กังวลลดลง 'กสิกร' เผยดัชนีครองชีพครัวเรือน พุ่งสูงสุดในรอบ 14 เดือน

ดัชนีการครองชีพครัวเรือน (KR-ECI)พ.ย.65 พุ่งสูงสุดในรอบ 14 เดือน ครัวเรือนไทยกังวลลดลงเกี่ยวกับภาระค่าครองชีพอย่างระดับราคาสินค้าและค่าใช้จ่าย ขณะที่เงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยฉุดรั้งความต้องการใช้จ่ายในช่วงสิ้นปี

11 ธ.ค. 2565 – ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) เดือนพ.ย.65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 35.0 สูงสุดรอบ 14 เดือนจาก 33.8 ในเดือนต.ค. 65 แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ขณะที่ดัชนี KR-ECI 3 เดือนข้างหน้าก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ 36.4 จาก 35.7 ในเดือนต.ค. 65 สะท้อนว่า ครัวเรือนมีความกังวลลดลงเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่าย สอดคล้องกับดัชนีเงินเฟ้อไทยเดือนพ.ย.65 ที่แผ่วลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่ 5.55%

ราคาสินค้าในหลายรายการมีการปรับขึ้นในอัตราที่ชะลอลง เช่น ผักและผลไม้อย่างผักคะน้า ถั่วฝักยาว กระหล่ำปี และข้าว นอกจากนี้ ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศอย่างน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์เดือนต.ค.ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ไทยยังคงตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 35 บาทเป็นเดือนที่ 6 เช่นเดียวกับค่าไฟฟ้าที่ขณะนี้อยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วยถึงเดือนธ.ค. 65 ก็มีแนวโน้มที่อาจถูกตรึงไปจนถึงช่วงต้นปีหน้า ขณะที่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว หนุนให้การบริโภคและการจ้างงานภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ครัวเรือนยังคงกังวลเกี่ยวกับรายได้ในระยะข้างหน้า สะท้อนผ่านดัชนีดังกล่าวที่ปรับลดเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า (กังวลมากขึ้น) โดยมาจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเดือนและผลตอบแทน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว

อีกทั้งในระยะข้างหน้ายังมีแนวโน้มเผชิญปัจจัยที่ท้าทายสำคัญหลายประการจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงที่จะชะลอลง ซึ่งจะฉุดรั้งความต้องการสินค้าจากไทย

ดัชนีการครองชีพครัวเรือนพ.ย. พุ่งสูงสุดรอบ 14 เดือน ประกอบกับปริมาณคำสั่งซื้อจากจีนที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง แม้จีนจะเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด โดยการส่งออกไทยเดือนต.ค.65 เผชิญกับการหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือน

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ภาพรวมการส่งออกไทยปีนี้จะขยายตัวได้ต่ำกว่า 7.8%YoY ที่ประเมินไว้เดิม ซึ่งอาจกระทบต่อภาคการผลิตและการจ้างงานในประเทศ นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ารายได้เกษตรกรในปี 66 อาจหดตัวอยู่ที่ราว 0.8%YoY จากแรงกดดันด้านราคา

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการสังสรรค์และท่องเที่ยวของครัวเรือนในช่วงสิ้นปี 2565 พบว่า ครัวเรือน 38% มีแผนที่จะจัดงานสังสรรค์กับเพื่อนๆ/ ครอบครัว อย่างไรก็ตาม ครัวเรือน 23% ยังไม่มีแผนใด ๆ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่แล้ว และอีก 22% ยังไม่มีแผนเนื่องจากยังไม่ไว้วางใจต่อสถานการณ์โควิด-19

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีจะเพิ่มขึ้น 6.8%YoY
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงการคาดการณ์ต่อค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2565 พบว่า 54% ของครัวเรือนคาดการณ์ว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายในส่วนค่ากินเลี้ยงสังสรรค์ (38%) ค่าซื้อของขวัญจับฉลาก (26%) ค่าทำบุญ (18%) ค่าการเดินทางท่องเที่ยว (17%) และอื่น ๆ อาทิ การให้เงิน (1%)
ในระยะข้างหน้า การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีความเปราะบางจากการเผชิญกับหลายปัจจัยเสี่ยงสำคัญ โดยเฉพาะราคาพลังงานโลกที่แม้จะเริ่มลดลงแต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจผันผวนได้

อีกทั้ง แนวโน้มเงินเฟ้อในประเทศอาจไม่ปรับลดลงมาได้เร็วท่ามกลางการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการมายังผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องประกอบกับการลดการอุดหนุนราคาพลังงานของภาครัฐ

ขณะที่เศรษฐกิจหลักของโลกอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคในช่วงปีหน้าซึ่งอาจมีผลกระทบต่อไปยังความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

นอกจากนี้ ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง. (โดยปี 2566 คาดปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.75-2.00%) อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางการเงินของภาคครัวเรือนจากแนวโน้มการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเริ่มเห็นทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในกลุ่มลูกค้ารายย่อยของธนาคารต่างๆ แล้ว

ทั้งนี้ คงต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นก่อนช่วงสิ้นปี เช่น มาตรการลดหย่อนทางภาษี มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งอาจต้องพิจารณาถึงความสอดคล้องของมาตรการกับกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์วิจัยกสิกร คาดดิจิทัลวอลเล็ต ดันยอดขายค้าปลีกโต 1%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยแพร่บทวิเคราะห์ โครงการ Digital Wallet โดยชี้ จะส่งผลต่อยอดค้าปลีกมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับหลายเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดพื้นที่ และประเภทร้านค้า นอกเหนือจากประเด็นทางด้านกฎหมาย รวมถึงระบบใช้งานของแอปพลิเคชัน ที่ยังต้องรอติดตามว่า จะใช้ที่ไหน อย่างไร? ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ อาจส่งผลต่อร้านค้าปลีก และพฤติกรรมการใช้เงินของผู้บริโภคที่ต่างกัน ดังนี้