สศช. เผยจ้างงานขยายตัว 2.4% จับตาหนี้สินเชื่อยานยนต์พุ่ง

‘สภาพัฒน์’ เผยไตรมาส1/66 จ้างงานขยายตัว 2.4% รับท่องเที่ยวขยายตัว รับห่วงหนี้สิ้นครัวเรือน สั่งจับตาหนี้สินเชื่อยานยนต์ยังพุ่งไม่หยุด  ลุยปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ พร้อมเปิดข้อมูลสาย ‘มูเตลู’มาแรง หนุนส่งเสริมการท่องเที่ยว

22 พ.ค.2566-นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาส1 /2566 ว่าสภาพการจ้างงานไตรมาสแรกปี 2566 มีจำนวน 39.6 ล้านคน ขยายตัว 2.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาคเกษตรขยายตัว 1.6 %เพราะมีการเพาะปลูกเพิ่ม การจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัว 2.7 %จากการจ้างงานค้าส่ง ค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร สอดรับกับการท่องเที่ยวขยายตัว 

สำหรับอัตราการว่างงานเริ่มดีขึ้น อยู่ที่ 1.05 %มีผู้ว่างงาน 4.6 แสนคน การว่างงานจึงเริ่มเข้าสู่ระดับปกติ  ขณะเดียวกันยังได้ติดตามปัญหาการขาดแคลนแรงงานคุณภาพในกลุ่มแรงงานดิจิทัลและไอที เนื่องจากสังคมปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล แต่สถาบันการศึกษามีผู้สำเร็จการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ได้เพียง 1.4 หมื่นคนต่อปี 

อย่างไรก็ตามขณะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการแรงงานสายไอทีประมาณ 2-3 หมื่นอัตราต่อปี และต้องติดตามพฤติกรรมการเลือกงาน โดยคำนึงถึงค่าตอบแทนสูงและความสมดุลในชีวิตของคนรุ่นใหม่ และชี้แนะการหางานทำตามความต้องการของแนวโน้มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ต้องปรับหลักสูตรรองรับความต้องการของเอกชนโปรแกรมเมอร์ งานออกแบบดิจิทัล เทคโนโลยีชั้นสูง สอดแทรกในทุกอุตสาหกรรม 

สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไตรมาส 4/2565 มูลค่า 15.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% ขยายตัวในอัตราชะลอลง ไตรมาส 3/2565 ขยายตัว 4 %หนี้ครัวเรือนมีสัดส่วน 86.9 %ของจีดีพี สินเชื่อยานยนต์ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษ เพราะได้เพิ่มขึ้นจาก 13.1 %ไตรมาส 2/2565เพิ่มเป็น 13.6 %ในไตรมาส 3 เพิ่มเป็น 13.7 %ในปี 2565 

“ปัญหาหนี้เสีย (NPL) จากปัญหาโควิด-19 นับว่ายังทรงตัว โดยสินเชื่อบุคคลคลยังสูง7.6 %สินเชื่ออยู่อาศัย 4.6 %ประชาชนยังเป็นหนี้บัตรเครดิตระดับสูง จึงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง อาจฉุดรั้งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย จึงต้องเร่งแก้ปัญหาจากทุกหน่วยงาน เพราะหนี้ครัวเรือนทั้งระบบ อาจเป็นระเบิดเวลาของสังคมไทย หากพุ่งขึ้นมาจำนวนมาก นับว่ายากต่อการทำให้ลดลงได้ในระยะเวลาอันสั้น ประชาชนต้องลด ละ เลิก การใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ก่อนสร้างภาระหนี้ใหม่”นายดนุชา กล่าว

ทั้งนี้หากเข้าไปดูหนี้เสียตามรายวัตถุประสงค์ จะเห็นว่าหนี้บัตรเครดิตนั้น ลูกหนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นกลุ่มที่มีหนี้เสียขยายตัวขึ้นมา ขณะที่ช่วงอายุอื่น ๆ ปรับตัวลดลงมากขณะที่สินเชื่อบุคคล ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีเอ็นพีแอลขยายตัวค่อนข้างสูง และ หนี้เสียต่อบัญชีประมาณ 77,000 บาท วนสินเชื่อยานยนต์ หนี้ที่มีปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี หรือวัยทำงาน มีปัญหาการชำระ มูลค่าหนี้เสียสัดส่วน 59.2% เทียบกับช่วงอายุอื่น ๆ ซึ่งต้องมาช่วยกันดู เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เป็นกำลังแรงงาน พยายามสร้างเนื้อสร้างตัว ซึ่งต้องให้ความรู้ทางการเงินและสร้างความตระหนักในการก่อหนี้

“ประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญคือ ต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่เริ่มมีสัญญาณการผิดนัดชำระ โดยเฉพาะสถาบันการเงินคงต้องช่วยกัน ถ้าลูกหนี้เริ่มมีสัญญาณ เริ่มมีปัญหาการผ่อนชำระ ก็ต้องเข้ามาช่วยกันปรับโครงสร้างหนี้ให้เร็วขึ้น ส่วนที่เป็นหนี้เสียอยู่แล้วก็คงต้องมีมาตรการเฉพาะเจาะจงในการช่วยเหลือ ไม่ใช่เป็นมาตรการทั่วไป”นายดนุชา กล่าว

นายดนุชา กล่าวเพิ่มเติมว่า โอกาสการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อ หรือสายมูเตลู นับว่าเติมโตขึ้นมาก เพราะการเดินทางไปท่องเที่ยวเพื่อขอพร แก้บนสิ่งศักดิ์ ผสมผสานกับสิ่งเร้นลับทางธรรมชาติ โหราศาสตร์ ตลอดจนวัตถุมงคล เครื่องราง ของขลัง การแสวงบุญ ทั่วโลกขยายตัว 3 เท่า ในช่วง 10 ปี มูลค่า 13.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2565 ขณะที่ประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะเกิดเงินหมุนเวียน 10,800 ล้านบาท คิดเป็น 0.36 %ของมูลค่าการท่องเที่ยวในปี 2562 จึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวให้ชัดเจน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแต่ไม่ลุ่มหลงงมงายมากเกินไป.

สำหรับมูเตลูที่เป็นสถานที่ โดยอาจแบ่งออกได้ 3 รูปแบบหลัก คือ 1.วัด โบสถ์ มัสยิด ซึ่งกรณีของไทยวัดถือว่ามีจำนวนมากที่สุด โดยมีอยู่ในทุกภูมิภาค จากข้อมูลกองพุทธศาสนสถาน ปี 2565 ไทยมีวัดทั่วประเทศ กว่า 43,005 แห่ง โดยมีตัวอย่างวัดไทยที่ชาวต่างชาตินิยมมากราบไหว้บูชา เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) เนื่องจากเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์อันศักดิ์สิทธิ์เป็นต้น 

2. ศาลเจ้าและเทวสถาน ซึ่งเทวสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดของไทย คือ ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ ซึ่งเป็น สถานที่ขอพรยอดนิยมของนักท่องเที่ยงชาวจีน ฮ่องกง หรือสิงคโปร์ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายพันล้านบาท รวมทั้งอุทยานพระพิฆเนศ จังหวัดนครนายก ที่เป็นหนึ่งในสถานที่ประดิษฐานพระพิฆเนศปางเสวยสุขที่ได้รับการยกย่องจากเลขาธิการศาสนสัมพันธ์ฮินดูโลกว่าเป็นพระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ 3. รูปจำลองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิ ศาลหลักเมือง หนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่มีอยู่ทุกจังหวัด หรือรูปปั้นไอ้ไข่ซึ่งมีผู้สนใจไปกราบไหว้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"รมว.พิพัฒน์" ลุย พัทลุง เพิ่มการจ้างงาน วัยเรียน แรงงานอิสระ กระตุ้นเศรษฐกิจ ผู้สนใจกว่า 3 หมื่นคน เพื่อบรรลุเป้าหมาย 1 ล้านอัตรา ในปี 2567

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสร้างงาน และเส้นทางสู่อาชีพ ณ จังหวัดพัทลุง โดยมี นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธี นายสมชาย

'เลขาฯสภาพัฒน์' เผยพูดเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยเพราะเห็นตัวเลข ไม่ใช่ถูกนายกฯกดดัน

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวถึงกรณีออกมาเรียกร้องให้ธนาค

‘สภาพัฒน์’ คาดจีดีพีปี 67 ขยายตัว 2.2-3.2%

“สภาพัฒน์”เผยจีดีพีปี 66 โต 1.9 คาดเศรษฐกิจปี 67 ขยายตัว 2.2-3.2% ขอ ธปท.ทบทวนปรับลดอัตราดอกเบี้ย จ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตเหลือ 5% หวังช่วยกระตุ้นกำลังจ่ายเอสเอ็มอีให้เกิดการชำระหนี้ควัวเรือนดีขึ้น ย้ำต้องใช้นโยบายการเงินเข้ามาดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติม