ออมสิน ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้

1 ก.พ. 2566 – นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.25% ต่อปี เป็น 1.50% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ธนาคารออมสินจึงได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 0.30% ต่อปี เพื่อมุ่งส่งเสริมการออมให้ประชาชนผู้ฝากเงินได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และช่วยเพิ่มกำลังซื้อในช่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป และได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทในอัตรา 0.25% ต่อปี ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยของตลาด ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ครั้งแรกของธนาคารในรอบกว่า 2 ปี หรือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา ตามนโยบายของกระทรวงการคลังในการช่วยดูแลลูกค้าและประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ค่าครองชีพยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นฤมล'ขอบคุณออมสิน มอบ10ล้านช่วย'เนตบอล' ส่งลุยซาอุฯ-ศึกอินดอร์

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ของสมาคมกีฬาเนตบอลแห่งประเทศไทย​ ณ หมู่บ้านวร​บูลย์ อ่อนนุช 44 โดยมีดาติน ซรีนฤมล​ ศิริวัฒน์​ นายกสมาคมฯ​ เป็นประธานการประชุมพร้อมกับคณะกรรมการบริหาร​ สโมสรสมาชิก​ และผู้แทนจากการกีฬาแห่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน​

ห้ามพลาด ออมสิน จัดเต็มแจกรางวัลที่ 1 สลากออมสิน 111 ล้านบาท

ออมสิน จัดเต็มแจกรางวัลที่ 1 สลากออมสิน 111 ล้านบาท ฉลองครบรอบ 111 ปี เปิดรับฝาก 1 เม.ย. – 15 พ.ค. 67 จับรางวัลผู้โชคดี 16 พ.ค. 67 พร้อมโปรโมชันเฉลิมฉลองอีกมากมาย

'พิชัย' ชี้ไทยเงินฝืด! ธปท.ต้องลดดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจ

'พิชัย' ชี้ 'เงินเฟ้อ' ติดลบ 4 เดือนติด แสดงถึงเงินฝืด เศรษฐกิจแย่ จี้ 'แบงก์ชาติ' เร่งออกนโยบายการเงินช่วยสนับสนุน แนะ ธปท.ช่วยกันทำเศรษฐกิจไทยให้โตตามศักยภาพ ไม่ใช่ลดศักยภาพของไทยลงมา

ttb ห่วงหนี้ครัวเรือนไทยทะลัก 16.9 ล้านล้านในสิ้นปีนี้

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทย ณ สิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ 91.4% หรือราว 16.9 ล้านล้านบาท โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนยังคงน่าเป็นห่วงทั้งในมิติของปริมาณการก่อหนี้ที่ไม่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเร็วและคุณภาพหนี้มีแนวโน้มด้อยลง