่จะเห็นว่า LPG ประกาศราคาโดยกระทรวงพลังงานมาตลอด ดังนั้น คำถามคือ เพราะเหตุใดกระทรวงพลังงานประกาศราคา LPG ได้ แต่พอมาราคาน้ำมันเหตุใดบางคนจึงมาบอกว่าให้กระทรวงพาณิชย์เป็นคนกำกับดูแล

“ผมคิดว่าหน่วยงานราชการทุกหน่วยมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติ กฎหมายใครก็กฎหมายคนนั้น กฎหมายกำหนดความรับผิดชอบอยู่ที่ใดผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ควรที่ผู้ใดจะมาบิดเบือนหลักการนี้” ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'กรณ์' กางกฎหมายอธิบายชัดเจน รัฐบาลกู้ ธกส. มาแจกเงินดิจิทัลได้หรือไม่

นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง แสดงความเห็นถึงโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่รัฐบาลมีแผนกู้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ว่า พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ออกมาตำหนิแผนการกู้จาก ธกส.เพื่อมา #แจกเงินดิจิทัล บอกว่าซํ้ารอย ‘จำนำข้าว’ ในการสร้างหนี้สะสมมหาศาล จนถึงวันนี้รัฐบาลยังไม่ได้ชำระคืนให้ ธกส.

'สุวัจน์' แจงเหตุรับ 'สส.แจ้' ย้ายซบชาติพัฒนากล้า

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา สส.ปราจีนบุรีสมัครเข้าพรรคชาติพัฒนากล้า ว่า ทางพรรคฯโดยนายทะเบียนพรรคฯก็ได้ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆและได้รับเข้าเป็นสมาชิกพรรค

‘กรณ์’ ยกศาล รธน.เยอรมัน วินิจฉัยกู้เงินเกินเพดาน เตือนสติกู้มาแจก

ที่เยอรมัน ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า ‘รัฐบาลทำผิดกฎหมายจากการกู้เงินเกินเพดานเงินกู้ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้’ รัฐบาลอาจอยู่ยากเพราะหลายโครงการที่พรรคร่วมคาดหวังว่าจะได้รับงบสนับสนุนต้องถูกยกเลิกไป

'อรรถวิชช์' ชงปธ.สภาฯ ดันกม.ปฏิรูปเครดิตบูโร แก้หนี้นอกระบบ

'อรรถวิชช์' นำภาคปชช. ยื่นประธานสภาฯ ดัน กฎหมายปฏิรูปเครดิตบูโร แก้หนี้นอกระบบ เลิกแช่แข่งลูกหนี้ ขอ "เศรษฐา" สนับสนุนกฎหมายภาคประชาชนร่วมเป็นวาระแห่งชาติ

ซัดตรง! ‘กรณ์’ ชี้นโยบายแจกเงินหมื่น หวังผลการเมือง อันตรายต่ออนาคตศก.

นโยบายแจกเงินดิจิทัลเป็นนโยบายที่คิดมาไม่ละเอียด หวังผลทางการเมืองมากกว่าการพัฒนา และเป็นแนวนโยบายที่อันตรายต่ออนาคตเศรษฐกิจของเราอย่างมาก

'กรณ์' เตือนรัฐบาลแบกภาระดอกเบี้ยเพิ่ม จากโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท

นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุถึงเรื่อง ว่าด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ กับ ภาระทางการคลัง