สัญญาณดี ธุรกิจตั้งใหม่ ก.พ. สูงกว่า เลิกกิจการเฉียด 10 เท่า

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566

28 มี.ค. 2566 – นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 8,537 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 19,139.78 ล้านบาท

ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 715 ราย คิดเป็น 8% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 619 ราย คิดเป็น 7% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 409 ราย คิดเป็น 5% ตามลำดับ

ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 5,879 ราย คิดเป็น 68.87% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 2,564 ราย คิดเป็น 30.03% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 86 ราย คิดเป็น 1.01% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 8 ราย คิดเป็น 0.09% ตามลำดับ

ส่วนจำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวน 869 ราย โดยมีมูลค่า ทุนจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการจำนวน 2,939.46 ล้านบาท ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 89 ราย คิดเป็น 10% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 45 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจขายปลีกสินค้าอื่นๆ ในร้านค้าทั่วไป จำนวน 25 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 639 ราย คิดเป็น 73.53% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 188 ราย คิดเป็น 21.64% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 38 ราย คิดเป็น 4.37% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 4 ราย คิดเป็น 0.46% ตามลำดับ

สำหรับธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 28 ก.พ. 66) ธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 857,964 ราย มูลค่าทุน 21.09 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 201,123 ราย คิดเป็น 23.44% บริษัทจำกัด จำนวน 655,457 ราย คิดเป็น 76.40% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,384 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ

ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 503,689 ราย คิดเป็น 58.71% รวมมูลค่าทุน 0.44 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.10% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 260,335 ราย คิดเป็น 30.34% รวมมูลค่าทุน 0.89 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.21% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 76,479 ราย คิดเป็น 8.91% รวมมูลค่าทุน 2.10 ล้านล้านบาท คิดเป็น 9.96% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 17,461 ราย คิดเป็น 2.04% รวมมูลค่าทุน 17.66 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.73% ตามลำดับ
การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว เดือนกุมภาพันธ์ 2566

เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น มีจำนวน 61 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 15 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 46 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 21,627 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 322% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (มกราคม 2566) และเพิ่มขึ้น 274% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (กุมภาพันธ์ 2565) การลงทุนนักลงทุนต่างชาติ โดยสัญชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ สำหรับประเภทธุรกิจ ที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ และสนับสนุนธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ถกทูตเช็ก ชวนลงทุน EEC พร้อมดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ตลาดยุโรป

ภูมิธรรมหารือทูตเช็ก ชวนลงทุน EEC ดันซอฟต์พาวเวอร์ มวยไทย อาหารไทย พร้อมเร่งเจรจา FTA ไทย-อียู สร้างรายได้ให้ประเทศ

พาณิชย์ตรวจเข้ม การขนย้ายมันสำปะหลังและสินค้าเกษตรที่ควบคุม เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่เกษตรกร

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ได้มีนโยบายให้กรมการค้าภายใน

สนค. เผยอาเซียนเนื้อหอม แนะเร่งเตรียมพร้อมทุกมิติ ดึงลงทุนในไทย

สนค. เผยว่า FDI ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยปี 2565 ไทยมีมูลค่า FDI เป็นอันดับที่ 5 ของภูมิภาคอาเซียน หดตัวร้อยละ 31.5 ขณะที่มูลค่า FDI ของภูมิภาคอาเซียนขยายตัวร้อยละ 4.6 ซึ่งแนวโน้มการลงทุนในไทยยังมีทิศทางที่ดีจากการขยายตัวถึงร้อยละ 72 ของยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ พร้อมแนะให้เร่งส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก ลดอุปสรรค ขยายคู่ FTA

“นภินทร“ หนุน ASEAN BAC ไทย ขับเคลื่อนการค้าดิจิทัล ยกระดับอาเซียนรับการค้ารูปแบบใหม่ ย้ำ

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมการหารือของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ASEAN BAC