
“ธปท.” ผนึกสถาบันการเงินเดินหน้าแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน หวังกดต่ำกว่า 80% ต่อจีดีพี ชูมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม พร้อมเล็งถกสหกรณ์-สินเชื่อเช่าซื้อร่วมด้วย
27 ก.ค. 2566 – นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ผนึกกำลังสถาบันการเงินผลักดันการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ผ่านมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่รวมถึงการดูแลหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt) สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว จึงจำเป็นต้องแก้ไขอย่างตรงจุดโดยมีเป้าหมายที่จะลดหนี้ภาพรวมให้ลดลงอยู่ในระดับที่ยั่งยืน หรือต่ำกว่า 80% ต่อจีดีพี
นอกจากนี้ เตรียมหารือแนวทางแก้ปัญหาหนี้ที่อยู่นอกการกำกับดูแลของ ธปท.ที่มีกว่า 30% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มสหกรณ์และกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อด้วย
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สมาคมธนาคารไทยได้บรรจุการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565 โดยพร้อมให้ความร่วมมือกับ ธปท. ในมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนครั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินที่ดีขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้เรื้อรัง ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทหมุนเวียนที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ให้ปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ กล่าวว่า พร้อมสนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในระยะยาว คือ แนวโน้มต้องลดต่ำกว่า 80% ของจีดีพี ภายใน 5 ปี โดยในส่วนของออมสินไม่มีลูกค้าในกลุ่มหนี้เรื้อรัง แต่กรณีที่ลูกหนี้ต้องการความช่วยเหลือ ธนาคารก็มีมาตรการสินเชื่อพร้อมดูแล
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารมีลูกค้า 4.3 ล้านราย มีประมาณ 10 ล้านสัญญา เกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกร คิดเป็นเงินต้น 1.6 ล้านล้านบาท สำหรับหนี้บุคคลและเกษตรกรรวมกันมี 6 ล้านสัญญา จำนวนราย 3 ล้านราย ซึ่งมีความเปราะบาง นอกจากจะนี้ยังมีเรื่องปัญหาสูงอายุ ซึ่งปัจจุบัน พบว่า มีลูกค้าที่อายุ 60 ปีขึ้นไป สูงถึง 1.2 ล้านราย โดยล่าสุดออก สินเชื่อแทนคุณ วงเงิน 20,000 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมาย 42,000 ราย โดยปล่อยสินเชื่อให้กับทายาท เพื่อกู้ปิดจบหนี้เดิมของผู้สูงอายุ สามารถปล่อยสินเชื่อภายใน มี.ค.2567
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธปท.' แจงสินเชื่อแบงก์ Q3 แผ่ว NPL แตะ2.7%
“ธปท.” กางผลงานแบงก์พาณิชย์ไตรมาส 3/2566 รับภาพรวมสินเชื่อโตแผ่ว หลังภาคธุรกิจเร่งชำระคืนหนี้-เข้มปล่อยกู้เอสเอ็มอี กำไร 6.5 หมื่นล้านบาท ด้านหนี้เสียพุ่งแตะ 2.7% ประเมินทยอยผุดเพิ่ม แต่มั่นใจแบงก์บริหารจัดการได้
ทุกอย่างเลวร้ายกว่าที่คิดไว้เยอะ! 'เศรษฐา' ห่วงเศรษฐกิจไทย 'GDP' ไตรมาส 3 โต 1.5%
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเรียกเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เข้าพบที่ทำเนียบรัฐบาล ได้มีการรายงานเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจบ้างหรือไม่ ว่า ใช่ ตามที่เสนอไป พวกท่านก็ทราบอยู่แล้วว่าตัวเลขออกมาเท่าไหร่
‘ศิริกัญญา’ ย้อนเจ็บ! ถามรัฐบาล จีดีพี ไตรมาส 3 โต 1.5% วิกฤตหรือยัง
ศิริกัญญาระบุต้องย้ำอีกครั้งว่า เราจะไม่ต้องมาเถียงเรื่อง 'วิกฤต' หรือ 'ไม่วิกฤต' กันเลย ถ้ารัฐบาลไม่เลือกใช้วิธีการ ออก พ.ร.บ. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อมาทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
'นักวิชาการ' งง 'หมอเลี้ยบ' ปูด 'สภาพคล่องทางการเงินติดลบกว่า 1 ล้านล้านบาท'
จากกรณี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรมว.คลัง กรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความใน X ว่า เศรษฐกิจไทยเหมือนคนไข้อ่อนแอที่เลือดกำลังไหลไม่หยุด
นายกฯ อ้าง 'ผู้ว่าฯ ธปท.' แนะกู้มาแจก มั่นใจ 320 เสียงพรรคร่วม หนุน พ.ร.บ. ผ่านสภา
นายกฯ เชื่อ 320 เสียงพรรคร่วม หนุน พ.ร.บ.กู้เงิน แจกดิจิทัล 1 หมื่นบาท ผ่านสภาฯ ลั่นหาเงินได้ ใช้เงินเป็น ย้ำจำเป็นประเทศเหตุอยู่ในวิกฤตที่ต้องกระตุ้น อ้างผู้ว่าการแบงก์ชาติแนะเองให้กู้
'ปลัดคลัง' ย้ำกู้เงิน 5 แสนล้าน ไม่กระทบเพดานหนี้สาธารณะ
นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การออก พ.ร.บ.เงินกู้ วงเงิน 5 แสนล้านบาท